magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by supaporn (Page 6)
formats

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2540 สิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมีอยู่อย่างจำกัด การดำเนินงานของส่วนราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ภายในกรอบปฏิบัติของระบบราชการ ซึ่งถือการปกปิดเป็นหลัก การเปิดเผยเป็นกรณียกเว้น จึงทำให้การบริหารราชการและการให้บริการแก่ประชาชนที่ผ่านมาไม่เป็นไปด้วยดี พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีเจตนารมณ์อันเป็นความคิดพื้นฐานสำคัญ 5 ประการ คือ เพื่อเป็นการประกันสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน (Right to know) ในการดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารของหน่วยงานของรัฐ อันจะนำไปสู่กระบวนการบริหารของรัฐที่เป็นธรรม เสมอภาคและสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้การดำเนินงานมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องตามความเป็นจริงซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศให้มั่นคงและส่งเสริมรัฐบาลโดยประชาชน เพื่อความจำเป็นในการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารบางประเภท (Need to protect) ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน และคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของทางราชการไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการปฏิรูประบบราชการ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและต่อประชาชน เพื่อการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ โดยการจำแนกและจัดระบบเพื่อให้การนำไปใช้ประโยชน์ (การเปิดเผย) และการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน – ( 185 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ก้าวต่อไปของประเทศไทย

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาทางวิชาการ “การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ก้าวต่อไปของประเทศไทย” ณ ห้องประชุมปรินซ์ บอลรูม 2-3 อาคาร 1 ชั้น 11 โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร  ใจความว่า ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา การมี พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ภาพลักษณ์ของราชการในมิติของความลึกลับ ได้รับการเปิดเผยมากขึ้น ตามหลักการของ พ.ร.บ. ข้อมูลฯ ที่ว่า “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” แต่ก็ต้องมีความสมดุล กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติให้เกิดความพอดี  ให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยเจตนาดี และขอให้ระมัดระวังในกรณีที่มีเจตนาซ่อนเร้นในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร– ( 1562 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

1 ศตวรรษวิทยาศาสตร์ไทยกับบทบาทของไทย

1 ศตวรรษวิทยาศาสตร์ไทยกับบทบาทของไทย เป็นชื่อของหนังสือและเว็บไซต์ (www.centurythaiscience.org) จากความคิดริเริ่มของเอสซีจี  ได้มอบให้มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อที่จะชี้ย้อนให้เห็นพัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ผ่านมาทั้งในโลกโดยรวมและในประเทศไทย ที่จะทำให้เราเข้าใจความเป็นมาและสถานภาพปัจจุบันของวิทยาการในโลกโดยทั่วไป มีการติดตามความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้ในแต่ละปี พร้อมกับย้อนกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มีความสำคัญในบริบทของไทยและของโลกด้วย รูปหน้าปกหนังสือที่ทั้งสิ่งพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปหน้าเว็บไซต์สามารถคลิกเลือกชมวิดีโอหายากเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตและอ่านเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆที่สนใจได้ – ( 111 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำมันรั่วในทะเล

จากเหตุการณ์น้ำมันดิบประมาณ 50,000 ลิตร ที่รั่วจากท่ออ่อนส่งน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้ว ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ที่รั่วลงทะเล จังหวัดระยอง เมื่อเวลา 06.50 น.  ของวันที่ 27 กรกฎาคม 2556  นั้น สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปเหตุการณ์จากภาพถ่ายดาวเทียม ไว้ในเว็บไซต์ http://www.mkh.in.th/index.php/2013-08-08-10-30-02 และเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ได้ร่วมกับฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย มูลนิธิอาจารย์ ดร. สุรพล สุดารา สถาบันธรรมรัฐพร้อมผู้แทนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)  คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  องค์กรอิสระ Green Peace และ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาข้อสรุปสำหรับแนวทางการจัดการปัญหาน้ำมันรั่วในทะเล ณ ห้องประชุมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยมีข้อสรุป ในเรื่องการให้ข้อมูลแก่สังคม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การนำเสนอ (Presentation)

ส่ง 2 link นี้ มาแบ่งปันกันค่ะ 5 Powerful Ways to Open a Presentation 5 Powerful Ways to Close a Presentation ทดลองหรือฝึกหัดกันค่ะ  – ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifier)

ตัวบ่งชี้ทางบรรณานุกรม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN) และ เลขมาตรฐานประจำวารสาร (International Serial Number – ISSN) มีการใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่ด้วยความเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ เป็นความท้าทายหลักต่อระบบตัวบ่งชี้ที่มีมาแต่เดิม เนื่องจากตัวบ่งชี้แบบเดิม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือไม่ได้ถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ต นั่นเป็นเพราะ เลขที่อยู่ในเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ เช่น ISBN ไม่ได้เป็นหรือจะถูกตีความว่าเป็นตัวที่เชื่อมโยงด้วยเว็บบราวเซอร์ได้ ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent identifier-PI) มีหลายหน้าที่ แต่หน้าที่ที่สำคัญคือ เป็นตัวทำให้ตัวบ่งชี้แบบเดิมสามารถทำงานได้ในเว็บ และเป็นตัวจัดหาตัวเชื่อมโยงที่ถาวรไปยังสารสนเทศได้ การใช้ PI ต้องเป็น PI ที่ผู้ใช้สามารถให้ความเชื่อถือได้ว่าจะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าตำแหน่งของสารสนเทศนั้นจะถูกเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ถาวรต้องถูกจับคู่กับตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ (locator) ที่ทันสมัยซึ่งจะต้องทำให้เข้าถึงสารสนเทศได้ตามที่แจ้งไว้ได้ – ( 194 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (จร.)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 เนื่องจากการที่อาเซียนจะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในการถ่ายทอดข้อมูลและสร้างความเข้าใจ โดยมุ่งการให้บริการที่เน้นการสื่อสารสองทาง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนผู้เจรจาการค้า (Negotiators) ไปสู่ผู้ใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรี (Stakeholders) ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SME และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าตามความตกลงต่างๆ ของไทยในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมโดยสามารถวางแผนธุรกิจเตรียมความพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อใช้โอกาสจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเปิดเสรีทางการค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ติดตามข้อมูลและขอใช้บริการได้ที่ โทร 0 2507 7555 โทรสาร 0 2547 5612 อีเมล info@dtn.go.th – ( 108 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรม นำพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง

นวัตกรรม ถือเป็นกระบวนการที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาผสมผสานกับความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ธุรกิจใหม่ ฯลฯ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ  แต่สำหรับประเทศไทย ยังคงมีปัญหาอยู่มากในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ได้ให้น้ำหนักกับการวิจัยและพัฒนาเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณสนับสนุนและการสร้างบุคลากรในสาขานี้ หนังสือ นวัตกรรม นำพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง ได้รับเค้าโครงของเนื้อหาจากงานสัมมนาในหัวข้อ “พลิกเส้นทางพัฒนา สถานปนาความมั่งคั่งให้ประเทศ” ซึ่งจัดโดย สถาบันอนาคตไทยศึกษา เมื่อปลายปี 2555 ประกอบด้วย สี่มิติของนวัตกรรม ประเทศไทย บนกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง การเพิ่มมูลค่า โจทย์สำคัญของการไปสู่ความมั่งคั่ง นวัตกรรม ตัวช่วยสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่ม ความเชื่อมโยงของทุกภาคส่วน จะพัฒนานวัตกรรมให้ประเทศได้อย่างบูรณาการ เปิดมุมมองจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ต่อการสร้างความมั่งคั่งด้วยนวัตกรรม โดย 6 กูรู ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร คุณบรรยง พงษ์พานิช และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี วาระสำคัญของประเทศไทย: ผลักดันนวัตกรรมร่วมสร้างความเชื่อมโยง

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10 ปี งบประมาณไทย … เราเรียนรู้อะไร?

มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้จัดทำ Policy Watch เรื่อง 10 ปี งบประมาณไทย … เราเรียนรู้อะไร? โดย: ชุติมา เสนะวัต ศิริกัญญา ตันสกุล และเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ  วิเคราะห์โดยมองย้อนกลับไป 10 ปี เพื่อให้เห็นโครงสร้างภาพรวมของงบประมาณไทย และได้นำเสนอ 5 ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณไทย ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ 1: 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 2.4 เท่า หรือเพิ่มขึ้นเป็นเงินถึง 1.4 ล้านล้านบาท ในขณะที่งบลงทุนกลับเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนเพียง 12% ของงบประมาณเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่ 2: งบลงทุนจริงๆ อาจจะไม่ได้มากเหมือนที่ปรากฏในรายงานทั่วไป ข้อเท็จจริงที่ 3: การจัดสรรงบประมาณเป็นไปตามหน่วยงานมากกว่าตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว และโจทย์ของประเทศก็เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน แต่การจัดสรรงบประมาณไปยังกระทรวงต่างๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก ข้อเท็จจริงที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุดตะเกียง ดีกว่าด่าความมืด

โดย วรภัทร์ ภู่เจริญ ได้ให้คำนิยามของคำว่า “จุดตะเกียง ดีกว่าด่าความมืด” นั้น หมายถึง การลงมือกระทำสิ่งดีๆ เพื่อแก้ไขและคลี่คลายอุปสรรค เปรียบเสมือนกับการจุดตะเกียงภายในใจของตนเอง ดีกว่าเสียเวลานั่งบ่นโอดครวญ วิพากษ์วิจารณ์ หรือด่าระบายสิ่งต่างๆ จนหมดแรง สมองตีบตัน คิดอะไรไม่ออก แถมจิตใจก็ขุ่นมัวและไม่มีความสุข (หน้าคำนำ) การจุดตะเกียงแบบง่ายๆ คือ 1. คิดบวกให้เป็น มองหาข้อดีกันบ้าง อย่าด่วนตัดสิน มองให้หลายๆ มุมก่อน 2. ลงมือทำอะไรดีๆ ของเราไป ให้การทำดีเป็นการจุดประกายดีกว่าไปนั่งต่อว่ากัน เรื่องไม่ดีก็ทำให้คนที่มีหน้าที่เขาจัดการไป เราทำหน้าของเราให้ดีที่สุดเป็นพอ 3. เมื่อท้อต้องปลุกกำลังใจของเราขึ้นมาใหม่ ปลุกกำลังใจแล้วอย่าลืมปลุกสติด้วย เพระ “กำลังสติ” สำคัญ และใช้ร่วมกับ “กำลังใจ” ได้ดีที่สุด 4. ตั้งสติ ทำใจให้สงบ กลับมาดูลมหายใจบ่อยๆ เรียกสติกลับมา และปัญญาจะได้เกิดตาม คุณอยากจะเริ่มจุดตะเกียงแล้วหรือยัง – ( 264 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments