1.6 ล้านคน เป็นประมาณการตัวเลขของผู้สูบบุหรี่ในสหรัฐอเมริกาที่พยายามเลิกสูบหรี่หลังจากมีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ของ Centers for Disease Control and Prevention ในปี ค.ศ. 2012 โฆษณารณรงค์ให้ลิกบุหรี่ใช้ภาพกราฟิกและเน้นเรื่องราวเลวร้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพจากประสบการณ์ของผู้ที่เคยสูบบุหรี่ จำนวนผู้สูบบุหรี่ซึ่งคาดว่าเป็นไปได้ในการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จในระยะยาว ตามข้อมูลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร Lancet โดยนักวิจัย CDC มีจำนวน 100,000 ราย รายการอ้างอิง: By the Numbers. Scientific American Nov 2013 : 10– ( 20 Views)
การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR)
การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR) เป็นส่วนหนึ่งของการสืบค้นหรือการค้นคืนสารสนเทศ หมายถึง การค้นคืนสารสนเทศซึ่งภาษาที่แสดงในเอกสารไม่ตรงกับภาษาที่ใช้เป็นคำค้น เนื่องจากเอกสารหรือสารสนเทศมีหลากหลายภาษา การใช้คำค้นด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง จะทำให้ไม่สามารถค้นคืนข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่อาจจะแสดงอยู่ในภาษา อื่นๆ ไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา เช่น การใช้คำภาษาไทยเป็นคำค้น จะทำให้ไม่พบเอกสารที่เขียนด้วยภาษาอื่น ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการสืบค้นคำว่า ฐานข้อมูล ก็จะพบเฉพาะเอกสารที่มีเฉพาะคำว่า ฐานข้อมูลในเอกสารภาษาไทยเท่านั้น ข้อมูลเรื่องฐานข้อมูลในเอกสารภาษาอื่นๆ จะไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการพลาดโอกาสในการใช้เอกสารที่มีประโยชน์ได้ อ่านรายละเอียดต่อ– ( 44 Views)
เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์
จากเว็บไซต์ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/ ได้เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์ในรูปแบบของ infographic ในด้านต่างๆ เช่น อายุ: อายุของบรรณารักษ์ จะอยู่ในช่วง 20-24 ปี เพียง 1% แต่จะมีอยู่ในช่วงอายุ 25-54 มากที่สุด คือ 75% และ อายุมากว่า 55 ปี 24% เพศ: เพศที่มักประกอบอาชีพบรรณารักษ์ คือ ผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ 78% ที่เหลือ 22% เป็นผู้ชาย งานในห้องสมุดกับการทำงานของสมอง: เป็นส่วนชอบมากที่สุด แสดงการใช้งานสมองซีกซ้ายและซีกขวาว่าสมองแต่ละซีกทำงานแบบใดในห้องสมุด เชิญชมภาพ infographic แบบเต็มร้อยได้เลยค่ะ– ( 45 Views)
12 องค์กร/สมาคม ที่บรรณารักษ์ใหม่ควรรู้จัก
ในเว็บไซต์ LibraryScienceList.com ได้เขียนถึง 12 องค์กร/สมาคม ทางด้านห้องสมุด ที่บรรณารักษ์จบใหม่ รุ่นใหม่ ควรรู้จักหรือคุ้นเคย แต่เป็นองค์กร/สมาคม ของสหรัฐอเมริกา แล้วถ้าหันมามองประเทศไทย ไม่ต้องนึกถึงเฉพาะบรรณารักษ์จบใหม่ หรือบรรณารักษ์รุ่นใหม่เลย รุ่นก่อนหน้านั้น (ไม่ขอใช้คำว่า รุ่นเก่า) ควรจะมีสมาคม/องค์กรใดบ้างที่ควรรู้จัก อันเป็นว่า มารู้จัก องค์กรในอเมริกา ก่อนก็แล้วกันค่ะ อ่านแล้วอาจจะรู้จักมากกว่าองค์กร/สมาคมของไทย ก็ได้ค่ะ ทั้ง 12 องค์กร/สมาคม ได้แก่ – ( 284 Views)
Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด
ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 100 Views)
Federated Searching
การสืบค้นแบบ Federated Search หรือบางแห่งอาจจะเรียกว่า Single search หรือ One search เป็นการสืบค้นที่ถูกดึงเป็นเรื่องสำคัญของห้องสมุดเกือบทุกแห่ง ด้วยความสามารถของเครื่องมือนี้ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลจากหลายๆ แห่ง ในเวลาเดียวกัน ได้ด้วยการใส่คำค้นเพียงครั้งเดียวผ่านหน้าจอหรืออินเทอร์เฟสการค้นเพียงหนึ่งเดียว และแสดงผลการสืบค้นที่ได้เป็นชุดเดียว ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถได้รับข้อมูลทั้งจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด จากเว็บไซต์ต่างๆ หรือแม้แต่ฐานข้อมูลออนไลน์จำนวนมากที่ห้องสมุดบอกรับ – ( 128 Views)
เว็บไซต์ Dict
จากการทำความสะอาดข้อมูลการแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษของคำสำคัญในฐานข้อมูลหนึ่ง เพื่อจะพัฒนาให้รองรับกับการสืบค้นข้ามภาษา (Cross Language Information Retrieval – CLIR) ต่อไป ด้วยความที่ต้องค้นหาคำที่มีการกำหนดใช้ในภาษาไทย ทั้งที่เป็นคำที่ถูกกำหนดเป็นภาษาควบคุมหรือคำศัพท์ควบคุม (Controlled vocabulary) และเป็นคำที่ไม่ใช่ภาษาควบคุมหรือคำศัพท์ควบคุม และเนื่องจากการสะกดคำในภาษาไทยที่แตกต่างกัน จากภาษาอังกฤษเพียงคำเดียว โดยเฉพาะคำทับศัพท์ ซึ่งบางคำก็จะไม่ปรากฏในพจนานุกรมทั้งที่เป็นฉบับพิมพ์ และออนไลน์ แต่เพื่อให้มีการสืบค้นที่ครอบคลุมกับคำที่ผู้ใช้ต้องการ ทำให้ต้องค้นหาแหล่งอ้างอิงคำศัพท์ต่างๆ และพบได้ว่า มีการจัดทำเว็บไซต์รวบรวมคำศัพท์ หรือเป็นพจนานุกรมออนไลน์ในหลากหลายสาขาวิชา บางเว็บไซต์ ให้เฉพาะคำแปล ความหมาย บางเว็บไซต์ มีการเขียนเป็นบทความเพื่อเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์นั้นๆ เพิ่มเติมขึ้นด้วย โดยอาจรวมภาพ ภาพยนตร์ หรือภาพเคลื่อนไหว ประกอบ จึงขอรวบรวมและนำเสนอ ดังนี้ (เป็นเว็บไซต์พจนานุกรมเฉพาะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และที่เกี่ยวข้อง)– ( 1806 Views)
หนังสือ 7 เรื่องที่ดีที่สุด ที่ Bill Gates อ่านในปี 2013
Bill Gates เขียนถึงหนังสือที่ดีที่สุดที่เขาได้อ่านในปี 2013 จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ The Box, by Marc Levinson The Most Powerful Idea in the World, by William Rosen Harvesting the Biosphere, by Vaclav Smil The World Until Yesterday, by Jared Diamond Poor Numbers, by Morten Jerven Why Does College Cost So Much?, by Robert B. Archibald and David H. Feldman