หน้าแรก คลังความรู้ 30 ปี สวทช. งานวิจัย 30 ปี สวทช. พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทย ด้วย “JSTP”
พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทย ด้วย “JSTP”
15 มิ.ย. 2564
0
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทย ด้วย “JSTP”

            หนึ่งในความใฝ่ฝันของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็คือ “รางวัลโนเบล” (Nobel Prize) ซึ่งเปรียบเสมือนเกียรติยศสูงสุดที่แสดงให้เห็นถึงความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่นในแต่ละสาขาที่สร้าง คุณประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติ

            แต่เส้นทางที่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้นอกจากความสามารถระดับ “อัจฉริยะ” ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้วยังต้องอาศัยการส่งเสริมและพัฒนาให้เหมาะสมกับความถนัดของแต่ละคนด้วย

            บุคลากรที่มีความสามารถพิเศษเหล่านี้ แม้ว่าจะยังก้าวไปไม่ถึงรางวัลเกียรติยศระดับโลก แต่ก็เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าและสำคัญต่ออนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะในยุคที่ประเทศต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

            “โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน” หรือ “JSTP” (Junior Science Talent Project) หนึ่งในโครงการพัฒนากำลังคนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เพื่อเฟ้นหาและคัดเลือกเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลายและปริญญาตรี เข้ามารับการส่งเสริมและพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับความถนัดของแต่ละคน เพื่อส่งต่อไปสู่การพัฒนาเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี และนักวิจัย ที่มีคุณภาพและมีจริยธรรมต่อไปในอนาคต

            เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้รับการบ่มเพาะจากนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงและนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถและมุ่งมั่นในการทำวิจัยจะมีส่วนช่วยให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ โครงการ “JSTP” จึงได้จัดหานักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง ทั้งนักวิจัยจากศูนย์แห่งชาติของ สวทช. รวมถึงเครือข่ายวิจัยที่มีอยู่ทั่วประเทศ คอยให้คำแนะนำและดูแล เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้แสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2563) มีเยาวชนที่สนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการ “JSTP” แล้วถึง 27,353 คน และผ่านการคัดเลือกในระดับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Gifted and talented children) จำนวน 2,394 คน ซึ่งเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะอยู่ในกระบวนการส่งเสริมประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพเป็นระยะเวลา 1 ปี

            ในระหว่างนี้เยาวชนจะได้รับการบ่มเพาะผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบค่ายเสริมประสบการณ์ การฝึกทำวิจัยในห้องปฏิบัติการ และการฝึกอบรมความรู้ รวมถึงสนับสนุนทุนในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมีนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงเป็นผู้ดูแลและให้คำปรึกษา

            ทั้งนี้โครงการฯ ได้คัดเลือกเยาวชนในระดับผู้มีแววอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Genius) จากเยาวชนกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการฯ ในระยะยาวแล้วจำนวน 22 รุ่น รวมทั้งสิ้น 347 คนโดยเยาวชนกลุ่มนี้จะได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาและทุนสนับสนุนการวิจัย จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบันการศึกษาภายในประเทศ

            23 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตจากโครงการ “JSTP” เริ่มเห็นผลได้อย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะไม่ได้มีปริมาณมากเหมือนในสถาบันการศึกษา แต่การบ่มเพาะด้วยกลไกและความพร้อมของ สวทช.นี้ ส่งผลให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษและได้รับทุนต่อเนื่องในระยะยาว เมื่อจบออกไปแล้วกว่า 50% ยังทำงานในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตรงกับเป้าหมายของโครงการฯ

            อย่างเช่น “รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี สุรีย์” JSTP รุ่นที่ 1 ที่จบปริญญาเอกและหลังปริญญาเอกในสาขาชีวเคมีและชีวโมเลกุล ann University of California, Los Angeles สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำงานสังกัดภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี ทํางานวิจัยพัฒนายาต้านแบคทีเรียตั้งแต่เรียนปริญญาเอก แต่มีความสนใจส่วนตัวเรื่องไวรัส HIV ขณะที่เรียนอยู่ที่ต่างประเทศมีเพื่อนติดเชื้อ HIV จึงคอยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับเรื่องยา และกลายเป็นความสนใจในเรื่องของกลไกการทำงานของไวรัส จนกระทั่งกลับมาบุกเบิกห้องปฏิบัติการพัฒนายาโรคติดเชื้อเอชไอวี และมุ่งมั่นทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง

            นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เลี้ยงให้นาย พัชรพงศ์ ทั้งสุนันท์ เยาวชน JSTP รุ่นที่ 9 ขณะที่กำลังศึกษาระดับชั้นปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปัจจุบันเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งการดูแลเยาวชนในครั้งนี้ ผลักดันให้นายพัชรพงศ์ ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 ผู้ชนะรางวัล Young Scientist Award 2015 แห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2558 จากการประกวดโครงการวิจัยในหัวข้อ “Combined Computational and Biochemical Approaches for Drug Discovery Targeting HIV-1 Integrase” inlna MERCK Millipore Bioscience (Thailand)

            รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี กล่าวว่า “โครงการ JSTP เป็นโครงการที่เปลี่ยนชีวิตของพวกเราให้ได้มีโอกาสเติบโตเป็นนักวิจัยอย่างเต็มภาคภูมิ”

            ส่วน “ดร.ธัญญพร วงศ์เนตร” JSTP รุ่นที่ 4 จบปริญญาตรี-เอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหลังปริญญาเอก สาขา Biological Chemistry ann University of Michigan สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นอาจารย์สังกัดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี ดร.ธัญญพร มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อครั้งศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาเอก ภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงได้รับทุน ASEMDuo Fellowship Program เพื่อทำวิจัยระยะสั้นเป็นเวลา 4 เดือน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

            ปัจจุบัน ดร.ธัญญพรได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติร่วมกับ Japan Society for the Promotion of Science USPS) ดร.ธัญญพร มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Sience และคว้ารางวัลโครงการทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ประจําปี พ.ศ. 2562 (For Women in Science 2019) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในนักวิจัยหญิงผู้มีผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

            สำหรับโครงการ JSTP ดร.ธัญญพร กล่าวว่า “โครงการนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้เด็กต่างจังหวัดคนหนึ่งได้เข้ามาสัมผัสว่านักวิทยาศาสตร์ทำงานอย่างไร แต่ยังได้ลงมือทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยในสถาบันทางวิทยาศาสตร์ชื่อดังของประเทศ นับเป็นโอกาสที่ดีของชีวิต ทำให้เราพัฒนาและเห็นอนาคตของตัวเอง”

            ขณะที่ “ดร. นพ.จารุพงษ์ แสงบุญมี” JSTP รุ่นที่ 9 ซึ่งจบการศึกษาปริญญา ตรี-เอก จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันเป็นอาจารย์และแพทย์วิจัย สังกัดภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร. นพ.จารุพงษ์ เข้าร่วมโครงการ JSTP ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความ มุ่งมั่นตั้งใจในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของแพทย์วิจัยที่มีผลงานการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำปี พ.ศ. 2556 ต่อมาได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2561 โดย ดร. นพ.จารุพงษ์ได้รับทุนเพื่อทำวิจัยเป็นเวลา 1 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ณ Department of Genetics,Harvard Medical School was Department of Cancer Biology, Dana-Farber Cancer of Medicine สหรัฐอเมริกา

            นอกจากนี้ยังมี “รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ” JSTP รุ่นที่ 4 จบการศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาเอกและหลังปริญญาเอก สาขาเคมีคำนวณ Australian National University ปัจจุบันเป็นอาจารย์สังกัดวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

            รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม เมื่อครั้งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC) และการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) ต่อเนื่องสามปี พ.ศ. 2545-2547 และคว้ารางวัล Special Award จาก Association of Computing Machinery: ACM ในเวที Intel ISEF 2004 สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นหัวหน้าสาขาวิชาเคมี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความสนใจหลากหลายสาขาทั้งเคมี คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และงานสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน ในรูปแบบของการเขียน เคยเป็นนักเขียนนิตยสารทางวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลายปี มีผลงานการเขียนหนังสือร่วมกับโครงการ JSTP หลายเล่ม จัดทำสื่อการเรียนการสอนและชุดทดลองสำหรับเด็กร่วมกับศูนย์หนังสือ สวทช. ภายใต้ชื่อ “ตามรอยไฟฟ้าจากธรรมชาติสู่เทคโนโลยี” เป็นวิทยากรจัดกิจกรรมค่าย ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เพื่อจุดประกายนักวิจัยรุ่นเยาว์

            รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม ยังเป็นผู้ประสานงานกลุ่มอาสาสมัครวิกิพีเดียในประเทศไทย ร่วมแก้ไขวิกิพีเดีย ร่วมลงคะแนนออกความเห็นในการเปลี่ยนแปลงสำคัญของเว็บไซต์อีกด้วย และในปี พ.ศ. 2563 รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี พ.ศ. 2563 และเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงให้เยาวชน JSTP ในรุ่นปัจจุบันอีกด้วย

            จากบทบาทการพัฒนาบุคลากรวิจัยของ สวทช. เชื่อว่า “อัจฉริยภาพ” ของเยาวชนไทยยังมีอีกมากที่รอโอกาสในการค้นหาและดึงศักยภาพออกมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเองและประเทศชาติ เหมือนดังที่ ตร. นพ.จารุพงษ์ บอกว่า

“JSTP เป็นเหมือนบ้านนักล่าฝันทางวิทยาศาสตร์ ที่ให้โอกาสผมเข้าไปค้นหาศักยภาพของตัวเอง โดยมีนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงเป็น Trainer ที่ช่วยดึงศักยภาพออกมา แล้วช่วยพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามความฝันนั้น”

ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม

แชร์หน้านี้: