หน้าแรก ผลงาน ผลงาน/นวัตกรรมรับมือโควิด-19 BodiiRay S และ BodiiRay R
BodiiRay S และ BodiiRay R
30 เม.ย. 2564
0
ผลงาน/นวัตกรรมรับมือโควิด-19
ผลงานวิจัยเด่น

บอดีเรย์ เอส คือเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อ บอดีเรย์ เอส เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติเพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอดประกอบด้วย แหล่งกำเนิดเอกซเรย์ ฉากรับรังสีแบบดิจิทัล ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ ซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและควบคุมการฉายเอกซเรย์ และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของ BodiiRay S
  • ระบบจัดท่าผู้ป่วยแบบขึ้นลงพร้อมกันทั้งเอกซเรย์และฉากรับรังสี
  • สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสำรข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

 

บอดีเรย์ อาร์ คือชุดแปลงเอกซเรย์ให้เป็นดิจิทัล (Digital Radiography Retrofit) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อบอดีเรย์ อาร์ ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะอัปเกรดเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนฉายรังสีเอกซ์จากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอแสดงผลภาพ ส่วนซอฟต์แวร์สามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ บันทึกการตั้งค่าการฉายรังสี ประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (BodiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของ BodiiRay R
  • สำหรับอัพเกรดระบบเอกซเรย์รุ่นเก่าให้เป็นเอกซเรย์ดิจิทัล
  • ปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาล
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

 

สรุปการติดตั้งและใช้งาน

เครื่อง BodiRay S

  • รพ. รามาธิบดี, กรุงเทพ
  • รพ. สนาม วัฒนาแฟคตอรี่โดย รพ.บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน), สมุทรสาคร
  • รพ. สนาม ท่าทราย โดย รพ.สมุทรสาคร
  • รพ. สนาม วิทวอเตอร์ โดย รพ.บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน), สมุทรสาคร
  • รพ. สมุทรสาคร
  • รพ. แม่สอด, ตาก
  • รพ. สนาม มหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ โดย รพ. ชลบุรี
  • รพ. สนาม รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ โดย รพ. สงขลา
  • รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

เครื่อง BodiiRay R

  • รพ.บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน), สมุทรสาคร
  • รพ. สนาม วัดช่องลม โดย รพ.บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน), สมุทรสาคร

 

ผู้พัฒนา

ดร.อุดมชัย เตชะวิภู
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

 

30 เม.ย. 2564
0
แชร์หน้านี้: