Insectica Kingdoms เกมแนว Turn-base RPG 3 มิติ ช่วยฝึกการคิดวิเคราะห์ ไหวพริบ และการวางแผนให้กับผู้เล่น ผลงานสร้างสรรค์จากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี “เกม” คือเครื่องเล่น ของเล่น หรืออุปกรณ์การละเล่นต่างๆ ที่มีไว้เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จริงๆ แล้วการเล่นเกมส่งผลดีหลายอย่าง เช่น คลายเครียด ฝึกสมาธิ การตัดสินใจ การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเล่นเกมแบบไหน แต่เร็วๆ นี้จะมีเกมรูปแบบใหม่ชื่อว่า Insectica Kingdoms ที่ช่วยฝึกการคิดวิเคราะห์ ไหวพริบ และการวางแผนให้กับผู้เล่น Insectica Kingdoms เป็นเกมแนว Turn-base RPG 3 มิติ เกิดขึ้นจากแนวคิดของ นายธนพล กุลจารุสิน นายฉัตรปรินทร์ หงส์ศิริธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 4 และนายสุทธินันท์ สุคโต นักศึกษาชั้นปีที่
นักวิทย์ไทยวิจัยขั้วโลกปี 3
สองนักวิทยาศาสตร์จากจุฬาฯ ได้รับคัดเลือกร่วมหน่วยงานจีน เดินทางไปทำวิจัยขั้วโลกใต้ 45 วัน กำหนดออกเดินทาง 1 มกราคมนี้ สวทช.จับมือคณะวิทย์ จุฬาฯ สนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ ไทยเข้าร่วมวิจัยขั้วโลกใต้ 45 วัน ด้าน “รศ.ดร.สุชนา” เผยจะดำน้ำลึกอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศา หวังเยาวชนจะสนใจทวีปแอนตาร์กติกมากขึ้น องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ร่วมกับ อพวช., จุฬาฯ, กลุ่มเครื่องดื่มกระทิงแดง และ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด จัดแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” – ( 30 Views)
ห้องเรียนยุคดิจิทัล
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนให้ความสนใจและทุ่มเททรัพยากรลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินเงินทอง พลังกายพลังใจรวมทั้งเวลา คนเราใช้เวลาไปกับการเรียนแต่เพียงอย่างเดียวเฉลี่ยมากถึง 1 ใน 3 ของชีวิตตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา ความจริงแล้วการศึกษาไม่ได้หยุดลงเมื่อเราสำเร็จการศึกษาในระดับสูงสุดที่เราทำได้ บางคนอาจจะเรียนจบปริญญาเอกเป็นด็อกเตอร์ แต่การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Education) โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เราติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและทั่วโลก แน่นอนว่าเราสามารถหาข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลบนโลกอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนในห้องเรียนก็ยังมีความสำคัญ เพราะสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอนและเพื่อนร่วมห้องได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ช่วยในส่วนนี้ได้ เช่น Google ที่เรารู้จักกันดีในเรื่องของเครื่องมือค้นหาข้อมูล– ( 41 Views)
จีโนมปรับปรุงพันธุ์สุกร
เครือเบทาโกรนำนวัตกรรมการคัดเลือกจีโนม มาใช้ปรับปรุงพันธุ์สุกร เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลดีต่อเกษตรกรโดยตรงและผู้บริโภค เครือเบทาโกรจับมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำนวัตกรรมการคัดเลือกจีโนมมาใช้ในการปรับปรุงพันธุกรรมสุกรเป็นรายแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มความแม่นยำและความรวดเร็วในการคัดเลือกสุกร ส่งผลดีต่อเกษตรกรโดยตรงและผู้บริโภค ลดการนำเข้าพันธุ์สุกรจากต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สัตวแพทย์หญิงอังสนา ฮ้อเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจสุกร เครือเบทาโกร กล่าวว่า เครือเบทาโกรให้ความสำคัญในการพัฒนา “คุณภาพ” ผลิตภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุกรรมสุกรด้วยการคัดเลือกจีโนม (ข้อมูลทางพันธุกรรม) หรือ Genomic Estimated Breeding Value (GEBV)– ( 259 Views)
สู้ตลาดโลกด้วยงานวิจัย
เวทีประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยประจำปีของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นอีกเวทีหนึ่งที่นำเสนอผลงานที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการจนถึงขั้นนำไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจอื่นๆ เกิดไอเดียที่จะลุกขึ้นมาสู้ด้วยงานวิจัย :ไอทีกับไหมไทย โจทย์การนำไอทีเข้าไปใช้กับอุตสาหกรรมไหมไทยเกิดขึ้นราว 1 ปีก่อนโดยความร่วมมือระหว่าง ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นักวิจัยเนคเทคและทีม กับ นายวัชรพงษ์ แก้วหอม ผู้อำนวยการ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี ซึ่งเป็นผู้เสนอโจทย์และร่วมโครงการวิจัยนำร่อง– ( 32 Views)
3 ปีลุ้นใช้หลอดไฟถนอมดวงตา
สวทช. หนุนเอกชน พัฒนาอุปกรณ์ไดโอด หลอดไฟ LED ใช้วัสดุสารกึ่งตัวนำเชิงแสงซิงค์ออกไซค์ สู่มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและผู้บริหาร (สวทช.) ร่วมลงนามความร่วมมือวิจัย “โครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ไดโอดเปล่งแสงสีขาวโดยใช้วัสดุสารกึ่งตัวนำเชิงแสงซิงค์ออกไซค์” กับบริษัท แม็กซ์ลูเมน จำกัด เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีต้นน้ำอุปกรณ์ LED สู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมหลอดไฟส่องสว่าง ฯลฯ ด้วยงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท คาดหวังภายใน 2-3 ปี จะได้เทคโนโลยีใหม่ ในการสร้างวัสดุสารกึ่งตัวนำเชิงแสงซิงค์ออกไซค์ที่ใช้สำหรับการเปล่งแสงขาว ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การผลิตหลอดไฟส่องสว่างที่ให้แสงขาวแบบธรรมชาติ พร้อมทั้งสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 50 % ไร้องค์ประกอบที่เป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพในการส่องสว่างสูง และมีอายุการใช้งานได้นานหลายปี– ( 104 Views)
‘เนคเทค-ทรู’ ทุ่มงบ 20 ล้านเจ้าภาพงาน ‘APRICOT 2014’
ทุ่มงบ 20 ล้านบาท เนคเทค จับมือ ทรู จัดงาน APRICOT 2014 ประชุมสุดยอดผู้ให้บริการและผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก หวังไทยได้โชว์ศักยภาพพร้อมเอกชนได้ต่อยอดธุรกิจ คาดมีผู้ประกอบการในวงการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 700 คน จาก 400 บริษัท ใน 50 ประเทศร่วมงาน ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค เปิดเผยว่า เนคเทคได้ร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เป็นเจ้าภาพจัดงาน APRICOT 2014 ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดผู้ให้บริการและผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตจาก ทั่วโลก โดยได้รับการไว้วางใจจากองค์กรอินเทอร์เน็ตระดับสากลอย่าง APIA และ APNIC ให้เป็นเจ้าภาพ โดยคาดว่าจะมีนักธุรกิจและผู้ประกอบการในวงการอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกกว่า 700 คน ที่เป็นตัวแทนจาก 400 บริษัท จาก 50 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงาน ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะจากไทยได้เพิ่ม เครือข่ายเชิงวิชาการ ธุรกิจ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอินเทอร์เน็ตของเมืองไทย ซึ่งที่ผ่าน
ถุงยางมือถือ
เมื่อพุธก่อนผมพูดถึงเรื่องของแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนว่าทำ อย่างไรให้แบตหมดช้าลง โดยผมได้พูดถึงแบตเตอรี่ลิเธียม แอร์แบบใหม่ล่าสุดของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่ใช้เทคนิควิศวกรรมศาสตร์ทางพันธุกรรม แก้ไขดีเอ็นเอ เพื่อพัฒนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา โดยให้ไวรัสนั้น มีความสามารถในการเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้การชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้งสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมหลาย เท่า แต่บางคนอาจจะตั้งคำถามง่าย ๆ กับผมว่า เราจะไปคิดแบตเตอรี่แบบใหม่ลิเธียม แอร์ โดยใช้เทคนิควิศวกรรมศาสตร์ทางพันธุกรรมอะไรยาก ๆ ทำไม ทำไมเราไม่พกสายชาร์จเปล่า ๆ ติดตัวไปกับเรา เพราะสายชาร์จก็เบามากอยู่แล้ว เล็กนิดเดียว หัวชาร์จต่างหากที่หนัก แล้วปัจจุบันช่องเสียบยูเอสบี (USB) ก็ไม่ได้หายาก มีอยู่เต็มไปหมด ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ บนรถ หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปก็ยังมี