แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง เทคโนโลยีการสร้างความสามารถให้แก่ เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ ด้วยอัลกอริทึมและกลุ่มเครื่องมือทางสถิติ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ทรงปัญญา ที่สามารถเรียนรู้ เลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ ในบางกรณีอาจไปถึงขั้นเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทร่วมขับเคลื่อนในแต่ละภาคส่วนจะช่วยทำให้ภาคเศรษฐกิจ และมีการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยยกระดับการเติบโตของเศรษฐกิจในหลาย ประเทศตอบโจทย์มิติของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ที่ถูกตั้ง ไว้เป็นเป้าหมายของผลการดำเนินงานและมาตรฐานของทั้งภาคอุตสาหกรรมและการดำเนินธุรกิจในหลาย ประเทศทั่วโลก
https://www.facebook.com/aithailandcommu
ผลดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2020 ได้จัดอันดับประเทศ ไทย อยู่ในลำดับที่ 60 ส่วนหนึ่งเนื่องจากยังไม่มีนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านแห่งชาติทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าจะมีการอ้างอิงความจำเป็นในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายรัฐบาลปี 2562 ทั้งนโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วน อีกทั้งแนวโน้มการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในประเทศก็มีการขยายตัวอย่างมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรมให้มีความฉลาด เชื่อมโยง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรที่จะพัฒนาแผนปฏิบัติการด้าน ปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรวมถึงสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการแข่งขัน ของประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใน รูปแบบของการพัฒนาแบบองค์รวม ที่เรียกว่า BCG Economy ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
สำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ นี้ มีการรวบรวมการศึกษานโยบาย และยุทธศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติของประเทศต่าง ๆ ทั้งในสหภาพยุโรปและอีก ๒๗ ประเทศที่ได้มีการ ตีพิมพ์ AI Strategies แล้ว ในขณะที่อีก 21 ประเทศ (ไม่รวมประเทศไทย) อยู่ระหว่างการพัฒนา โดยภาพรวมแล้วนั้นยุทธศาสตร์ และ/หรือแนวนโยบายและมาตรการด้าน AI ของแต่ละประเทศมีความ แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะมีเป้าหมายและการสนับสนุนพัฒนาที่แตกต่างกัน ในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การกำหนดนโยบาย/มาตรการของแต่ละประเทศที่ได้จัดทำจะมีความคล้ายคลึง กันในการกำหนดนโยบายและมาตรการในบางด้านของการพัฒนา ได้แก่
- ด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (scientific research)
- การพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI talent development)
- ทักษะและอนาคตของการทำงาน (skills and the future of work)
- การพัฒนาอุตสาหกรรมของ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (industrialization of AI technologies/ industrial strategies)
- จริยธรรม ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI ethical standards)
- โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลและดิจิทัล (data & digital infrastructure)
- ปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐ (AI in the government) และ
- ความครอบคลุมและความ เป็นอยู่ที่ดีทางสังคม (inclusion and social well-being)