magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by supaporn (Page 2)
formats

เก่งได้…ไร้ขีดจำกัด

วันนี้ (1 เมษายน 2557) ได้ฟัง ดร. ต่าย หรือ นิศรา การุณอุทัยศิริ เรื่อง เก่งได้…ไร้ขีดจำกัด ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 สวทช. หรือ NAC2014 โดยในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อหลัก “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”  ดร. ต่ายใช้เวลาเล่าให้ฟังแบบสนุก แต่ได้สาระ แม้ว่าเราจะไม่ใช่กลุ่มผู้ปกครองที่อยากรู้เคล็ดลับ เพื่อจะได้ดูแลลูกหรือเด็กๆ หรือผลักดันให้เก่งอย่าง ดร. ต่าย แต่เราไปฟัง เพราะเกิดศรัทธาในความคิดจากการเคยฟังเรื่องการอ่าน ที่ ดร. ต่ายมาพูดให้ฟังถึงความสำคัญของการอ่าน เพื่อสนับสนุนโครงการอ่านล้านเล่ม ในงาน NSTDA Charity Day ที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ ศรัทธาความคิดของ ดร. ต่าย อย่างไรนั้น คงต้องเคารพการเลี้ยงดูและการปลูกฝังความคิดจากครอบครัวของ ดร. ต่าย เพราะ ดร. ต่าย ระลึกอยู่เสมอว่า คุณพ่อและคุณแม่ เป็นข้าราชการ ได้เรียนในโรงเรียนรัฐบาล

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Note taker (ผู้ทำหน้าที่จดบันทึก)

Note taker  หรือ ผู้จดบันทึก ในแง่ของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นั้น เป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะต้องทำหน้าที่ในการจดบันทึกข้อมูลและความรู้จากการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ สรุปบทเรียน ถอดบทเรียน สิ่งที่จดบันทึกนั้น เป็นข้อมูลและองค์ความรู้ที่สำคัญยิ่งที่ได้รับจากการแบ่งปันของสมาชิกใน กลุ่มที่ร่วมกิจกรรม ผู้ที่ทำหน้าที่ Note taker ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Deep listening) จับประเด็นความรู้ที่เป็นความรู้ปฏิบัติ มีความรู้ ความเข้าใจในสาระของเรื่องที่จดบันทึก ซึ่งผู้ที่เป็น Note taker ควรจะเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มนั้น หรือเป็นคนในกลุ่มเดียวกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ เพราะจะได้เข้าใจและใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสารที่ตรงกับกลุ่มได้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสะท้อนประเด็นที่ต้องการได้ จดบันทึกโดยคงภาษาหรือคำพูดเดิมของผู้เล่าได้ เพื่อไม่ให้ความหมายผิดเพี้ยน ไม่ต่อเติมเสริมแต่งหรือข้อความหรือใส่ความคิดเห็นของตนเอง เป็นผู้ที่สามารถหยุดหรือขัดจังหวะการเล่าเรื่องอย่างมีเทคนิค เพื่อสอบถามหรือตรวจทานความถูกต้องของประเด็นที่สกัดออกมาได้จากเรื่องเล่า แต่ละเรื่องของกลุ่ม รายการอ้างอิง ประศักดิ์ หอมสนิท อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. 2554. Facilitator/Note Taker และชุมชนนักปฏิบัติ. สืบค้นจาก http://km.feu.ac.th/download/ควาามรู้เรื่องชุมชนนักปฏิบัติ.pdf เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การทำเกษตรในระบบโรงเรือนและการบริหารจัดการแบบครบวงจร

ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส สวทช. ได้จัดการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทำเกษตรในระบบโรงเรือนและการบริหารจัดการแบบครบวงจร ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กับเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง จ. อุบลราชธานี สถานีความรู้แห่งแรก คือ สวนอีเดน เพื่อเรียนรู้รูปแบบการปลูกพืช ท้ังแบบไฮโดรโปนิกส์ แบบโรงเรือน และแบบขั้นบันได การวางระบบน้ำ และคลุมแปลงปลูกด้วยพลาสติกสีดำ เพื่อความสะดวกในการจัดการน้ำและวัชพืชในแปลงปลูก พืชที่ปลูก ได้แก่ ผักสลัด พืชผัก สมุนไพร ไม้ดอกและไม้ประดับ สถานีความรู้ถัดมา คือ บจก. สามเหลี่ยมเมล็ดพันธุ์ จ. ลำพูน เพื่อศึกษาเทคนิคการเก็บเมล็ดพันธุ์ เช่น ผักสลุด มะเขือเทศ เมล่อน พริก ถั่วพู ผักปลัง รวมทั้งให้คำแนะนำการปลูกเมล่อน ซึ่งมีรสชาติหวานกรอบ ทนต่อสภาพอากาศ ดูแลรักษาง่าย คล้ายกับการปลูกแตงไทย โดยปล่อยให้เถาเลื้อยไปตามพืน ไม่ต้องทำค้าง แต่ต้องยกพื้นแปลงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อป้องก้นน้ำท่วมขังราก เทคนิคการปลูกแอปเปิ้ลเมล่อนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ คือ อย่าให้ติดลูกใกล้ต้น ควรปล่อยให้เมล่อนติดลูกตั้งแต่ข้อที่ 10 ขึ้นไป เพื่อให้ผลเมล่อนไม่แตกก่อนการเก็บเกี่ยว

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Jenesys 2.0 โครงการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมแบบมองการณ์ไกลของญี่ปุ่น