ซึ่งถ้าคิดดี ๆ ก็จริงของเขานะครับ ถือว่าคนพูดมีเหตุผลที่ดีเลย สายชาร์จถ้าเป็นแบบสั้น ๆ ก็หนักไม่กี่กรัมเท่านั้นเอง แถมเดี๋ยวนี้ช่องเสียบยูเอสบีมีทั่วทุกที่จริง ๆ ผมออกจากบ้านขับรถมาทำงานก็มีช่องยูเอสบีของวิทยุในรถ พอถึงที่ทำงานก็มีช่องยูเอสบีของเครื่องคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยให้ชาร์จอีก หรือถ้าไม่มีจริง ๆ ก็ไปยืมพาวเวอร์แบงค์ของเลขาฯผมชาร์จก็ได้ เพราะถึงมือถือจะคนละรุ่นกัน แต่ปัจจุบันใช้ช่องยูเอสบีเพื่อเสียบชาร์จเหมือนกัน หรือแม้แต่ตอนไปสนามบิน เห็นคอมพิวเตอร์ของสนามบินตั้งอยู่ เราก็เอาสายไปเสียบชาร์จได้ เรียกว่าพกสายอย่างเดียวก็สบายไปแปดอย่างแล้วครับ เจอช่องยูเอสบีที่ไหนก็เสียบชาร์จได้เลย – (
บริหารจัดการคุณภาพข้าวไทยด้วย โมบาย แกพ
เข้ากับยุคโมบายแอพพลิเคชั่นครองเมือง…การพัฒนาคุณภาพข้าวไทยก็ไม่ได้น้อยหน้า นำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการตรวจประเมินคุณภาพข้าวไทยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว นายวัชรากร หนูทอง นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยโพรโตคอลและเครือข่ายไร้สาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) บอกว่า เนคเทคได้ร่วมกับกรมการข้าว พัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการคุณภาพข้าวไทย หรือ โมบาย แกพ ขึ้น เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลชาวนาที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร รวมถึงใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพข้าวไทยตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) โดยพัฒนาเป็น 2 ส่วนหลักคือ ระบบเว็บไซต์สำหรับเกษตรกรยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรและแหล่งผลิตด้วยแผนที่ กูเกิล แมพ และระบบการตรวจประเมินคุณภาพข้าว ตามมาตรฐาน GAP ด้วยโมบายแท็บเล็ตแอนดรอยด์ สำหรับผู้ตรวจประเมินของกรมการข้าวใช้ทดแทนแฟ้มกระดาษแบบเดิม นักวิจัยบอกว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นการนำโมบายแอพพลิเคชั่นมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้เทคโนโลยีทั้งจีพีเอส แผนที่กูเกิลแมพ และระบบนำทาง (Google Direction) ระบบสามารถทำงานอย่างอิสระได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งเหมาะกับการทำงานในพื้นที่ห่างไกล ในส่วนของเกษตรกรสามารถบันทึกแบบคำร้องขอรับรองแหล่งผลิตและบันทึกแบบบันทึกระบบการจัดการคุณภาพข้าวสำหรับเกษตรกรผ่านทางเว็บไซต์ www. gapthailand.in.th ได้ ด้านผู้ตรวจประเมินก็สามารถใช้ข้อมูลเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ มีแผนที่ขอบเขตชัดเจน และมีระบบบอกเส้นทาง สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจประเมินต่าง ๆ ผ่านโมบายแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ได้ทันที ช่วยลดเวลาในการตรวจประเมินฯ ซึ่งเดิมใช้แบบฟอร์มกระดาษ และต้องนำมาคีย์เข้าคอมพิวเตอร์ภายหลัง–
หัวหน้างาน “อคติ” ประเมินผล “ยุติธรรม” ได้? (ตัวอย่างบทความ)
หน้าที่ประการหนึ่งของ “หัวหน้างาน” ที่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือ การประเมินผลผู้ใต้บังคับบัญชาว่า แต่ละคนทำงานเป็นเช่นไร รับผิดชอบต่อหน้าที่ดีหรือไม่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรได้ตามมาตรฐานเพียงใด เพื่อสรุปว่า แต่ละคนสมควรได้รับการขึ้นเงินเดือนเท่าไร เลื่อนตำแหน่งดีหรือไม่ ย้ายแผนกไปทำงานแบบอื่นน่าจะดีกว่า หรือให้อยู่อย่างเดิม รับเงินเท่าเดิม เพราะประเมินแล้วได้ผลไม่น่าพึงพอใจ ช่วงเวลาแห่งการประเมินผล อาจเป็นช่วงเวลาที่สะท้อนคุณภาพของหัวหน้างานจำนวนไม่น้อย… ประเมินแบบเกรงใจ หัวหน้างานบางรายไม่กล้าประเมินตามความเป็นจริง ทั้งๆ ที่รู้ว่า ลูกน้องบางคนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดบ่อย เนื่องจากกลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน เกรงว่าลูกน้องจะไม่พอใจ และจะยิ่งไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน จึงต้องประเมินให้ทั้งคนที่ทำงานดีและทำงานไม่ค่อยดีเท่าเทียมกัน– ( 58 Views)