นักวิจัย สวทช. คว้ารางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ
ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2559
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2558 และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2559 โดยมีนักวิจัย สวทช. ได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2558
รางวัลระดับดีมาก มี 1 รางวัล คือ
ผลงานวิจัยเรื่อง “สารปรับเนื้อสัมผัส/สมบัติรีโอโลยีจากเปลือกส้มโอและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ใน ผลิตภัณฑ์อาหาร” (Texture/rheology modifiers from pomelo peel and their applications in foods) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดย นายชัยวุฒิ กมลพิลาส จากหน่วยวิจัยโพลิเมอร์ นางสาวภาวดี เมธะคานนท์ และนางสาวจารุวรรณ ครองศิลป์ จากหน่วยวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม MTEC ร่วมกับ Mr. Aaron Suk Meng Goh
รางวัลระดับดี มี 2 รางวัล คือ
1. ผลงานวิจัยเรื่อง “ตัวเร่งปฏิกิริยาสาหรับการผลิตไบโอดีเซลที่ผลิตจากเปลือกไข่เหลือทิ้ง” (Modern catalysts from waste eggshell for biodiesel production) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ นางสาววรนุช อิทธิเบญจพงศ์ นางสาววราภรณ์ นวลแปง นางสาวรุ่งนภา แก้วมีศรี จากหน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน และนางสาวณัฏฐิพร วณิชธนานนท์ จากฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี NANOTEC ร่วมกับ ดร.นาวิน วิริยะเอี่ยมพิกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ภวสันต์ นางสาวพัสตราภรณ์ แฉ่งสุวรรณ นางสาวน้ำทิพย์ พัดใหม่ และนายปรารภ เครือแก้ว
2. ผลงานวิจัยเรื่อง “วิวัฒนาการ ทางพันธุกรรมของยีนโออาร์เอฟ 5 และยีนเอ็นเอสพี 2 ของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในฝูงสุกรที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสพี อาร์อาร์เอสสายพันธุ์รุนแรง” (Genetic evolution of ORF5 and Nsp2 genes of PRRSV in a swine herd following an acute outbreak with highly pathogenic PRRSV) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดยเภสัชกรหญิง ดร.จิตติมา พิริยะพงศา จากหน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม BIOTEC ร่วม กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.เดชฤทธิ์ นิลอุบล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.อังคณา ตันติธุวานนท์ นางสาวธิติมา ไตรพิพัฒน์ นายสัตวแพทย์ ธวัชชัย หุ่นสุวรรณ นายสัตวแพทย์ กัญจน์ เตมียะเสน และนางสาวปวิตา ทิพย์สมบัติบุญ
รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจําปี 2558
รางวัลระดับดีเด่น มี 1 รางวัล คือ
วิทยานิพนธ์ เรื่อง “แบคทิริโอฟาจ : จากแบคทีเรียสู่การนำส่งยีนอย่างมีเป้าหมายในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” (Bacteriophage : from Bacteria to Targeted Gene Delivery to Mammalian cells) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ดร.ธีรพงศ์ ยะทา จากหน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพ NANOTEC
รางวัลระดับดีมาก มี 1 รางวัล คือ
วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การเพิ่มความเสถียรของโลหะผสมทังสเตน-ไทเทเนี่ยมแบบผงผลึกนาโน ด้วยหลักอุณหพลศาสตร์” (Enhancing Stability of Powder-Route NanocrystallineTungsten-Titanium via Alloy Thermodynamics) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย ดร.ต้องใจ ชูขจร จากหน่วยวิจัยด้านประสิทธิผลการใช้งานวัสดุ MTEC
รางวัลระดับดี มี 1 รางวัล คือ
วิทยานิพนธ์ เรื่อง “กระบวนการลำเลียงซัลเฟตเข้าสู่เซลล์และกลไกการควบคุมโปรตีนนำส่งซัลเฟตในสาหร่ายสีเขียว Chlamydomonas reinhardtii” (Elucidation of Functional and Regulatory Aspects of Sulfate Transport in Chlamydomonas reinhardtii) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดย ดร.วิรัลดา ภูตะคาม จากหน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม BIOTEC
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2559
รางวัลระดับดี มี 3 รางวัล คือ
1. ผลงานเรื่อง “EasyHos : ระบบนำทางคนไข้ในโรงพยาบาลรัฐ” (EasyHos: Patients’ Navigator in Public Hospitals) สาขาสังคมวิทยา โดย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ นายสุนทร ศิระไพศาล นายเอกฉันท์ รัตนเลิศนุสรณ์ และนายวิศุทธิ์ แสวงสุข จากหน่วยวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความ มั่นคง NECTEC
2. ผลงานเรื่อง “เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายเพื่อการเฝ้าระวังน้ำป่าไหล หลากและดินถล่มสำหรับหมู่บ้านเสี่ยงภัยพื้นที่ลุ่มน้ำ” (Wireless sensor network for surveillance flash-flood and landslide risk in the watershed village) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ โดย นายคทา จารุวงศ์รังสี จากหน่วยวิจัยอุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ NECTEC ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา กอเจริญ นายเพชร นันทิวัฒนา และนายเติมพงษ์ ศรีเทศ
3. ผลงานเรื่อง “Safe Mate ระบบประเมินพฤติกรรมการขับขี่ด้วยโทรศัพท์ Smartphone” (Safe Mate: Driving Behavior Evaluation Platform using Smartphone) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ โดย ดร.เฉลิมพล สายประเสริฐ และนายธัญสิทธิ์ ผลประสิทธิ์ จากหน่วยวิจัยสารสนเทศ การสื่อสารและการคำนวณ NECTEC
รางวัลประกาศเกียรติคุณ มี 2 รางวัล คือ
1. ผลงานเรื่อง “เอนอีซ : เอนไซม์ ๒ in ๑ สำหรับการลอกแป้งและกำจัดแว๊กซ์บนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวในอุตสาหกรรมสิ่งทอ” (ENZease : “two-in-one” enzyme for one-step desizing and scouring process of cotton fabric in textile industry) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา นางสาวจุฑามาส สุวรรณประทีป นายพิษณุ ปิ่นมณี และนายนกุล รัตนพันธ์ จากหน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ BIOTEC และ ดร.มณฑล นาคปฐม นางสาวนุชศรา นฤมลต์ และนางสาวบุปผา สมบูรณ์ จากหน่วยวิจัยโพลิเมอร์ MTEC ร่วมกับ นางสาวปวีณา ทองเกร็ด นางสาวรุจิเรข นพเกสร นายปิลันธน์ ธรรมมงคล และนางสาวกมลลักษณ์ พันธเสน
2. ผลงานเรื่อง “เครื่องวัดความหนาแบบไม่สัมผัสสำหรับควบคุมคุณภาพการผลิตเลนส์สายตาและเลนส์ขนาดเล็ก” (Optical apparatus for non-contact central thickness Measurement of ophthalmic and small-radius lenses) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย นายอาโมทย์ สมบูรณ์แก้ว นายรัฐศาสตร์ อัมฤทธิ์ และนายสถาพร จันทน์หอม จากหน่วยวิจัยอุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ NECTEC ร่วมกับ ดร.บุญส่ง สุตะพันธ์