magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pensiri (Page 26)
formats

ดาว เคมิคอล (ประเทศไทย) เปิดตัวโครงการ ห้องเรียนเคมีดาว

กลุ่มบริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย ร่วมกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ และจังหวัดระยอง เปิดตัวโครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” เน้นการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการทดลองเคมี เพื่อเพิ่มประสบการณ์และศักยภาพนักเรียน โดยเริ่มที่จังหวัดระยองเป็นแห่งแรก บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับ สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18   และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ระยอง  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือโครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” (DOW Chemistry Class) ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดเทคนิคการสอนปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนแก่ครูวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการทดลองเคมีในโรงเรียน ให้นักเรียนปฏิบัติได้จริงอย่างปลอดภัยและเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง  อันจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต – ( 90 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

TEIN เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการวิจัยข้ามทวีป

เปิดตัวในวงการวิจัยไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากับโครงการ TEIN 4 (เทียน 4) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาวิจัยด้วยวงจรความเร็วสูงระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและความร่วมมือในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลุ่มประเทศยุโรป ดร.เฉลิมพล ชาญศรีภิญโญŽ ผู้เชี่ยวชาญวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) บอกว่า โครงการ  TEIN เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 โดยเริ่มจากการเชื่อมต่อระหว่างประเทศเกาหลีและฝรั่งเศส ก่อนขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งดำเนินงานมาจนถึงโครงการ  TEIN 4 ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว โดยเป็นการเข้าร่วมในโครงการ TEIN 2 ซึ่งไทยเข้าร่วมภายใต้ชื่อเครือข่ายว่า Thai REN (ไทยเรน) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเครือข่ายThaiSarn(ไทยสาน)ของเนคเทค และเครือข่าย UniNet (ยูนิเน็ต) ของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วารสารวิชาการปลอมระบาดหลอกนักวิจัย

ศ.กิตติคุณดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากการทำงานวิจัยของนักวิชาการที่จำเป็นต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการเพื่อใช้ประกอบคำขอวิทยฐานะส่งผลให้ขณะนี้เกิดมีการจัดทำวารสารวิชาการปลอมโดยกลุ่มมิจฉาชีพซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติล่าสุดตรวจสอบพบแล้ว 3 วารสารเป็นวารสารออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อเรียกรับค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความจากกลุ่มนักวิชาการซึ่งวารสารปลอมดังกล่าวมีข้อสังเกตได้หลายจุด เช่น กำหนดออกของวารสารไม่มีความแน่นอนและขาดความต่อเนื่องโดยวารสารเดียวกันบางฉบับมีหลายบทความแต่บางฉบับมี 1-2 บทความรวมถึงเนื้อหาสาระในทางวิชาการไม่ชัดเจน ที่สำคัญขาดการวิจารณ์เชิงคุณภาพจากบุคคลในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือ เพียร์รีวิว (Peer review) เป็นต้น จึงไม่ใช่วารสารวิชาการที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ตนจึงอยากแจ้งเตือนให้กลุ่มนักวิชาการรับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งจากการตรวจสอบโดยผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องพบว่านักวิจัยบางส่วนถูกหลอกให้เผยแพร่ผลงานวิชาการผ่านวารสารในกลุ่มนี้ขณะที่นักวิจัยส่วนหนึ่งตั้งใจหรือทำไปทั้งที่รู้เพราะเงื่อนไขของการทำงานวิจัยจะต้องมีการเผยแพร่เพื่อนำผลงานมาใช้ในการประเมินตำแหน่งทางวิชาการอย่างไรก็ตามหากมีการตรวจสอบภายหลังพบว่าผลงานวิจัยที่นำมาเผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการที่เชื่อถือไม่ได้ก็จะต้องมีการถอนตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์เจ้าของงานวิจัยนั้นๆ ด้วย “ขณะนี้ในวงการงานวิจัยมีจำนวนมากพอสมควรที่คิดว่าตัวเองเป็นนักวิจัยแล้ว คือทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งก็คิดว่าเป็นนักวิจัยแล้ว ทั้งที่ไม่ได้มีองค์ประกอบแค่นั้นดังนั้นเวลาพิจารณาหางานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เผยแพร่จึงไม่ค่อยมี เพราะส่วนใหญ่ยังไม่เหมาะที่จะตีพิมพ์ได้เนื่องจากยังดีไม่ถึงระดับที่สมควร นอกจากนี้สาเหตุที่งานวิชาการมีการเผยแพร่น้อยบางครั้งก็เป็นเพราะนักวิจัย อายหรือไม่กล้าที่จะเผยแพร่เนื่องจากรู้ว่างานของตัวเองยังด้อยคุณภาพอาจทำ ให้ผู้ที่รู้จริงโต้แย้งก็เป็นได้” ศ.กิตติคุณดร.เทียนฉาย กล่าว. รายการอ้างอิง : 2556. วารสารวิชาการปลอมระบาดหลอกนักวิจัย. กรุงเทพฯ : เดลินิวส์. ออนไลน์. สืบค้นทางอินเทอร์เน็ต. http://www.dailynews.co.th/Content/education/200621/วารสารวิชาการปลอมระบาดหลอกนักวิจัย. สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม.– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุทยานฯไทย…ที่ไหนดี?

เมื่อไม่นานมานี้ เว็บไซต์ท่องเที่ยว ทริปแอดไวเซอร์ เผย 10 อันดับ อุทยานแห่งชาติในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ปรากฎว่าสองอันดับแรกมีทั้งป่าเขาและท้องทะเล โดย อันดับ 1 ได้แก่ อ่าวพังงา อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีชื่อเสียงด้านวิวทิวทัศน์อันงดงามด้วยหาดทรายขาวและน้ำทะเลที่ใส กอปรกับมีภูเขาหินปูนแทรกโผล่เป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพที่ระลึกได้ทุกมุม นักท่องเที่ยวรายหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอ่าวพังงาว่า “ไม่สามารถหาคำพูดมาบรรยายความงดงามของหมู่เกาะแถบนี้ได้ ทิวทัศน์ที่สวยงามของหน้าผาหินปูนที่ผงาดเหนือท้องทะเลสีมรกตเป็นภาพที่จับใจมาก” – ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ริดสีดวง โรคยอดฮิตติดลมบน

ช่วงนี้กระแสการเมืองเข้มข้น ทำเอาคนไข้หมอหลายคนมีอาการโรคที่มากับความเครียดนี้มาให้ช่วยแก้ เช่น อาการนอนไม่หลับ พักผ่อนน้อย จากการติดตามกระแสข่าวต่างๆ หมอแนะนำให้แบ่งเวลาพักผ่อนนอนหลับแต่หัวค่ำบ้างเพื่อชดเชยช่วงที่นอนดึก ใจไหวแต่ร่างกายไม่ตามไปด้วยก็จะทำให้ใจอ่อนแอตามมานะคะ หมั่นดูแลคนใกล้ตัวด้วยค่ะ ด้วยความรักและห่วงใยคนไข้ทุกคน ทุกๆวัน หมอจะมีคนไข้แวะเวียนมาด้วยโรคสามัญประจำบ้าน ไม่ว่าจะเป็น หวัด ไข้ ไอ หอบ ไปจนถึงโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อที่ต้องมีการปรับสมดุลเช่น เบาหวาน ความดัน นอนไม่หลับ ไทรอยด์ ไขมันสูง สิวอ้วน มาให้ แก้อยู่เสมอ แต่มาวันนี้เจออีกปัญหาที่แตกต่างจากทุกครั้ง– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘ปลั๊กพ่วง’ ภัยร้ายใกล้ตัว

กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เตือนประชาชนให้ระวังการใช้ปลั๊กพ่วง เนื่องจากคุณภาพของสายพ่วงที่มีเต้ารับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ นั้นมาตรฐานของอุปกรณ์ก็ไม่ช่วยให้ปลอดภัยได้100% อันตรายจากการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจากวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน หรือร้ายแรงที่สุดก็อาจลุกลามไปจนถึงอันตรายต่อชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง นางสาวเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ประชาชนควรตื่นตัวระวังอันตรายจากปลั๊กพ่วง ซึ่งปัจจุบันกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าที่ย่อมเยาว์สามารถใช้เป็นจุดขายเสนอให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจซื้อได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ สิ่งที่ผู้บริโภคนึกถึงคือการอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลายชนิดในคราวเดียวกัน นอกจากผู้บริโภคต้องตรวจสอบคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานแล้ว การตรวจสอบคุณภาพของ สายพ่วงที่มีเต้ารับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ นั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินหรือชีวิตของผู้ใช้งานได้ – ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ใบชา” อาหารคาว

