สรุปการบรรยายของ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เรื่อง จัดการความรู้อย่างไรที่ทำให้คนเบิกบานและงานเกิดประสิทธิผล วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ จัดการความรู้อย่างไรที่ทำให้คนเบิกบานและงานเกิดประสิทธิผล การทำ KM มีการดำเนินการมาระยะหนึ่ง มีทั้งได้ผล และไม่ได้ผล ที่ไม่ได้ผลนั้น เกิดจาก องค์กร มักจะทำ KM โดยวัดจำนวนกิจกรรมของการมีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge sharing) มีงานมหกรรม/ตลาดนัด KM ตามที่เขียนไว้ในแผนหรือไม่ มีจำนวน CoP (commnuvnity of Practice) เกิดขึ้น CoP? เป็นการมอง KM เชิง Event มอง KM เป็น activity – ( 235 Views)
นานาสาระเกี่ยวกับ AEC กับ EXIM Bank
ในเว็บไซต์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ AEC ในแง่ของการลงทุน การทำธุรกิจ การส่งสินค้ากับประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน บทความต่างๆ เหล่านี้ น่าสนใจมากทีเดียว เป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุนของไทย ในการเข้าสู่ถนน AECโดยเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ที่ http://www.exim.go.th/Newsinfo/aec.aspx?section_=77711844 นอกจากเว็บไซต์นี้แล้ว ท่านสามารถติดตามแหล่งสารสนเทศอาเซียนในแง่มุมอื่นๆ ได้ที่ http://stks.or.th/th/asean-resources.html และ http://nstda.or.th/asean/ – ( 112 Views)
การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หนังสือ เรื่อง “การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นี้ ด้วยการเขียนบทความวิจัยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การเขียนบทความวิจัยจึงเป็นทักษะมากกว่าความรู้เชิงทฤษฎี ท่านจะได้รับความรู้ทั้งหลักการเชิงทฤษฎีและประสบการณ์ของผู้เขียนจาก 15 บทความ ซึ่งประกอบด้วย การเขียนบทความวิจัย: หลักการและวิธีการ (โดย ยงยุทธ ยุทธวงศ์) ค่า Impact factor – ความสำคัญที่มีต่อบทความวิจัยระดับนานาชาติ (โดย รุจเรขา อัศวิษณุ) Journal Impact Factor ของวารสารวิชาการไทย (โดย ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ) การเขียนบทความวิจัย: เทคนิค/เคล็ดลับ (โดย ยอดหทัย เทพธรานนท์) แนวทางการเขียนรายงานเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์มุมมองของนักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (โดย อภิวัฒน์ มุทิรางกูร และสุทัศน์ ฟู่เจริญ) การเขียนบทความวิจัย: สาขาเภสัชศาสตร์ (โดย สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร) การเขียนบทความวิจัย: สาขาฟิสิกส์ (โดย สุทัศน์ ยกส้าน) การเขียนบทความวิจัย: สาขาคณิตศาสตร์ (โดย
ควรลงพิมพ์ หรือเป็นบรรณาธิการ ในวารสารที่เป็น Open Access หรือไม่
จากการประชุมวิชาการประจำปีของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ประจำปี 2556 ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน นั้น รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ วิทยากรท่านหนึ่ง ได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อเรื่อง ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access (สไลด์การบรรยายของอาจารย์สามารถติดตามได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/4134-predatory-publishers.html) ได้กรุณาส่งบทความเรื่อง Should I publish in, or be an editor for, an Open Access (OA) journal?: a brief guide (http://scitech.sla.org/pr-committee/oaguide/) มาให้เพิ่มเติมค่ะ เลยขอส่งต่อให้แฟนพันธุ์แท้ของ STKS และผู้ที่เข้าร่วมงานอ่านกันนะคะ ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านบทสรุปการบรรยายหัวข้อต่างๆ ของการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556 ได้ที่ http://stks.or.th/blog และติดตามสื่อนำสนอ (ที่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่) ได้ที่ http://stks.or.th/th/news/3686-annual-conference-2013.html– ( 84 Views)
คลังคำ ในบริบทการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ
คลังคำ ในบริบทการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Thesaurus in Information Storage and Retrieval Context โดย นฤมล ปราชญโยธิน จากหน้าคำนำ อาจารย์นฤมลได้จัดทำตำราเล่มนี้ขึ้น เพื่อประมวลองค์ความรู้อย่างรอบด้านเกี่ยวกับคลังคำ (thesaurus) ในบริบทการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ในฐานะที่เป็นภาษาดรรชนี ไม่ครอบคลุมองค์ความรู้เกี่ยวกับคลังคำในวงการภาษาและวรรณกรรม ถ้ามีคำเกี่ยวกับภาษาดรรชนี บรรณารักษ์หรือนักเอกสารสนเทศ คงจะทราบกันดีว่าภาษาดรรชนี คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรในกระบวนการจัดเก็บและค้นค้นสารสนเทศ น่าสนใจในการศึกษาองค์ความรู้ทางด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง เป็นตำราที่ได้รับการประเมินในระดับดีมาก ติดตามหาอ่านและศึกษาได้เลยค่ะ เพราะตำราภาษาไทยเกี่ยวกับธิซอรัสหรือคลังคำ และที่เน้นบริบทเกี่ยวกับวิชาชีพของบรรณารักษ์ และนักเอกสารสนเทศ นั้น เพิ่งเห็นเล่มนี้ค่ะ – ( 176 Views)
ตัวบ่งชี้ถาวรดิจิทัลกับการทำงานข้ามระบบ
เป็นเพราะทรัพย์สินดิจิทัลหรือสารสนเทศดิจิทัล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำให้การบ่งชี้ดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสงวนรักษา การบริหารจัดการ การเข้าถึงและการนำกลับมาใช้ใหม่ของจำนวนข้อมูลมหาศาล หน้าที่ในการบ่งชี้การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสัมพันธ์กับเจ้าของผลงาน และองค์ประกอบอื่นๆ (เช่น สถาบัน/องค์กร กลุ่มวิจัย โครงการ) ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงการอ้างอิง การค้นคืน และการสงวนรักษาของทรัพยากรสารสนเทศทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ ข้อสรุปบางประการสำหรับตัวบ่งชี้สารสนเทศดิจิทัลได้มีการเสนอในหลายๆ แห่งแตกต่างกัน เช่น ห้องสมุด สำนักพิมพ์ เป็นต้น และอีกหลายๆ มาตรฐานที่ยังอยู่ในระยะที่เริ่มได้ที่ของการพัฒนา (เช่น DOI, Handle, NBN, ARK, Scopus Id, ResearcherID, VIAF เป็นต้น) แต่ข้อด้อยสำคัญที่ยังคงทำให้ตัวบ่งชี้ถาวรเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งบางครั้งมีความเห็นที่ตรงกันข้ามในหลายประเด็นที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป และด้วยความที่มีตัวบ่งชี้ดิจิทัลหลายตัว จึงเป็นเรื่องท้าทายไปถึงการหาข้อสรุปในการให้ตัวบางชี้เหล่านั้น สามารถทำข้ามระบบกันได้ (interoperability) APARSEN (Alliance for Permanent Access to the Records of Science Network) ได้สำรวจความสามารถในการทำงานข้ามระบบระหว่างตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifiers-PIs)