หน้าแรก จดหมายข่าว สวทช. ฉ.11 – ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม SMEs ไทยเชิงรุก ในปี 2558
จดหมายข่าว สวทช. ฉ.11 – ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม SMEs ไทยเชิงรุก ในปี 2558
3 ก.พ. 2559
0
จดหมายข่าว สวทช. ย่อย

alt

alt

ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

SMEs ไทยเชิงรุก ในปี 2559

alt

กรุงเทพฯ : 11 มกราคม 2559 – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation and Technology Assistance Program: ITAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยง และเป็นพันธมิตรธุรกิจ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และจัดงาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำเสนอกลไกเชิงรุกในการสนับสนุนภาคเอกชน พร้อมมอบรางวัลให้กับบริษัทผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐาน การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็น SMEs เองต่างอยากมีขีดความสามารถการแข่งขันที่สูงขึ้น มีนวัตกรรม มีสินค้าที่แตกต่าง แต่ในทางปฏิบัติการสร้างสรรค์นวัตกรรมของ SMEs เป็นเรื่องยากเพราะ SMEs เงินทุนน้อย บุคลากรจำกัด ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย ไม่ง่ายที่ SMEs จะมีหน่วย R&D เป็นของตัวเอง และ SMEs ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารโครงการวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในการพา SMEs เติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” 

 

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่าโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation and Technology Assistance Program : ITAP) หรือเรียกโดยย่อว่าไอแท็พ” (ITAP) ได้จัดตั้งขึ้นโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ และเผยแพร่มาตรการภาครัฐในการส่งเสริมให้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของภาครัฐที่จะเชื่อมโยง SMEs ให้เข้าถึงองค์ความรู้และทรัพยากรที่จำเป็น สามารถนำไปใช้ในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ อันจะนำมาซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมให้ สามารถบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ SMEs เป็นแกนหลักของเศรษฐกิจ

 

alt  alt

 

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล  ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. กล่าวว่า  “การมาร่วมโครงการกับ ITAP เสมือนบริษัทได้มีหน่วย R&D เฉพาะกิจขึ้นมา และมีคนที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีช่วยบริหารโครงการวิจัยให้ SMEs หาที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและหัวข้อที่ต้องการวิจัย พัฒนา นวัตกรรม รวมทั้งมีเงินทุนสนับสนุน ทำให้ผู้ประกอบการลดความเสี่ยงในการทำโครงการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม สามารถตัดสินใจลงทุนได้รวดเร็วขึ้น  ซึ่ง ITAP ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนจนประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยการใช้ประสบการณ์ในการบริหาร ถ่ายทอดโครงการกว่า 4,000 โครงการ สามารถวิเคราะห์จัดลำดับปัญหา และเสาะหาผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกจุด  โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยเฉพาะทาง การบริการของภาครัฐ และแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะบุคลากรและเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยบริหารโครงการด้วยความเข้าใจทั้งภาษาธุรกิจและภาษาวิจัย พร้อมทั้งมอบเงินสนับสนุนบางส่วนแก่ SMEs ในการทำโครงการ ซึ่งสามารถให้การดูแลและบริการให้คำปรึกษาอย่างทั่วถึง โดยมีสาขาให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และมีพันธมิตรในการเชื่อมโยงงานในมิติต่างๆ

 

ทั้งนี้ งาน “ITAP : ปลดล็อคข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีกิจกรรมหลักในงาน ประกอบด้วยปาฐกฐาพิเศษหัวข้อ “Business @ The Speed of Light, Why INNOVATION Must be Addressed” โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การมอบรางวัลผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรมแก่บริษัทผู้มีการดำเนินธุรกิจจากการไต่ระดับเทคโนโลยี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีผู้ได้รับรางวัล  คือ 

 

1. บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค 

2. บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์

3. บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป : นวัตกรรมงานไม้

4. บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ

5. และ บริษัท เอเซีย คอมแพ็ค จำกัด : ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรค ไร้ใยหิน

 

รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการด้านการไต่ระดับเทคโนโลยีและจัดแสดงผลงานของบริษัทผู้รับรางวัล


3 ก.พ. 2559
0
แชร์หน้านี้: