โดยทั่วไปชุดตรวจเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แบบรวดเร็วอาศัยหลักการการจับแบบจำเพาะของโมเลกุลชีวภาพที่จับได้ดีและจำเพาะกับโปรตีนเป้าหมายของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สำหรับชุดตรวจนี้อาศัยหลักการการตรวจหาโมเลกุลเป้าหมายอย่างจำเพาะและรวดเร็วด้วยเทคนิค อิมมูโนโครมาโตกราฟีชนิดไหลในแนวราบ (Lateral flow immunochromatographic assay: LFA) ซึ่งสามารถใช้ตรวจหาแอนติเจนของเช้อื ไวรัสก่อโรคโควิด -19 ได้ จึงนำมาใช้ตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรสัก่อโรคโควิด-19
โดยในขั้นตอนการตรวจนั้นจะต้องมีการติดฉลากโมเลกุลชีวภาพที่จำเพาะกับโปรตีนของไวรัสด้วยวัสดุเล็กพิเศษระดับนาโนซึ่งสามารถให้สัญญาณตอบสนองได้ หากตรวจพบโปรตีนของไวรัส ทั้งนี้อาศัยการปรับสภาพและคัดเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสมของชุดตรวจในการทำให้ชุดตรวจสามารถให้สัญญาณหรือขยายสัญญาณได้ในเวลาอันรวดเร็ว (5-10 นาที)
ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดเตรียมชุดตรวจต้นแบบสำหรับตรวจนิวคลีโอแคปซิด (Nucleocapsid) ที่เป็นโปรตีนที่ห่อหุ้มสารพันธุกรรมของไวรัส โดยเลือกเฉพาะตัวอย่างที่ให้ผลตรวจเป็นบวกแบบจางๆ โดยจะทดสอบกับตัวอย่างจริงที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนภายในเดือนพฤษภาคม 2563 เพื่อนำผลการทดสอบเบื้องต้นมาปรับสภาวะเพิ่มเติม และวางแผนทดสอบความจำเพาะของคู่แอนติเจน แอนติบอดีเพิ่มเติม เพื่อนำมาประกอบในชุดตรวจต้นแบบ
นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการสร้างยีนที่ใช้สร้างโปรตีนนิวคลีโอแคปซิดและโปรตีนสไปก์ (Spike) ซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากผิวของไวรัส และใช้จับกับตัวรับของเซลล์ โดยมีการดัดแปลงโคดอน (Codon) หรือชุดรหัสพันธุกรรมให้เข้ากันได้กับแบคทีเรียที่จะใช้ผลิตโปรตีนทั้งสองชนิดนี้ (ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็น) โดยมีพันธมิตรที่สำคัญ คือ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
ติดต่อ:
ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง และ ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร
กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
เบอร์โทรศัพท์: 02 564 7100 ต่อ 6665, 76106