หน้าแรก จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 5 ฉ.12 – วิเคราะห์เจาะลึก ‘COVID-19’ กับนักไวรัสวิทยาเมืองไทย
จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 5 ฉ.12 – วิเคราะห์เจาะลึก ‘COVID-19’ กับนักไวรัสวิทยาเมืองไทย
13 มี.ค. 2563
0
จดหมายข่าว สวทช. ย่อย
บทความ

alt

 

วิเคราะห์เจาะลึก ‘COVID-19’

กับนักไวรัสวิทยาเมืองไทย

โรคอุบัติใหม่เป็นปัญหาที่ส่งผลโดยตรงกับความปลอดภัยในชีวิตของมนุษยชาติ สร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในช่วง 20-30 ปี มานี้ มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นกว่า 30 โรค ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน และพัฒนาตัวเองจนสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ อีกทั้งยังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศซึ่งเป็นไปอย่างสะดวก ทำให้ยากต่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรค 

ล่าสุดคือ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ‘2019-nCoV’ ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนได้สร้างความตื่นตัวให้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก เฉพาะสถานการณ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขรายงานการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สรุปมีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อที่รักษาตัวในโรงพยาบาล 17 ราย กลับบ้านแล้ว 8 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 25 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์)

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา

วิเคราะห์เจาะลึก “COVID-19″ กับนักไวรัสวิทยาเมืองไทย

สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่กำลังลุกลามไปในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกที่พุ่งทะลุ 100,000 คน ไปแล้ว และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,000 คน ที่ให้หลายฝ่ายกังวลว่าการระบาดจะก้าวเข้าสู่ระดับการระบาดใหญ่ (Pandemic) หรือไม่ ขณะที่ประเทศไทยได้ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 เพื่อยกระดับมาตรการเฝ้าระวังที่เข้มข้นมากขึ้น ทว่าท่ามกลางการระบาดที่ยังคงลุกลามอย่างรุนแรง ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังไม่รู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับโรค COVID-19 อย่างแท้จริง  

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คือนักไวรัสวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนามากกว่า 10 ปี ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบ Reverse Genetics ของไวรัสโคโรนาในสุกร และมีผู้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมาต่อยอดจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นผู้นำการวิจัยด้านไวรัสโคโรนาของประเทศไทย ผู้ซึ่งจะมาช่วยไขข้อข้องใจและอธิบายถึงองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับโรค COVID-19

โรค COVID-19 เกิดจากอะไร? 

โรค COVID-19 (Coronavirus Disease-2019) เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า Virus SARS-CoV-2 (Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2) ซึ่งแม้จะเป็นโรคอุบัติใหม่ในมนุษย์ แต่เชื่อว่าไวรัสโคโรนาชนิดนี้ น่าจะอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นมาก่อน ซึ่งน่าจะเป็น ค้างคาว แล้วมีการกระโดดข้ามมาสู่สัตว์ชนิดอื่นที่ยังไม่ทราบชนิดแน่นอน ก่อนจะมาสู่คนอีกที ซึ่งแต่ละการกระโดดข้ามสายพันธุ์ไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น SARS-CoV-2 ที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้รวดเร็ว

ไวรัสโคโรนา มีสารพันธุกรรม หรือ จีโนม เป็น อาร์เอ็นเอขนาดยาวที่สุดในบรรดาไวรัสที่มีจีโนมเป็น อาร์เอ็นเอ (RNA virus) รูปทรงของไวรัสมีส่วนที่ยื่นออกมารอบๆ คล้ายมงกุฎ (crown) หรือรัศมีของดวงอาทิตย์ จึงเป็นที่มาของชื่อ Corona ที่แปลว่ามงกุฎหรือรัศมีในภาษาละติน ไวรัสโคโรนาพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น สุกร สุนัข แมว อูฐ และ ค้างคาว และ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ในธรรมชาติ เชื้อสามารถถ่ายทอดจากสัตว์ไปสู่สัตว์ได้ และบางกรณีก็สามารถถ่ายทอดจากสัตว์สู่คนได้เช่นกัน ซึ่งที่รู้จักคุ้นเคยกันดีคือไวรัส SARS-CoV จากค้างคาวมาสู่ชะมดและมาถึงคน หรือ ไวรัส MERS-CoV ที่มาจาค้างคาวมาสู่อูฐแล้วก็มาถึงคน 

สำหรับ SARS-CoV-2 ข้อมูลการถ่ายทอดจากสัตว์สู่คนยังไม่ชัดเจน เบื้องต้นข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรม พบว่าไวรัส SARS-CoV-2 มีความใกล้เคียงกับรหัสพันธุกรรมที่แยกได้จากค้างคาวเกือกม้า ในเมืองยูนนาน ตั้งแต่ปี 2013 มากกว่า 95% แต่ไวรัสดังกล่าวอาจแพร่ไปสู่สัตว์ตัวกลางก่อนมาสู่คน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบชนิดแน่นอน

ทำไมโรค COVID-19 ถึงรุนแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต? 

