หน้าแรก ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ (ผู้อำนวยการ สวทช.) และนักวิจัย สวทช.
ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ (ผู้อำนวยการ สวทช.) และนักวิจัย สวทช.
17 ต.ค. 2565
0
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

For English-version news, please visit : NSTDA scholars and researchers named in the World’s Top 2% Scientists

ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ (ผู้อำนวยการ สวทช.) และนักวิจัย สวทช. ที่ติดอันดับ “The World’s Top 2% Scientists List 2022 โดย Stanford University”

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เปิดเผยข้อมูลรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก ในสาขาวิชาต่างๆ แบ่งออกเป็น 22 สาขาหลัก 176 สาขาย่อย

การคัดเลือกและจัดอันดับนี้ประเมินจากการวิเคราะห์ผลกระทบงานวิจัยจากการอ้างอิงบทความที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960–2021 โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย (citations, h-index, co-authorship adjusted hm-index, citations to papers in different authorship positions and a composite indicator (c-score))

โดยแบ่งรายชื่อนักวิทยาศาสตร์และการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2021 ซึ่งมีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปีนี้ 195,605 ท่าน
  2. กลุ่มผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี ค.ศ. 2021 สูงที่สุด (citation impact during the single calendar year 2021) ซึ่งมีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปีนี้ 200,409 ท่าน

ในรายชื่อนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ปรากฏรายชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ (ผู้อำนวยการ สวทช.) และนักวิจัยของ สวทช. ที่ติดอันดับจำนวน 12 ท่าน (โดยในจำนวนนี้มีนักวิจัย 2 ท่านที่ติดอันดับทั้งจำแนกตามกลุ่มผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด และกลุ่มผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี ค.ศ. 2021 สูงที่สุด

พิจารณาจากกลุ่มที่ 1 คือ ผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2021

  1. ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) ในสาขา Applied Physics อยู่ในอันดับที่ 6,758 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 380,123 ท่าน
  2. ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ในสาขา Food Science อยู่ในอันดับที่ 789 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 69,324 ท่าน
  3. Masahiko Isaka จากทีมวิจัยเคมีอินทรีย์ชีวภาพ (IBOT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ในสาขา Medicinal & Biomolecular Chemistry อยู่ในอันดับที่ 672 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 99,546 ท่าน
  4. ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป จากกลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ (BMD) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ในสาขา Materials อยู่ในอันดับที่ 3,247 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 315,721 ท่าน
  5. ดร.กมล เขมะรังษี จากกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในสาขา Networking & Telecommunications อยู่ในอันดับที่ 3,291 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 176,084 ท่าน
  6. ดร.ศรชล โยริยะ จากทีมวิจัยซีเมนต์และวัสดุคอมพอสิต (CCMT) กลุ่มวิจัยเซรามิกส์และวัสดุก่อสร้าง (CCM) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ในสาขา Materials อยู่ในอันดับที่ 6,629 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 315,721 ท่าน

พิจารณาจากกลุ่มที่ 2 คือ ผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี ค.ศ. 2021 สูงที่สุด (citation impact during the single calendar year 2021)

  1. ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ในสาขา Food Science อยู่ในอันดับที่ 747 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 69,324 ท่าน
  2. ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย (รักษาการ) รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) ในสาขา Pharmacology & Pharmacy อยู่ในอันดับที่ 2,782 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 131,949 ท่าน
  3. ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ (รักษาการ) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) ในสาขา Analytical Chemistry อยู่ในอันดับที่ 1,761 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 101,089 ท่าน
  4. Masahiko Isaka จากทีมวิจัยเคมีอินทรีย์ชีวภาพ (IBOT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ในสาขา Medicinal & Biomolecular Chemistry อยู่ในอันดับที่ 1,084 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 99,546 ท่าน
  5. ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ จากทีมวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ (AQHT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ (AAQG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ในสาขา Fisheries อยู่ในอันดับที่ 548 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 30,770 ท่าน
  6. ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ จากกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ในสาขา Physical Chemistry อยู่ในอันดับที่ 418 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 24,646 ท่าน
  7. ดร.วรายุทธ สะโจมแสง จากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ในสาขา Polymers อยู่ในอันดับที่ 1,688 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 90,487 ท่าน
  8. ดร.เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด จากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (ACBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ในสาขา Mycology & Parasitology อยู่ในอันดับที่ 250 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 17,224 ท่าน
  9. ดร.บุญญาวัณย์ อยู่สุข จากทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง (CFCT) กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ (LCRG) ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) ในสาขา Energy อยู่ในอันดับที่ 6,468 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 321,394 ท่าน

เอกสารอ้างอิง

Ioannidis, John P.A. (2022), “September 2022 data-update for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators””, Mendeley Data, V4, doi: 10.17632/btchxktzyw.4

Ioannidis, J. P. A., Boyack, K. W., & Baas, J. (2020). Updated science-wide author databases of standardized citation indicators. PLoS Biol. 18(10): e3000918. https://doi.org/10.1371/journal.pbio.3000918

แชร์หน้านี้: