หน้าแรก โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านพืชสมุนไพร
โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านพืชสมุนไพร
23 เม.ย. 2566
0
ข่าวประชาสัมพันธ์

การมีส่วนร่วมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก สวทช. ปี 2566

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม: ด้านพืช สมุนไพร”ร่วมกับ 3 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม

โดยโครงการได้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาดำเนินการและยกระดับการปลูกพืชสมุนไพรนำร่อง ได้แก่ ขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร พร้อมทั้งเชื่อมโยงโดยได้รับความร่วมมือจากทาง บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง จำกัด ในการรับซื้อผลผลิตคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และเปิดช่องทางการตลาดใหม่ในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากให้ยั่งยืนโดยใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์

ทั้งนี้ สวทช. ได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานความร่วมมือ ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร บริษัท โอสถสภา จำกัด เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเกษตรกร วางแผนการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการยกระดับสมุนไพรคุณภาพดี รวมทั้งเปิดรับความคิดเห็นจากเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและติดตามการดำเนินการโครงการ

โดยเมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2566 สวทช. ได้จัดให้มีการเปิดรับความคิดเห็นของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และมหาสารคาม ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 67 คน และเจ้าหน้าที่ 21 คน เกี่ยวกับความเหมาะสมของพื้นที่ และการนำพืชที่มีความเหมาะสมในการปลูกและนำมาผลิตสมุนไพร ซึ่งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมได้ให้ความเห็นพร้อมทั้งร่วมวางแผนดำเนินการผลิตสมุนไพรร่วมกัน โดยจะมีการดำเนินการปรับปรุงพื้นที่สำหรับการปลูก จากข้อสรุปดังกล่าวจะดำเนินการปลูกขิงและไพล จำนวน 10 ไร่ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และปลูกฟ้าทะลายโจร จำนวน 5,000 ต้น ในเดือนพฤษภาคม 2566 ตามลำดับ

เมื่อวันที 8-9 มีนาคม 2566 สวทช.ได้มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรคุณภาพดี ขิงไพล ของจังหวัด ศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม 67 คน เจ้าหน้าที่ 21 คน และมีหน่วยงานความร่วมมือที่เข้าร่วม ได้แก่

  • กรมส่งเสริมการเกษตร
  • สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ
  • สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด
  • สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม
  • ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

เกษตรกรได้เข้ารับฟังการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีแล้วจึงให้เกษตรกรรับหัวพันธุ์ขิง และสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้สำหรับการปลูกพืชสมุนไพรคุณภาพดีต่อไป

ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานความร่วมมือเพื่อให้คำแนะนำกับเกษตรกรทั้ง 3 จังหวัด

 

 

ปัญหาอุปสรรค: ยังไม่มีปัญหาอุปสรรค และสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ร่วมกันประชุมหารือไว้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการปลูกพืชสมุนไพร

ข้อเสนอแนะ: ยังไม่มีข้อเสนอแนะ เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปลูกพืชสมุนไพร

แชร์หน้านี้: