ขอแสดงความยินดี กับทีมนักวิจัยจาก TMEC นำทีมโดย ดร.อัมพร โพธิ์ใย นักวิจัยอาวุโสที่ผลงาน “เซ็นเซอร์ อัจฉริยะวัดความชื้นและอุณหภูมิในอากาศและบนดินที่มีความไวสูง” ได้รับรางวัลเหรียญทองจากงาน “Seoul International Invention Fair (SIIF) 2012” เมื่อวันที่ 29 พ.ย – 2 ธ.ค 55 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ดูรายละเอียดที่ รายการอ้างอิง : ผู้บริหาร สวทช. แสดงความยินดีกับทีมนักวิจัย TMEC ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในระดับนานาชาติ. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). วันที่ 20 มิถุนายน 2556.– ( 64 Views)
จิสด้าเปิดบริการข้อมูลเตือนภัยทางทะเลผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือ
จิสด้า เร่งพัฒนาระบบเรดาร์ชายฝั่งเพื่อการเตือนภัยทางบกและทางทะเล คาดแล้วเสร็จครบ 18 สถานีภายในสิ้นปีนี้พร้อมให้บริการข้อมูลความเคลื่อนไหวทางทะเลผ่านเว็บไซต์และแอพบนมือถือทั้งระบบไอโอเอสและแอนดรอยด์ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า กระทรวงวิทย์ฯ ได้มอบหมายให้จิสด้า ดำเนินโครงการพัฒนาระบบเรดาร์ชายฝั่ง เพื่อการเตือนภัยทางบกและทางทะเลขึ้น โดยได้ดำเนินงานติดตั้งระบบเรดาร์ชายฝั่ง สำหรับตรวจวัดกระแสน้ำและคลื่นในลักษณะเรียลไทม์ เพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดการภัยพิบัติ และจัดการพื้นที่ชายฝั่ง รวม 18 จุด ครอบคลุมพื้นที่ 1 หมื่นตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน และพื้นที่เศรษฐกิจ – ( 53 Views)
นวัตกรรมคลิกไลค์
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เปิดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงพาณิชย์ในหัวข้อ Best Practices Sharing : R&D Commercialization โดย “ปูนซิเมนต์ไทย-ซิลิคอนคราฟท์” 2 หน่วยงานที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาออกสู่ตลาด หวังกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเอกชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเกิดแรงบันดาลใจนำกลับไปพัฒนาองค์กรหรือธุรกิจให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต “ปูนซิเมนต์ไทย” ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจากการทำวิจัยและพัฒนา ในผลงานนวัตกรรมปูนซีเมนต์สูตรถนอมเครื่องจักร (Soil Improvement Cement) ขณะที่บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ออกแบบวงจรไอซีและหนึ่งเดียวในภูมิภาคกับความสำเร็จในการพัฒนา วิจัยและออกแบบไมโครชิป RFID กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น 3 เท่าและเติบโตเป็น 2 เท่าใน 1 ปี– ( 55 Views)
ซิป้านำร่องสร้างมาตรฐานซอฟต์แวร์เพื่ออัญมณีไทย
ซิป้าจับมือสมาคมซอฟต์แวร์รุกตลาดอัญมณี ทำมาตรฐานกลางซอฟต์แวร์เชื่อมต่อข้อมูลทั้งระบบผ่านออนไลน์ หวังลดต้นทุน ประเดิม 4 ซอฟต์แวร์ใช้ฟรี 1 ปี นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือซิป้า เปิดเผยว่า ซิป้าร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) จัดทำโครงการระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางอัญมณีโลก ซึ่งจะมีการจัดทำมาตรฐานกระบวนการทำงานซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนด้านซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมดังกล่าว – ( 38 Views)
สุขภาพดีสวมใส่ได้
‘ดร.อดิสร’พาไปทำความรู้จัก Wearable Health หรืออุปกรณ์ดูแลสุขภาพแบบสวมใส่ ออกแบบมาเพื่้อเอาใจคนรักสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง Wearable Technology หรือเทคโนโลยีสวมใส่อย่าง Google Glass หรือ iWatch จะได้รับการกล่าวขานกันว่าจะเป็น The Next Big Thing ของเทคโนโลยีในปีนี้ และจะมีมูลค่าการตลาดโตจากปัจจุบันประมาณ 3-5 พันล้านเหรียญดอลลาร์ไปเป็น 5 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯในอีก 5 ปีข้างหน้าอย่างที่กล่าวถึงเมื่อครั้งที่แล้ว มันจะเป็นไปwม่ได้เลยถ้ามันจะเป็นแค่เป็น Gadget เพื่อความบันเทิงหรือ social network อย่างเดียว อีกหนึ่งการใช้งานที่คาดว่า เทคโนโลยีสวมใส่ได้จะนำมาใช้งานจริงและเป็นที่นิยมในปีนี้ นั่นคือ Wearable Health หรือ อุปกรณ์ดูแลสุขภาพแบบสวมใส่ได้นั่นเอง ในอดีตแนวคิดเรื่องเทคโนโลยีระบบสำหรับการติดตามสุขภาวะ (Health Monitoring Systems) ส่วนบุคคลนั้นมีมานานแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย เนื่องจากยังต้องใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ขนาดเล็ก– ( 170 Views)
ภูเขาฟูจิเข้าทำเนียบมรดกโลก
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ว่า องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)ระบุว่า ภูเขาฟูจิของญี่ปุ่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยภูเขาฟูจิ ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดในญี่ปุ่นที่ระดับความสูง 3,776 เมตร และเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ สัญลักษณ์ยอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินและกวี อีกทั้งเป็นเป้าหมายของนักเดินทางท่องเที่ยวมานานหลายศตวรรษแล้ว รายการอ้างอิง : ภูเขาฟูจิเข้าทำเนียบมรดกโลก. เดลินิวส์ (ไอที). วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2556.– ( 32 Views)
ผอ.สวทช ชี้ต้องสอนเด็กไทยเล่นเน็ตอย่างรู้เท่าทัน
วันนี้ (20 มิ.ย.) ที่งานเสวนาวิชาการ หัวข้อ อินเทอร์เน็ต “พลังแห่งการสร้างสรรค์” เป็นส่วนหนึ่งของงาน INET Bangkok 2013 จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มูลนิธิ The Internet Society (ISOC) และหน่วยงานพันธมิตร ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. เผยว่า ปัจจุบันเราสามารถสื่อสารในรูปแบบของเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว การประชุมทางไกล การกระจายเสียง ผ่านอินเตอร์เน็ต ทุกคนสามารถเข้าถึงและนำไปต่อยอดได้โดยมีค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่การจะนำไปใช้ในด้านดีหรือไม่ดีนั้น ทุกคนต้องช่วยกันผลักดันให้มีการส่งเสริมให้เด็กไทยใช้อินเตอร์เน็ตอย่างรู้ เท่าทัน และมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนในอนาคตควรให้มีการใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง อย่างมั่นคงทุกภาคส่วน ด้าน น.ส.ดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหารอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย กล่าวเสริมว่าพลังแห่งการสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นจริงเมื่อสังคมเปิด ผู้ใช้ควรมีโอกาสแสดงความเห็นโดยไม่มีข้อจำกัด อินเตอร์เน็ตมีพลังทั้งด้านบวกและลบ ภัยจากสังคมไซเบอร์เป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ ประเทศไทยควรมุ่งเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ก้าวไปข้างหน้าได้เร็วที่ สุด อย่ามัวปิดกั้นเพราะอยากป้องกันปัญหามากนัก. รายการอ้างอิง :
ก.วิทย์ ชวนชมพระจันทร์โตที่สุดในรอบปี 23 มิ.ย. นี้
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มิถุนายน 2556 เวลาประมาณ 18:11 น. ตามเวลาในประเทศไทย คนบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ประมาณ 2-3% เนื่องจากเป็นวันที่ดวงจันทร์โคจรมาเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปีที่ระยะห่าง 356,989 กิโลเมตร และเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงพอดี ทั้งนี้ตามปกติแล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกเป็นรูปวงรีจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก 1 รอบ ใช้ระยะเวลา 1เดือน ดังนั้นในทุกๆ เดือน จะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ไกลโลกและดวงจันทร์ใกล้โลก ช่วงของวงโคจรที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างประมาณ 356,000 กิโลเมตร ส่วนช่วงของวงโคจรที่ห่างจากโลกมากที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างประมาณ 407,000 กิโลเมตร – ( 122 Views)
โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9: Facts & Future
การต่อสู้เชื้อไวรัส H7N9 โดยใช้บทเรียนจากการศึกษาไวรัส H5N1 ของ Asia Partnership on Emerging Infectious Diseases Research (APEIR) การระบาดล่าสุดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการนำบทเรียนของการศึกษาวิจัยจาก APEIR ที่ศึกษาไข้หวัดนก H5N1 มาประยุกต์ใช้และ APEIR ได้พัฒนาข้อเสนอสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่สอดคล้องมากกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H7N9 ในปัจจุบัน คณะนักวิจัยได้ศึกษาประสิทธิผลของมาตรการการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก H5N1 พบว่า การดำเนินการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มที่ทำการศึกษาส่วนมากยังคงมีข้อบกพร่องร้ายแรง เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H7N9 เข้ามาในฟาร์มได้รวมทั้งไม่สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์ปีกติดเชื้อ ไม่เพียงแต่ฟาร์มขนาเล็กเท่านั้น เพราะแม้แต่ฟาร์มขนาดใหญ่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพเช่นกัน APEIR เป็นเครือข่ายการวิจัยโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำเพียงแห่งเดียวในเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย 30 สถาบัน จาก 6 ประเทศ (กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทยและเวียตนาม) เครือข่ายความร่วมมือนี้ดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ผลการศึกษาวิจัยภายใต้การดำเนินงานของ APEIR ทำให้เกิดองค์ความรู้มากมาย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะปรับใช้ผลการวิจัยที่มีอยู่เพื่อลดผลกระทบและป้องกันการเกิดโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ H7N9 ที่สำคัญ APEIR
รู้เท่าทันภัยธรรมชาติโดมความร้อน-ฟ้าผ่า
รับอาสาถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่มาพร้อมกับหน้าฝน โดยเฉพาะในอีกหลากหลายแง่มุมของกระแสข่าวเรื่อง “ปรากฏการณ์โดมความร้อนครอบคลุมกรุงเทพมหานคร” จนเป็นเหตุให้กรุงเทพฯ มีฝนตกหนักมากขึ้น สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวกรุงได้ไม่น้อยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ไม่ใช่…ไม่ตระหนัก เพียงแต่ไม่ควรตระหนกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น… เพราะเรื่องนี้ “ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์” อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า เกิดขึ้นมานานแล้วกว่า 20 ปี – ( 37 Views)