Jenesys 2.0 เกิดขึ้นตามนโยบายของนายซินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในระหว่างการเยือนประเทศอินโดนีเซีย (16 มกราคม 2556) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว รวมถึงประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจอันดีถึงคุณค่าวัฒนธรรม และความเป็นประเทศญี่ปุ่น คณะทูตเยาวชนไทย 47 ชีวิตได้เดินทางจากประเทศไทยไปญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 26 มกราคม ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557  ในการเยือนพบกับความประทับใจในเรื่องความมีวินัยของคนญี่ปุ่น ทัศนคติเรื่องการทำเพื่อส่วนรวมก่อนเสมอ รวมทั้งประสบการณ์การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวญี่ปุ่นแบบ home stay ทำให้ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่าในตนเอง รู้คุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การทัศนศึกษาสถานที่ต่างๆ เช่น Tokyo Institute of Technology มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำของญี่ปุ่น ณ วิทยาเขต Ohokayama  ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟซินคันเซนของบริษัท JR East และบริษัท Michisaki เป็นโรงงานปลูกพืชที่ใช้เทคโนโลยี Nutriculture โดยใช้สารละลายธาตุอาหารพืช เพื่อฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่เคยประสบภัยสึนามิ ให้สามารถปลูกพืชประเภทต่างๆ ได้เช่น สตรอว์เบอรรี่ มะเขือเทศ ให้ได้พันธุ์ดี

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความไม่แน่นอนกับอนาคตของห้องสมุด

ความไม่แน่นอนกับอนาคตของห้องสมุด จาก บทความ เรื่อง Uncertainty and the future of libraries โดย Daniel W. Rasmus ผู้เขียน เป็นที่ปรึกษาและวางแผนการวางแผนกลยุทธ์อิสระ ที่ช่วยวางแผนอนาคตขององค์กร เป็นผู้วิจัยถึงอนาคตของธุรกิจและการศึกษาของบริษัทไมโครซอฟท์ ซิสโก และองค์กรชั้นนำอีกหลายแห่ง Rasmus สอนวิชา Social media และทางกลยุทธ์ที่ Bellevue College Rasmus ได้ตั้งเป็นคำถาม 11 ข้อ  ที่จะเกี่ยวกับอนาคตของห้องสมุดที่อาจจะหมดยุคไปเลย ทั้ง 11 ข้อ มีดังนี้ How will we access information? How will we represent books? How low, or how high, can computer memory go?

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไมสมองชอบกระดาษ

แปลตรงๆ จากบทความ Why the Brain Prefers Paper โดย Ferris Jabr ค่ะ จาก Scientific American, November 2013 เป็นบทความที่ผู้เขียนเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์การอ่านอิเล็กทรอนิกส์กับกระดาษหนังสือ ทำไมกระดาษจึงยังคงดีกว่าหน้าจอการอ่านจากอุปกรณ์เหล่านั้น แม้ว่าในทุกวันนี้เทคโนโลยีได้พัฒนาให้หน้าจอการอ่านเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้นแล้ว– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ทางวิชาการ

ด้วยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 127 ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาใช้วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ได้แก่– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection analysis (ตอนที่ 4)

WorldCat Collection Analysis (WCA) เป็นบริการหนึ่งของ OCLC หรือ Online Computer Library Center, Inc ซึ่งมีจำนวนสมาชิกเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ราว 75,000 แห่ง WorldCat Collection Analysis (WCA) คือ การวิเคราะห์ Collection ของห้องสมุด เพื่อจะได้ทราบจุดแข็ง และจุดอ่อนของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ของห้องสมุด เห็นความความโดดเด่น และซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศ และนำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างทรัพยากรสารสนเทศ ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ  และ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันระหว่างห้องสมุดในกลุ่มเดียวกัน  อ่านรายละเอ่ียด– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection Analysis (ตอนที่ 3)

ที่ผ่านมาห้องสมุดมักจะวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือประเมินทรัพยากร สารสนเทศ เพียงมุมมองในด้านการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยหลักสถิติเบื้องต้น เช่น การวิเคราะห์การหาผลรวม ค่าเฉลี่ย การหาจำนวนการจัดหาหนังสือในแต่ละหมวดแต่ละสาขา หรือของจำนวนการยืมและคืนหนังสือ อ่านต่อได้ที่นี่– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฟ้าสีทอง โดยคุณงามพรรณ เวชชาชีวะ

ทราบว่า คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ ออกหนังสือเล่มล่าสุดตั้งแต่ปลายปี 2556 แล้ว ตามหาอ่านเพราะติดตามงานของคุณงามพรรณ มาโดยตลอด เพราะติดใจในผลงานที่คุณงามพรรณ เล่าเรื่องด้วยความเรียบง่าย ไม่ซ้บซ้อน  แต่เพิ่งได้อ่าน “ฟ้าสีทอง” วันนี้เองค่ะ เรื่องฟ้าสีทอง เป็นเรื่องของคู่แฝด คือ “ปลาย” และ “ท้าย” เอาเหตุการณ์การเมืองเข้ามาเป็นตัวเดินเรื่องที่ทำให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวละคร โดยตลอด เห็นบุคคลที่ใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบธรรมกับคุณศราวุฒิ ตัวละครที่เป็นพ่อ เห็นความเสียสละของผู้เป็นแม่อย่างสูงสุด ที่รั้งตัวลูกชาย คือ ปลาย ที่มีความคิดทางการเมืองอย่างรุนแรง ไม่ให้เข้าไปยุ่งกับเหตุการณ์การเมืองในช่วงหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้กลับมาพบกับสามีอีกเลยก็ตาม เห็นความรักของครอบครัว เห็นความรักของพี่น้องฝาแฝดคู่นี้ เห็นพัฒนาการของตัวละครที่เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ — ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments