คุณจุมพล เหมะคีรินทร์ ได้ให้ข้อสังเกตในการเขียนบทความวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ จากประสบการณ์ที่ทำหน้าที่บรรณาธิการ ไว้ดังนี้ ควรเป็นเรื่องที่อ่านง่าย เนื้อหาไม่ซ้บซ้อน เรื่องที่ยาก ควรมีตัวอย่าง เพื่อให้เรื่องนั้นไม่ยากจนเกินไป รู้จักใช้ภาษาเชิงวรรณศิลป์ แต่ถ้าไม่สามารถ ควรให้ภาษาสื่อสารแบบตรงๆ ง่ายๆ มีอารมณ์ขัน ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะคนอ่านทั่วไปจะชอบและประทับใจเรื่องที่มีอารมณ์ขัน ส่วนการเขียนที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ อ่านยาก ทั้งๆ ที่เนื้อหาไม่ได้ซ้บซ้อน ลำดับความไม่ดี ไม่ลื่นไหลหรือสอดรับกันเท่าที่ควร ใช้ศัพท์เทคนิคมากเกินไป บางคำไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ ทำให้เข้าใจยาก และไม่น่าอ่าน มีข้อมูลมากเกินไป และยังติดกลิ่นนมเนย กรณีที่เป็นเรื่องแปล ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บนี้ค่ะ http://www.nstda.or.th/sci2pub/thaismc/sci-communication/success-article.pdf– ( 46 Views)
บทบาทบรรณาธิการในการพัฒนางานเขียน
สืบเนื่องจากหลักสูตรการอบรม เรื่อง ขีดเขียนเรื่องวิทย์ เมื่อวันที่ 5-6 กันยายน 2556 ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร โดยฝ่ายสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผ่านมา วิทยากรอีกท่านหนึ่ง คือ คุณณงลักษณ์ จารุวัฒน์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ได้มาพูดให้ฟังเรื่อง บทบาทบรรณาธิการในการพัฒนางานเขียน บรรยากาศระหว่างการพูด สนุกมากแต่มีสาระเพียบ จากประสบการณ์ที่คุณณงลักษณ์ ถ่ายทอดให้ฟัง เริ่มจาก ที่มาของคำว่า “บรรณาธิการ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ดังนี้ ผู้จัดหา เลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องที่ลงพิมพ์ บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์ หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ – ( 1084 Views)
เทคนิคการนำเสนอมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques)
เทคนิคการนำเสนอมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques) โดย อาจารย์ จรีพร กิตติวิมล ได้เสนอแนะวิธีและเคล็ดลับต่างๆ ในการนำเสนออย่างมืออาชีพ ให้กับพนักงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ดังนี้ ผู้ฟัง ต้องมั่นใจว่ารู้รายละเอียดของผู้ฟังเป็นอย่างดี เพื่อสร้างเนื้อหาหรือเรื่องในการนำเสนอให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น กลุ่มผู้ฟังเป็นใคร ผู้ฟังสนใจในเรื่องอะไร ผู้ฟังต้องการอะไร ผู้ฟังรู้ข้อมูลอะไร และต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติม ผู้ฟังคาดหวังอะไรจากผู้นำเสนอ และผู้ฟังจะได้รับประโยชน์อะไรจากการนำเสนอ จุดมุ่งหมายของการนำเสนอ แจกแจงจุดมุ่งหมาย เช่น เพื่อการสอน การกระตุ้น การทบทวน การสร้างความประทับใจ ความบันเทิง หรือ ต้องการให้หลับ – ( 1267 Views)
การสื่อ (สาร) วิทยาศาสตร์ ด้วยงานเขียน
ผู้เขียนมีโอกาสเข้ารับการอบรม เรื่อง ขีดเขียนงานวิทย์ ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดขึ้น เพราะอยากรู้ว่า จะมีวิธีการเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ให้ได้ดี อย่างไร สำหรับคนไม่ได้จบมาทางสาขาวิทยาศาสตร์ แต่ต้องดูแลการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ข้อมูล และองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ วิทยากรท่านหนึ่งของหลักสูตรนี้ ได้แบ่งปันประสบการณ์ความเป็นนักเขียนของอาจารย์ ในหัวข้อ “การสื่อ (สาร) วิทยาศาสตร์ ด้วยงานเขียน” ความว่า การเขียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น หมายถึง เขียนอย่างถูกต้อง เขียนอย่างน่าอ่าน ซึ่งการเขียนอย่างถูกต้อง เป็นศาสตร์ ส่วนการเขียนอย่างน่าอ่านนั้น เป็นศิลป์ ต้องมีทั้งสองส่วนอยู่ด้วยกัน การเขียนอย่างถูกต้องนั้นเริ่มจากการเขียนคำ สะกดคำให้ถูกต้อง และควรใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในการเขียนหนังสือไทย ปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยนสถาน เป็นฉบับปี พ.ศ. 2554– ( 981 Views)
Burnout
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเกิดความรู้สึกหรืออยู่ในสภาวะ Burnout หรือเปล่า เลยนั่งหาคำว่า burnout กับ stress ในงานห้องสมุด เล่นๆ เพลินๆ เผื่อจะหายหรืออาจจะเป็นหนักมากขึ้น ก็เลยได้ของ (ข้อมูล) เกี่ยวกับเรื่องนี้ เยอะเลย เอามาฝากกันอ่านแบบพอประมาณค่ะ Bunge, Charles A. 1987. “Stress in the Library.” Library Journal. 112, no. 15: 47-52. Bunge, Charles A. 1989. “Stress in the Library Workplace.” Library Trends, 38, no. 1: 92-102. https://www.ideals.illinois.edu/bitstream/handle/2142/7642/librarytrendsv38i1k_opt.pdf Caputo, Jeanette S. 1991. Stress and Burnout in Library
การเก็บและรักษาหนังสือด้วยตนเอง
คุณอาจมีเอกสาร หนังสือ รูปภาพ อยู่ที่บ้านและต้องการเก็บของเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพที่ดี คำแนะนำพื้นฐานเหล่านี้ น่าจะช่วยคุณดูแลทรัพย์สมบัติส่วนตัวของคุณได้ การเก็บรักษา ป้องกันให้ห่างจากความร้อน ความชื้น ควรเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี เพราะอุณหภูมิสูง จะทำให้กระดาษกรอบเหลือง อุณหภูมิต่ำจะทำให้เกิดความชื้น และมีผลทำให้เกิดเชื้อราได้ หลีกเลี่ยงการเก็บไว้ในห้องหรือในสถานที่ที่ไม่สามารถตรวจดูหรือรักษาได้ง่ายๆ เก็บให้ห่างไกลจากความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดจากไฟ น้ำท่วม ขโมย หรือแมลง ใส่ในกล่องหรือแฟ้มที่มีคุณภาพและมีขนาดเหมาะสม จัดเก็บไว้ให้ห่างจากการโดนแสงสว่างโดยตรง เนื่องจากกระดาษที่ได้รับแสงนานๆ จะมีสีซีดจางหรือเปลี่ยนไปจากเดิม กรอบเปราะ ป้องกันจากฝุ่นละอองและอนุภาคแขวนลอยในอากาศ จะทำให้เกิดการขัดสีครูด ถู เป็นรอย หรือฝุ่นละอองที่มีเขม่าควันอยู่จะมียางเหนียวทำให้เกิดคราบเปื้อน ขจัดออกได้ยาก ระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย วัสดุที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาควรเป็นวัสดุที่สะอาด เพราะสารเคมีอาจก่อให้เกิดคราบเปื้อน เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เพราะเป็นกรดและหมึกพิมพ์จะทำให้เกิดคราบเปื้อน และระวังการฉีกขาด หรือยับย่น ในการขนย้าย การถนอมรักษาอย่างง่ายๆ อย่าพยายามซ่อมเอกสารที่เสียหาย เทปกาวจะทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เนื่องจากจะหดตัวและแยกออกกระดาษ เมื่อเวลาผ่านไป และทิ้งคราบสีเหลือง หรือน้ำตาล ซึ่งขจัดออกยาก ใช้คลิปทองเหลือง (คลิปที่ทำด้วยโลหะอื่นจะทำให้เกิดสนิม) ในการรวมหรือจัดเก็บเอกสาร ดึงเอกสารอย่างถนอมและด้วยความระมัดระวังจากคลิปหนีบกระดาษ ลวดเย็บกระดาษ เข็มกลัด เข็มหมุด เพื่อมิให้เอกสาร
งานวิจัย พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
นอกจากเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ให้สาระความรู้เกี่ยวกับ พระราชบัญญัติฯ และคำวินิจฉัยต่างๆ แล้ว ยังมีเอกสารประเภทวิทยานิพนธ์ งานวิจัย เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2542 หลังที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ในปี พ.ศ. 2540 วิทยานิพนธ์และงานวิจัย ดังกล่าว อาทิเช่น– ( 438 Views)
ต้นแบบในการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 ที่บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ นั้น มักจะมอบหมายให้ห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ บางแห่งอาจจะแยกออกเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยเฉพาะ และสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีกิจกรรมในการให้หน่วยงานเข้าสมัครเข้าโครงการหน่วยงานต้นแบบในการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการ ระดับกระทรวง– ( 91 Views)
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.)
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) จัดตั้งตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย โดยมี พ.ต.ท. เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ เป็นผู้อำนวยการฯ ติดตามการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของ สขร. ได้ที่ http://www.oic.go.th – ( 139 Views)