หน้าแรก “ไมโครสไปก์” นวัตกรรมแผ่นเข็มจิ๋วออกแบบได้ตามสั่ง เจาะตลาดสุขภาพและความงาม
“ไมโครสไปก์” นวัตกรรมแผ่นเข็มจิ๋วออกแบบได้ตามสั่ง เจาะตลาดสุขภาพและความงาม
18 ส.ค. 2565
0
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ
ผลงานวิจัยเด่น

For English-version news, please visit : Microspike Technology: Instant Production of Microneedle Fabrics with Customizable Features

 

“ไมโครสไปก์” นวัตกรรมแผ่นเข็มจิ๋วออกแบบได้ตามสั่ง เจาะตลาดสุขภาพและความงาม

เทคโนโลยี “ไมโครนีดเดิล” เป็นเข็มที่มีขนาดเล็กมากกว่า 10 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่าเส้นผมเกือบ 10 เท่า สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังได้อย่างง่ายดาย โดยเข็มนี้ทำหน้าที่นำส่งสารสำคัญต่างๆ เข้าสู่ชั้นผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างความเจ็บปวดหรือก่อให้เกิดร่องรอยถาวร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในด้านอุตสาหกรรมความงาม สุขภาพและการแพทย์อนาคต โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีไมโครนีดเดิลเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับทั่วโลก ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าจับตา สามารถพัฒนาไปได้ไกลและมีโอกาสทางการตลาดสูง

 

ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ นาโนเทค สวทช. และ CTO บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด
ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ นาโนเทค สวทช. และ CTO บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด

 

ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ หัวหน้าทีมวิจัยเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตรบนผืนผ้าอย่างรวดเร็ว ที่เรียกว่า “เทคโนโลยีไมโครสไปก์” เพื่อปลดล็อคข้อจำกัดของเทคโนโลยีการผลิตเข็มไมโครนีดเดิลที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เทคโนโลยีไมโครนีดเดิลเริ่มเป็นที่แพร่หลายในระดับโลกมาระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ดี ดร.ไพศาลเผยว่า เทคโนโลยีนี้ยังไม่ค่อยพบมากในบ้านเรา เนื่องจากปัญหาคอขวดเรื่องการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ยังมีราคาค่อนข้างสูง และยังมีตัวเลือกไม่มาก ทีมวิจัยจึงได้พัฒนากระบวนการผลิตที่เรียกว่า เทคโนโลยีไมโครสไปก์ ที่สามารถลดข้อจำกัดดังกล่าว ด้วยการออกแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานและสมบัติของสารที่ต้องการให้ซึมสู่ชั้นผิวหนัง

 

 

“เทคโนโลยีไมโครสไปก์ เป็นการออกแบบ พัฒนา ผลิตและประยุกต์โครงสร้างคล้ายเข็มขนาดเล็กเพื่อสร้างช่องทางนำส่งสารสำคัญผ่านผิวหนังชั้น โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือเกิดร่องรอยถาวร จุดเด่นของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้คือ เราสามารถผลิตไมโครสไปก์บนผืนผ้าหรือวัสดุอื่นที่มีความยืดหยุ่นได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และยังกำหนดลักษณะจำเพาะได้ตามต้องการ ทั้งรูปร่าง จำนวน และความหนาแน่นต่อพื้นที่ เพื่อให้ได้แผ่นแปะที่มีลักษณะเฉพาะตามความต้องการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งมีศักยภาพอย่างมากในการนำไปใช้งานด้านสุขภาพและความงาม หรือแม้แต่การใช้ควบคู่กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเดิมเพื่อเสริมประสิทธิภาพการนำส่งสารสำคัญได้อย่างแม่นยำ” ดร.ไพศาลกล่าว

การขึ้นรูปบนผ้าได้เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีหลักที่ยังไม่เคยมีใครทำได้และช่วยปลดล็อคการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ เนื่องจากการผลิตเข็มแบบทั่วไปจำเป็นต้องใส่สารสำคัญเข้าไประหว่างการผลิตเข็ม ด้วยความแตกต่างของสารแต่ละประเภท ทำให้ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารที่หลากหลายได้ แต่การขึ้นรูปเข็มบนผืนผ้าทำให้เข็มขนาดไมครอนสามารถใช้ได้กับสารทุกประเภท และทำหน้าที่เสมือนรูขุมขนจำลองจำนวนมาก เป็นช่องทางให้สารซึมผ่านลงใต้ผิวหนัง ซึ่งเมื่อสารซึมหมด ช่องทางบนผิวหนังเหล่านั้นก็จะคืนสภาพแทบจะทันที