คุ้นเคยแต่เครื่องดื่มชา และขนมหวานที่มีส่วนผสมของชา แต่ครั้งนี้ ชาจะขออัพเกรดตัวเอง ปรุงรสขม-หอม ยวนใจในเครื่องอาหารคาว เปลี่ยนทัศนคติและความคุ้นชินไปสิ้นเชิง เมื่อรู้ว่า บั๊กแอนด์บี (Bug & Bee) ร้านอาหารฟิวชั่นฟู้ด ขอนำเสนอประสบการณ์ใหม่ด้วย “ที ไดนิ่ง” เมนูอาหารชวนน้ำลายสอที่มีส่วนผสมพิเศษ คือใบชาทั้ง เอิร์ล เกรย์ ดาร์จิลิง และชาเขียว พวกมันพร้อมแปลงร่างเป็นอาหารคาว และของหวานให้นักชิมจดจำไม่รู้ลืม “มันเป็นความคิดสร้างสรรค์บนแนวความคิดที่สนุกและผ่อนคลาย สบาย แต่มีความสุข เราค้นพบว่าวัตถุดิบอย่าง ชา สามารถนำมาใส่ในอาหารคาวได้ ซึ่งปกติแล้วมักจะทำเป็นเครื่องดื่มหรือเป็นส่วนประกอบในขนมมากกว่า เชฟของเราจึงพยายามทดลองนำชาชนิดต่างๆมาปรุงใส่ในเมนู จนกระทั่งได้รสชาติที่กลมกล่อม และกลิ่นหอมละมุน” รสริน เจ้าหน้าที่การตลาดของร้าน เล่าที่มาให้ฟัง – ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กินมื้อดึกทำให้อ้วนจริงหรือ?

ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ทำให้ผู้คนในเมืองต้องใช้ชีวิตเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีเวลากระทั่งเลือกสรรอาหารการกินที่เหมาะสม คนจำนวนมากจึงใช้ชีวิตให้ผ่านพ้นไปแต่ละวันด้วยการกินอาหารเพียงน้อยนิด เริ่มต้นวันด้วยกาแฟหนึ่งแก้ว มื้อกลางวันก็นั่งกินหน้าคอมพิวเตอร์หรือบนรถระหว่างทางไปประชุม และพอหัวถึงหมอนในตอนค่ำก็หมดแรงเสียแล้ว สามัญสำนึกบอกเราว่าการกินตอนกลางคืนทำให้อ้วน แต่ความเชื่อนี้เป็นจริงหรือ? ปัญหาก็คือเมื่อมีจังหวะชีวิตแบบนี้ เราจะรักษาสมดุลระหว่างชีวิตที่เร่งรีบตลอดวันกับอาหารการกินที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างไร– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อะไรคือ “ธาตุหายาก”

นักวิจัยออกมาเตือนว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่พึ่งพาโลหะและธาตุกึ่งโลหะรวมทั้ง “ธาตุหายาก” ถึง 62 ชนิด โดยที่ยังหาวัสดุอื่นทดแทนไม่ได้ ทำให้เกิดความกังวลว่านวัตกรรมในอนาคตจะถดถอย และเป็นโจทย์ให้นักวิทยาศาสตร์ต้องพัฒนาวัสดุทดแทนจากสิ่งที่มีอยู่เหลือเฝือและหาได้ง่ายแทน (อ่านเพิ่มเติม – สมาร์ทโฟนต้องใช้ “ธาตุหายาก” ถึง 62 ชนิด โดยไม่มีวัสดุอื่นทดแทน ) หลายคนอาจสงสัยว่า “ธาตุหายาก” (Rare earth element) คืออะไร? ต้องดั้นด้นไปค้นหาที่ใดบ้าง? หายากกว่าเพชรหรือไม่? ตามนิยามของ สหพันธ์เคมีบริสุทธิ์และประยุกต์สากล (International Union of Pure and Applied Chemistry) หรือ IUPAC ธาตุหายากเป็นธาตุโลหะ 17 ตัวในตารางธาตุ คือ สแกนเดียม (Scandium) อิทเทรียม (Yttrium) และธาตุในอนุกรมแลนทาไนด์ (Lanthanide Series) 15 ตัว ได้แก่ แลนทานัม (Lanthanhanum) ซีเรียม (Cerium) พราซีโอดิเมียม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แฮชเทค #WeloveKingTh อันดับ 1 บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก

วันนี้ (5 ธ.ค.) เวลา 14.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ได้มีการเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ส่วนตัว และอัพภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อในหลวง และในเช้าวันที่ 5 ธ.ค.ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ ที่คนไทยจะทำความดีถวายแด่ในหลวงในลักษณะแตกต่างกันไป แต่บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก สิ่งที่นิยมที่สุดคือการแสดงความรักผ่านสังคมออนไลน์ นายชีพ ธรรม ไตร คำวิเศษ ผู้อำนวยการหลักสูตรโซเชียลมีเดีย กล่าวว่า หากจะนับว่าจำนวนประชาชนทั่วโลกมีการอัพรูปภาพ และแสดงความรักต่อในหลวงจำนวนเท่าไหร่นั้น คงไม่สามารถนับได้ เพราะบางคนอาจมีการอัพโหลดในหลายๆ ภาพและหลายข้อความในวันเดียว แต่ในส่วนของการนับจำนวนการติดแฮชเทค (#hashtag) ยังพอจะคำนวนได้ – ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments