เริ่มต้นการอ่าน (อีกครั้ง) โดย ศรีดา ตันทะอธิพานิช ปกติดิฉันไม่ใช่คนชอบเขียนอะไรแนวนี้ และไม่เคยเขียนมาก่อน แต่ที่ดิฉันเขียนเรื่องนี้ก็เนื่องจากมีพี่ที่รักนับถือคนหนึ่งบอกว่าไหนๆ ก็อ่านหนังสือจบเล่มหนึ่งแล้วก็เขียนสรุปออกมาหน่อยว่าได้อะไรมาบ้าง ชอบอะไรในหนังสือเล่มนี้บ้าง เผื่อจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการแนะนำหนังสือดีๆ หรือเป็นแรงบันดาลใจให้คนไม่ชอบอ่านหนังสือได้เริ่มคิดที่จะอ่านหนังสือบ้าง– ( 64 Views)
Collection Analysis (ตอนที่ 2)
วิธีการวัดหรือวิเคราะห์เพื่อประเมินทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด เพื่อประโยชน์ในการจัดหาทรัพยากร การต่ออายุ หรือการตัดสินใจเลิกซื้อ หรือเลิกการบอกรับวารสาร ฐานข้อมูลออนไลน์ ฯลฯ ห้องสมุดอาจมีวิธีการวัดเพื่อประเมินทรัพยากรอยู่แล้ว แต่การวัดโดยการรวมวิธีหรือเครื่องมือใหม่เข้ามานี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมทั้ง หมดได้ดี ไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีประสิทธิภาพขึ้น แต่สามารถจัดหาได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น และช่วยให้ห้องสมุดประหยัดเงินและเวลาอีกด้วย เบเกอร์ และแลนแคสเตอร์ (Baker and Lancaster อ้างถึงใน Crawley-Low, Jill V. : 2002) ได้ชี้แนะ 2 วิธีพื้นฐานในการประเมินทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ อ่านรายละเอียด– ( 57 Views)
ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP)
ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) คือ กลุ่มของคนซึ่งมาแลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหา หรือความสนใจในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง และ เรียนรู้วิธีการเพื่อให้สามารถปฏิบัติหรือทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นการแลกเปลี่ยน และสร้างทักษะ สร้างความรู้ และความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้นในกลุ่ม บ่อยครั้งที่เน้นในการแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practices) ชุมชนนักปฏิบัติได้กลายเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากทุกวันนี้ องค์กร กลุ่มทำงาน ทีมงาน และแม้แต่ตัวบุคคลเอง ต้องทำงานร่วมกันในแนวทางใหม่ ความร่วมมือข้ามองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ ชุมชนนักปฏิบัติจึงเป็นรูปแบบใหม่สำหรับการเชื่อมโยงคนที่มีจิตใจในการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและถือว่าเป็นการพัฒนาองค์กร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 31 Views)
การทบทวนหลังทำงาน หรือหลังปฏิบัติ หรือหลังกิจกรรม (After Action Review-AAR)
เป็นการทบทวนหรือเป็นกระบวนการเพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดเหตุอะไร สาเหตุของการเกิด และจะสามารถดำเนินการให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร โดยเอาบทเรียนจากความสำเร็จและความล้มเหลวของการทำงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาหรือการปรับปรุงการทำงาน การทำ AAR เป็นรูปแบบของกลุ่มทำงานที่สะท้อน ความมีส่วนร่วมในการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สาเหตุของการเกิดและสิ่งที่ได้เรียนรู้คืออะไร การทำ AAR เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อสะท้อนถึงการทำงานโดยการจำแนกถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ต้องปรับปรุง การทำ AAR มักจะใช้ 4 คำถาม คือ สิ่งที่คาดว่าจะได้จากการทำงาน คืออะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร สิ่งที่แตกต่างและทำไมจึงแตกต่าง สิ่งที่ต้องแก้ไข คืออะไร และจะปรับปรุงได้อย่างไร อ่านต่อ – ( 147 Views)
6 ฮีโร่ ผู้ดูแลหัวใจคุณ
องค์การอนามัยโลกจัดให้โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคเฝ้าระวัง ในปี พ.ศ. 2554 คนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ปีละ 17 ล้านคน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 22 ล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทยจากสถิติล่าสุดพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดชั่วโมงละ 2 คน จึงควรดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง โดยฮีโร่ 6 ตัว ผู้ดูแลหัวใจคุณ ได้แก่ น้ำมันปลา กระเทียม ชาเขียว วิตามินบีคอมเพล็กซ์ เลซิติน โคเอนไซม์คิวเท็น ติดตามข้อมูลโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ที่ http://m.youtube.com/watch?v=thB1t5Jxuck&desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3DthB1t5Jxuc โดย แอมเวย์ เพียง 10 นาที เป็น info graphic ที่ดีมากๆ รายการอ้างอิง: nutrilitethai. (เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2557). 6 ฮีโร่ ผู้ดูแลหัวใจคุณ Info
มุมสวย ไอเดียเก๋ สุดเลิศ และน่าทึ่ง ของห้องสมุด
ขอนำเสนอการจัดห้องสมุดในหลายๆ ด้าน เพื่อเป็นไอเดียค่ะ ประกอบด้วย ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ 10 แห่งที่สวยที่สุดในโลก ห้องสมุดนอกสถานที่ (outdoor library) และร้านขายหนังสือที่น่าทึ่ง 20 แห่งทั่วโลก ห้องสมุดที่ดูน่าสนุกสนาน เก้าอี้เก๋ๆ ในห้องสมุด ห้องอ่าน สุดเลิศ ชมภาพแต่ละแห่งได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/5051-lovely-library.html – ( 36 Views)
Collection Analysis (ตอนที่ 1)
คำว่า “Collection” เป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ รวมทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดจัดหาให้บริการ ห้องสมุดมักจะมีการแบ่งทรัพยากรสารสนเทศออกเป็นหลายๆ Collection และหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะมีการแบ่งเป็นกี่ Collection ก็ตาม ห้องสมุดก็ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น พร้อมๆ กับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง – ( 73 Views)
อุปกรณ์ช่วยการเดินติดขัด
วิธีการและอุปกรณ์ที่ช่วยให้การเดินของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินไม่ปรกติ: ลองคิดดูว่า ถ้าขาคุณขยับเดินไม่ได้ จะรู้สึกอย่างไร มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันมักจะต้องพบกับอาการเดินติดขัด (Freezing of Gait หรือ FOG) ซึ่งจะทำให้ล้มและเกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงได้ อาการดังกล่าว ผู้ป่วยบางคนบอกว่า เหมือนกับมีกาวติดอยู่ที่พื้น การรักษาในปัจจุบันยังไม่ได้ผลมากนัก Emil Javanov ศาสตราจารย์ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมไฟฟ้า แห่งมหาวิทยาลัยอัลบามา ที่ฮันส์วิลล์ และทีมงาน จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ที่จะบรรเทาอาการเดินติดขัดด้วยเซ็นเซอร์ สิทธิบัตรหมายเลข 8,409,116 ให้ข้อมูลถึงการทำงานของอุปกรณ์นี้ว่า อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ตัวเซ็นเซอร์การเดิน (หมายเลข 10) ที่ติดอยู่กับตัวผู้ป่วย (หมายเลข 12) ตัวเซ็นเซอร์ฝังไว้ในรองเท้าหรือติดกับหัวเข่า เซ็นเซอร์นี้ทำหน้าที่เป็นตัวนำทำจากพลาสติก ไฟเบอร์ หนังสือ หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม ตัวนำนี้จะถูกติดด้วยคลิป หรือเข็ม หรือ velcro tape กับรองเท้า ตรงเอวของผู้ป่วยหรือตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมจะเป็นส่วนที่ติดตัวรับ (หมายเลข 14) ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย และติดอยู่ที่หูของผู้ป่วย ตัวเซ็นเซอร์การเดิน (หมายเลข 10) จับได้ว่าเกิดอาการเดินติดขัด จะส่งผ่านสัญญาณไร้สายไปยังหมายเลข
บรรณารักษ์ และห้องสมุดในภาพยนตร์กว่า 100 เรื่องของฮอลลีวูด
ที่เขียนเรื่องนี้ เพราะเกิดแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง A Beautiful Mind แต่ก่อนหน้านั้น ก็มีเรื่อง Lorenzo’s Oil หรือน้ำมันลอเรนโซ ที่ชอบมากๆ เพราะ Lorenzo’s Oil ฉายให้เห็นการค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดอย่างหนัก เพื่อให้ได้ข้อมูลการรักษาโรคของลูกชายวัย 5 ขวบ ที่เป็นโรค ALD (adrenoleukodystrophy) ที่รักษายาก และจะตายในอีก 1-2 ปี หลังจากที่พบว่าเป็น เห็นบทบาทของบรรณารักษ์และฉากการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งหาข้อมูลวิชาการเยอะ มากของกับพ่อแม่ของลอเรนโซ (อ่านบทวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loveinthesky&group=2 และ http://www.gotoknow.org/posts/162860) ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่– ( 52 Views)