 

 

ทั้งนี้ ผลงานนวัตกรรม “กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนบนผืนผ้าแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์” (Instant production of microneedle fabrics with customizable features) โดย ดร.ไพศาลและคณะ ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวด ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในเวที SPECIAL EDITION 2022–INVENTION GENEVA EVALUATION DAYS ณ สมาพันธรัฐสวิส โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ซึ่งปัจจุบัน ทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. ได้ต่อยอดผลิตเข็มขนาดไมครอนได้อย่างรวดเร็ว มีกำลังการผลิตสูงกว่าผู้ผลิตเข็มขนาดไมครอนเดิมที่มีอยู่ในตลาดโลกถึง 25 เท่า และผลิตแผงเข็มได้ขนาดใหญ่สุดที่ 2,000 ตารางเซนติเมตร ถือว่า ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้

“เทคโนโลยีไมโครสไปก์เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งมีระดับความพร้อมของเทคโนโลยีต้นแบบที่ประยุกต์ใช้ในหลายแอปพลิเคชัน และจากแนวโน้มในเรื่องการดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้น ทำให้เราวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครนีดเดิลเพื่อต่อยอดต่อไปได้ โดยในระยะแรก เรามองไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยความเป็นนวัตกรรมนี้จะปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สุขภาพ รวมถึงขยายไปสู่การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ในอนาคต เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพเป็นลำดับต้นๆ” ดร.ไพศาลกล่าว

จากความสำเร็จของการวิจัยพัฒนาและความโดดเด่นของเทคโนโลยีไมโครสไปก์ จึงนำมาสู่การจัดตั้ง บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 9 บริษัทดีปเทคสตาร์ตอัป (Deep Tech Startup) ภายใต้โครงการ NSTDA Startup” ของ สวทช. เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีไมโครสไปก์สู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม

 

นายต่อตระกูล พูลโสภา CEO บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด
นายต่อตระกูล พูลโสภา CEO บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด

 

นายต่อตระกูล พูลโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีไมโครนีดเดิลในประเทศยังมีข้อจำกัดด้านการผลิตที่ไม่สามารถผลิตได้นายต่อตระกูล พูลโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด จำนวนมากพอที่จะรองรับความต้องการของตลาด ตลอดจนมีการพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีเดียวกันนี้จากต่างประเทศซึ่งมีบริษัทผู้ผลิตไมโครนีดเดิลในเชิงพาณิชย์อยู่จำนวนน้อยราย เราจึงเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจที่จะดำเนินการผลิตสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไมโครนีดเดิลและผลักดันออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ โดยมุ่งเน้นที่จะเป็นผู้ผลิตไมโครนีดเดิลในกับผู้ประกอบการที่สนใจนวัตกรรมไมโครนีดเดิลในอุตสาหกรรมความงามและสุขภาพ และยังมีแผนที่จะขยายไปสู่การแพทย์ในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่แม่นยำและรวดเร็วที่สุดในโลก

เทคโนโลยีไมโครสไปก์สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและความงามที่ต้องการเพิ่มมูลค่าหรือสร้างอัตลักษณ์ให้แก่สินค้า โดยบริษัทสไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การให้คำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับความสามารถและขีดจำกัดของนวัตกรรม รวมไปถึงการผลิตไมโครสไปก์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค อาทิ แผ่นแปะขนาดเล็กแก้ปัญหาเฉพาะจุด (spot patches) แผ่นแปะสำหรับใต้ตา (under eye patches) และแผ่นแปะสำหรับใบหน้า (facial mask) หรือผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการสนใจ

 

 

“เราคาดหวังที่จะเป็นสื่อกลางในการผลักดันนวัตกรรมไทยที่มีโอกาสทางการตลาดสูง เป็นตัวเลือกใหม่ให้ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่สนใจเทคโนโลยีและมองเห็นโอกาสการต่อยอดทางธุรกิจ นำไปประยุกต์ใช้งานเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจด้านอุตสาหกรรมความงาม ลดการพึ่งพาหรือนำเข้าเทคโนโลยีเดิมจากต่างประเทศ และสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มตลาดอุตสาหกรรมด้านความงาม สุขภาพและการแพทย์อนาคตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ กล่าว

 

 

 

แชร์หน้านี้: