สวทช. – สสส. และภาคีเครือข่าย หนุนเวที “นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม
4 ทีม คว้าทุนกว่าครึ่งล้าน! ต่อยอดนวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสังคม
9 มิถุนายน 2559: ที่ห้องประชุมสังเวียน อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย – เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) หรือซอฟต์แวร์พาร์ค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดพิธีมอบทุนให้กับผู้เข้าร่วม ็โครงการบ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สังคม : Active Citizen : Geek so Goodิ โดยมี นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์พาร์ค นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการซอฟต์แวร์พาร์ค และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมพิธี พร้อมทั้งผู้เข้าร่วมโครงการฯ จาก 14 ทีมทั่วประเทศร่วมนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อรับทุนสนับสนุนมูลค่ารวมกว่า 5 แสนบาท สำหรับนำไปพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงเพื่อแก้ปัญหาในสังคมต่อไป
โดยภายหลังมีการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการครบทั้ง 14 ทีม แล้ว ผลปรากฎว่า 4 ทีมที่ได้รับทุนเพื่อต่อยอดนวัตกรรมสู่การนำไปใช้จริง ได้แก่
1. ผลงาน “เว็บไซต์แนะนำการหางานสำหรับผู้พิการ” ของทีม Enabled จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์กลางช่วยหางานสำหรับผู้พิการ ให้ตรงกับความต้องการของผู้พิการและผู้จ้างงาน เพื่อพัฒนาคนพิการสู้ตลาดสากล
2. ผลงาน “เครื่อง ขอ.ขวด” เปลี่ยนขวดเป็นเงิน เพื่อเด็กกำพร้าและยากไร้ ของทีม CSMJU78 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพลตฟอร์มเพื่อสังคมด้วยการเปลี่ยนขยะขวดพลาสติกเป็นเงินด้วยเครื่อง “ขอขวด” เพื่อให้ประชาชนที่บริจาคขวดสามารถสะสมแต้มรับสินค้า รายได้ส่วนหนึ่งหักให้กับมูลนิธิแสงไทยดรุณเพื่อเด็กกำพร้ายากไร้
3. ผลงาน “วัคซีน พ็อกเก็ต” (Vaccine Pocket) ของทีม Prime Soft จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แอปพลิเคชันบันทึกการรับวัคซีนสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี สำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์ โดยสามารถแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดรับวัคซีนครั้งต่อไป
4. ผลงาน “Light Life” ของทีม You light up! my life จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น แอปพลิเคชันสำหรับป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการพยายามทำร้าย ตนเอง พร้อมทั้งคำแนะนำในการปฏิบัติตนให้พ้นจากภาวะเสี่ยง บทความให้กำลังใจ รวมถึงสายด่วนสุขภาพจิตที่สามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือได้
นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีการมอบทุน ให้กับทั้ง 14 ทีมที่เข้าร่วมนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในครั้งนี้ เพื่อนำไปเป็นทุนในการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ รวมมูลค่าทุนทั้งสิ้นกว่า 5 แสนบาทด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/visit-km/22043-geek-so-good