อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนทุกระดับ สามารถเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานสนับสนุนของภาครัฐ สถาบัน การศึกษา ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยพัฒนา บริการวิเคราะห์ทดสอบพร้อมด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ทันสมัย อีกทั้งยังเป็นแหล่งบ่มเพาะผู้ประกอบการ Start-up เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมเป็นฐาน


บริการพื้นที่ห้องปฏิบัติการและที่ดินเช่าสำหรับภาคเอกชน องค์กรของรัฐ เพื่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา

ช่วยเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจนวัตกรรม ตลอดจนบริการต่างๆให้ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ผู้ประกอบการในอุทยานฯ ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนการลงทุนจาก BOI และกรมสรรพากร

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย

1. สนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้มาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration)

2. ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการส่งเสริมเทคโนโลยี

3. สร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. บริการห้องฝึกปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ห้องสัมมนา พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง

เร่งยกระดับและพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ของประเทศ

เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์และพัฒนาโมเดลธุรกิจ

ผลักดันและส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม
เมืองนวัตกรรมอาหาร
สนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของภาคเอกชน ด้วยการเชื่อมโยงบริการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน



ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์

- ค้นหาและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และเอนไซม์
- บูรณาการด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
- ใช้ประโยชน์วัสดุเศษเหลือจากอุตสาหกรรม

- ฝึกอบรมเฉพาะทาง
- ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม

- ขยายขนาดการผลิต
- ประเมินศักยภาพของผลิตภัณฑ์/เทคโนโลยีเชิงธุรกิจ

- เทคโนโลยีการผลิต
- ต้นเชื้อจุลินทรีย์
- ชุดทดสอบสำเร็จรูป

ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย
ศูนย์กลางการให้บริการชีววัสดุประเภทต่างๆ เช่น จุลินทรีย์ พลาสมิด โมโนโคลนอลแอนติบอดี รวมทั้งให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีววัสดุแบบครบวงจรเพื่อการวิจัยประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

- บริการชีววัสดุที่มีคุณภาพด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน
- บริการรับฝากเก็บรักษา รวมทั้งให้บริการเช่าพื้นที่เก็บรักษาชีววัสดุ
- บริการด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดจำแนกชนิดจุลินทรีย์
- ฝึกอบรมการเก็บรักษาและการจัดจำแนกชนิดจุลินทรีย์

- บริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพในเชิงกฎหมาย เช่น การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์
- บริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายชีวภาพ

- บริการข้อมูลชีววัสดุโดยใช้
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ฝึกอบรมการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ ให้แก่สมาชิกเครือข่าย

อุตสาหกรรมเกษตร

อุตสาหกรรมอาหาร

อุตสาหกรรมสีเขียว
(สิ่งแวดล้อม)

อุตสาหกรรมสุขภาพและยารักษาโรค
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ
สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศ และนำมาวิจัยพัฒนาเพื่อประเมินคุณค่า เช่น ศึกษาข้อมูลระดับยีน ข้อมูลสารสำคัญ และศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้น วัสดุชีวภาพที่จัดเก็บในธนาคารจึงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

- บริการรับฝากตัวอย่างพืช
- บริการฐานข้อมูล : Plant catalog

- บริการรับฝากและตัวอย่าง
- บริการสืบค้นกลุ่มตัวอย่างพิพิธภัณฑ์เห็ดรา:BBH Search
- NBT Culture Collection (NBTCC)
- BIOTEC Bangkok Fungarium (BBH)

- บริการฝากเก็บข้อมูล
- แหล่งทุน สวทช. : การฝากข้อมูลจากโครงการภายใต้แหล่งทุนภายใน สวทช.
- แหล่งทุนภายนอก สวทช. : การฝากข้อมูลจากโครงการภายใต้แหล่งทุนภายนอก สวทช.
- ฝากข้อมูล : การฝากข้อมูลโดยต้องขออนุญาตก่อนนำข้อมูลออก
- บริการสืบค้น : T-Rex ฐานข้อมูลแสดงความหลากหลายทางพันธุกรรมแบบสนิปส์ (SNP) และอินเดล (INDEL) ในประชากรไทย
- บริการเครื่องมือสนับสนุนการแปลผลข้อมูล
- Thalassemia เครื่องมือเพื่อการทำนายผลจากข้อมูล hemoglobin typing และแปลผลตาม type ของคู่เสี่ยง
- NIPT เครื่องมือเพื่อช่วยตรวจหาความผิดปกติชนิดโครโมโซมเกิน และเพศของทารกในครรภ์มารดา
- TB เครื่องมือเพื่อช่วยทำนายความเสี่ยงการดื้อยา
- SPAPA-R เครื่องมือที่ให้บริการการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
- PharmVIP เครื่องมือที่รวบรวมการวิเคราะห์ ทำนายผล และแปลผลทางด้าน pharmacogenomic
- บริการซอฟต์แวร์
- fastGLOBETROTTER : An efficient haplotype-based technique to identify, date and describe admixture events using genome-wide autosomal data.
ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง
ThaiSC เป็นหนึ่งในหน่วยงาน National Science and Technology Infrastructure (NSTI) ของ สวทช. เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ โดยศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูงมุ่งเน้นการให้บริการระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing: HPC) แก่งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการคำนวณ (Computational Science) เช่น การทำแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, งานวิจัยด้าน Computational Chemistry, Bioinfomatics, Climate Change, Artificial Intelligence (AI), Big Data เป็นต้น เพื่อให้มีศักยภาพสามารถรองรับโจทย์ปัญหาขนาดใหญ่ของประเทศได้
- ThaiSC มุ่งเน้นการให้บริการระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing: HPC) แก่งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการคำนวณ (Computational Science) เช่น การทำแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, computational chemistry simulations, bioinformatics, earth science, atmospheric science, climate change science, computer-aided engineering, machine learning, artificial intelligence (AI), และ data science
- ThaiSC มีผู้เชี่ยวชาญ (Domain Expert) หลายด้านที่พร้อมให้คำแนะนำด้านการคำนวณและการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพเช่น ด้าน computer modeling, computational chemistry simulations, bioinformatics, earth science, atmospheric science, climate change science, computer-aided engineering, machine learning, artificial intelligence (AI), และ data science
- ThaiSC ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับ HPC อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา เช่น การจัด Workshop การใช้งาน HPC การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบ HPC ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.)
ให้บริการด้านข้อมูล เครื่องมือการประเมิน การให้คำปรึกษาทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การทวนสอบและการตรวจสอบข้อมูล ตลอดจนการให้บริการอบรมต่าง ๆ

- เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อนำไปประเมินผลกระทบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านความยั่งยืนของประเทศไทย

- ระบบและเครื่องมือการคำนวณที่ช่วยสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการประเมินความยั่งยืนและการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

- ที่ปรึกษาเฉพาะทางเพื่อสนับสนุนการผลิตและการบริการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

- อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ หลักสูตรการประเมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
TMEC เป็นหน่วยวิจัยภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งมีเทคโนโลยีหลักคือกระบวนการผลิตเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแผ่นซิลิกอน

- 6-inch wafer fabrication
- CMOS and CMOS-compatible process
- Prototyping and small-scale production
- Wafer processing: thin film, patterning, etching, etc.

- Material characterization
- Electrical characterization

- Layout design
- Process integration
- Design support & service for MEMS