ความรุนแรงของโรค COVID-19 อาจเกิดจากคุณสมบัติของไวรัสเอง ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ไวรัสส่วนใหญ่ที่มาบรรพบุรุษมาจากค้างคาวมักก่อโรครุนแรงในมนุษย์ เช่น Ebola virus, SARS-CoV, MERS-CoV เนื่องจากค้างคาวมีภูมิต้านทานต่อไวรัสที่ดีมาก สามารถสร้างโปรตีนต้านไวรัสชนิดต่างๆ ปริมาณสูง ไวรัสที่อยู่รอดได้ในตัวค้างคาวมักเป็นกลุ่มที่มีความรุนแรงสูง เมื่อวันหนึ่งที่ไวรัสเหล่านี้หลุดจากค้างคาวมาติดในสัตว์ตัวกลางหรือมนุษย์ ซึ่งไม่มีภูมิต้านทานที่ดีเช่นค้างคาว หลายๆ ครั้งจะที่ให้ก่อโรคได้รุนแรง 

แต่สำหรับ โรค COVID-19 ถือว่าเป็นโรคที่มีอัตราความรุนแรงน้อย เพราะมีอัตราผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 2% เมื่อเทียบกับ SARS และ MERS ที่มีอัตราผู้เสียชีวิตถึง 10% และ 30% ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ที่เสียชีวิตจาก COVID-19 ส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำ แต่สำหรับคนปกติที่แข็งแรง มีภูมิต้านทานดี อาจแค่ติดเชื้อ มีไข้ และหายเป็นปกติได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีมากกว่า 90% และที่น่าสนใจคือมีข้อมูลว่า COVID-19 ในเด็กพบได้น้อย และอาการไม่รุนแรง

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 แล้วมีอาการรุนแรง เกิดจากสาเหตุใด แต่ข้อมูลจากไวรัสโคโรนาชนิดอื่น เช่น SARS-CoV หรือ MERS-CoV บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นขึ้นมาแบบผิดเพี้ยน คือ สูงมากเกินความจำเป็น จนทำให้เข้าทำลายเนื้อเยื่อ และ อวัยวะ เช่น ปอด หรือ ไต ได้ 

เหตุใดโรค COVID-19 ถึงระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว?

สาเหตุที่ COVID-19 ระบาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากไวรัสชนิดนี่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ มีผลงานวิจัยหลายชิ้นออกมายืนยันว่า โปรตีน Spike (ส่วนที่ยื่นออกมาจากอนุภาคคล้ายหนาม) ของไวรัส SARS-CoV-2 มีความสามารถให้จับกับตัวรับ (receptor) ที่ชื่อ ACE2 (Angiotensin Converting Enzyme 2) ในร่างกายของคนได้แน่นมากกว่าไวรัสโคโรนาชนิดอื่น ที่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์เป้าหมายได้ดีและแพร่จากคนสู่คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน Spike ที่ตำแหน่งอื่นอีก เช่น การเพิ่มกรดอะมิโนชนิดเป็นเบส 3) ตำแหน่งอยู่ติดกันทำให้ไวรัสถูกกระตุ้นให้ติดเชื้อโดยเอนไซม์ที่พบได้ในเซลล์มนุษย์ได้ดี และเพิ่มจำนวนได้ไว อีกปัจจัยสำคัญคือ โรค COVID-19 มีความรุนแรงของโรคน้อย มีระยะฟักตัวนาน ทำให้ผู้ติดเชื้อใช้ชีวิตเดินทางออกไปปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ได้มาก จึงเกิดการติดต่ออย่างรวดเร็ว ดังเช่นคุณป้าที่ประเทศเกาหลีใต้ ที่เดินทางไปทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกคนอื่นในโบสถ์ และสถานที่ต่างๆ จนกลายเป็น Superspreader ที่แพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ต่างจากโรคอีโบลาและซาร์สที่มีความรุนแรงของโรคสูง ผู้ป่วยมีอาการหนักและอยู่ในโรงพยาบาล โอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อจึงมีน้อย

จริงหรือไม่ที่ COVID-19 สามารถเผยแพร่เชื้อผ่านทางฝอยละอองในอากาศ? 

หากอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่จะมีเชื้อปนเปื้อนในฝอยละอองขนิดเล็กในอากาศ แต่มีโอกาสน้อยที่จะทำให้ติดเชื้อ เนื่องจากเวลาที่เราจามจะมีฝอยละอองหลายขนาดใหญ่ 50-100 ไมครอน ที่ปล่อยออกมาหลังจากผู้ป่วยไอ หรือ จาม และตกสู่พื้นภายใน 15-20 นาที ไม่ไกลจากผู้ป่วยเกิน 2 เมตร และกลุ่มที่สอง คือ ฝอยละอองขนาดเล็กมาก (Droplet nuclei)” ประมาณ 5 – 12 ไมครอน ที่ไม่ตกลงสู่พื้น แต่จะลอยอยู่ในอากาศไปได้ไกลเกิน 10 เมตร 

สิ่งสำคัญคือแม้จะมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ในฝอยละอองขนาดเล็กได้ แต่ปริมาณเชื้อนั้นอาจไม่มากเพียงพอที่จะก่อโรคได้ ซึ่งขณะนี้ข่าวที่ออกมาเป็นเพียงค”แถลงการณ์เท่านั้น ยังไม่มีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เป็นหลักฐานชัดเจน ด้านกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย และศูนย์ควบคุมป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมร‘ก“ (US-CDC) ยังยืนยันว่า COVID-19 แพร่เชื้อผ่านท“งฝอยละอองท’่เก‘ดจ“กก“รไอหรือจ“มของผู้ต‘ดเชื้อเท่านั้น 

นอกจากการติดต่อผ่านทางเดินหายใจแล้ว วารสาร New England Journal of Medicine รายงานว่า มีการตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 ในอุจจาระ ซึ่งบ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสอาจแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระได้ เพราะผู้ป่วย COVID-19 มีอาการท้องเส’ยร่วมด้วย จึงถือเป็นอีกช่องทางการติดต่อของโรคที่ต้องระวัง

ประเทศไทยจะมีการระบาดในระดับ 3 หรือไม่? 

การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยขณะนี้ อยู่ในระยะที่ 2 คือมีการติดเชื้อจากคนสู่คนภายในประเทศ ซึ่งแม้ว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควบคุมโรคได้ดี แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดเข้าสู่ระยะที่ 3 คือมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวงกว้างได้ ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้านี้ แต่ไม่อยากให้ตระหนกเกินไป เพราะอาจเป็นแค่การระบาดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้ก่อโรครุนแรง 

สำหรับแนวทางการเตรียมรับมือ ในโมเดลด้านระบาดวิทยาจะมี 3 ส่วน คือการป้องกัน แก้ไข และควบคุมไม่ให้เกิดซ้ำ การป้องกันต้องอาศัยการถอดบทเรียนที่ได้ผลดีจากประเทศจีนมาใช้ เช่น หากเกิดการระบาดรุนแรง ควรปิดเมืองหรือไม่ ส่วนการแก้ไขจะเป็นเรื่องการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ณ ขณะนี้ หากประเทศจีนเปิดเผยข้อมูลว่าผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงและไม่รุนแรงแตกต่างกันอย่างไร ทีมวิจัยสามารถนำข้อมูลมาประกอบกับข้อมูลที่ศึกษาอยู่ และอธิบายได้ว่ายีนตัวไหนของไวรัสที่เกิดการกลายพันธุ์และทำให้เกิดโรครุนแรง เพื่อแจ้งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวัง รวมถึงการพัฒนาชุดตรวจเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกเคสที่รุนแรงออกจากเคสที่ไม่รุนแรงได้รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และรับมือกับการบริหารจัดการในช่วงที่มีการระบาดเป็นวงกว้างได้ดีขึ้น สำหรับการควบคุมไม่ให้เกิดซ้ำ ณ ขณะนี้ยังไม่พบสัตว์ตัวกลางที้เป็นพาหะนาโรค จึงยากต่อการควบคุม ต่างจากโรคซาร์สที่มีการตรวจพบว่าติดเชื้อมาจากชะมด ทำให้มีการควบคุมการรับประทานชะมด การยกเลิกทำฟาร์มชะมดอย่างเด็ดขาด ทำให้สามารถควบคุมโรคซาร์ส  ได้อย่างดีและไม่เกิดการระบาดซ้ำจนถึงปัจจุบัน 

แนวทางการรักษาโรค COVID-19 ในปัจจุบัน? 

แนวทางการรักษาขณะนี้จะมีการให้ “ต้านไวรัส” ซึ่งล่าสุดประเทศจีนได้รับรองยาต้านไวรัส Favilavir ในการรักษา COVID-19 อย่างเป็นทางการตัวแรก ขณะที่ประเทศไทยทดลองใช้ยาต้านไวรัส HIV ชนิด Protease Inhibitors เพื่อช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Protease ที่จำเป็นต่อการเพิ่มไวรัสในร่างกาย ซึ่งไวรัส SARS-CoV-2 ก็มีกระบวนการคล้ายๆ กันอยู่ นอกจากนี้ยังมียาต้านไวรัสที่ชื่อ Remdesivir (RDV) ที่กำลังถูกจับตาอย่างมาก เพราะเป็นยาที่ออกแบบมาสำหรับไวรัสโคโรนาโดยเฉพาะ สามารถยับยั้งการสร้างสาย RNA ของไวรัสได้โดยตรง อยู่ระหว่างการทดสอบในคน

พร้อมกันนี้ยังมีการใช้ แอนตี้บอด ของผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากการติดเชื้อมารักษาผู้ป่วยคนอื่น มีลักษณะเช่นเดียวกับเซรุ่มที่ฉีดตอนโดนงูกัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีข้อที่ต้องพึงระวังคือ ไวรัส SARS-CoV-2 อาจจะสามารถจับกับตัวรับหรือประตูเพื่อเข้าสู่ร่างก“ยได้ 2 ทาง ประตูบานแรกคือ ACE2 เมื่อผู้ป่วยได้รับแอนตี้บอดีในปริมาณที่มากพอจะช่วยบล็อกเชื้อไวรัสไม่ให้ผ่านประตูบานนี้ได้ แต่หากผู้ป่วยได้ปริมาณแอนตี้บอดีน้อยหรือคุณภาพไม่ดีพอ อาจเกิดการกระตุ้นให้แอนตี้บอดีจับกับเชื้อไวรัสแล้วพาเข้าสู่ประตูบานที่ 2 ที่มีชื่อว่า CD32A ซึ่งจะจับกับส่วนของแอนตี้บอดีที่ห้อมล้อมอนุภาคไวรัสนั้นไว้และนำไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ นั่นเท่ากับเป็นการเพิ่มช่องทางให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง ลักษณะเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกครั้งที่ 2 ที่มมีความรุนแรงมาก เพราะได้รับเชื้อเดงกี่ต่างสายพันธุ์จากครั้งแรก ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับคุณปอ-ทฤษฎี สหวงษ์ ดังนั้นการใช้แอนตี้บอดีในการรักษาในสถานการณ์เช่นนี้ต้องมีความระมัดระวัง 

วิธีป้องกันโรค COVID-19?

วิธีการป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือ ระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งจากการไอ จาม ของผู้ติดเชื้อ แล้วนำมาสัมผัสบริเวณใบหน้า บริเวณตา จมูก ปาก เพราะเป็นช่องทางที่เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย หลีกเล’่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่มีคนแออัด รวมทั้งกินอาหารร้อน ใช้ช้อนกลาง และหมั่นล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกวิธี หรือใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีส่วนผสมของแอลกฮอล์มากกว่า 70% นอกจากนี่เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำทุกครั้ง เพื่อลดการกระจายของเชื้อ และล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ 

ในช่วงที่มีการระบาดในวงกว้าง การใส่หน้ากากอนามัยจะมีส่วนช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้ แต่ต้องเข้าใจการใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้ในสื่อที่ประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานราชการ

ส่วนยาที่ดีที่สุดในการรักษา COVID-19 คือ ภูมิคุ้มกันของเราเอง การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ซึ่งถ้าเราโชคร้ายรับเชื้อไวรัสเข้ามา ภูมิคุ้มกันที่เรามีอยู่อาจจะไม่ทำให้เราป่วย หรือ มีอาการไม่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาทั่วไป นอกจากนี้ต้องดูแลสภาพจิตใจไม่ให้เครียดเกินไป เพราะจะทำให้ภูมิต้านทานลดลง สิ่งที่ต้องระวังคือการเสพข่าวที่มุ่งไปแต่จำนวนของผู้เสียชีวิตจนทำให้กลัว ทั้งที่อัตราผู้เสียชีวิตยังถือว่าน้อยหากเทียบกับโรคอื่นๆ ที่เกิดจากไวรัสชนิดเดียวกัน

แชร์หน้านี้: