เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2014 คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายบริหารและเสนอร่างกฎระเบียบต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปหรืออียูได้เสนอเป้าหมายพลังงานและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสำหรับปี ค.ศ. 2030 ซึ่งวัตถุประสงค์หลักเป็นไปเพื่อนำอียูสู่การเป็นเศรษฐกิจพึ่งพาคาร์บอนต่ำที่มีความมั่นคง ยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขัน สาระสำคัญของเป้าหมายด้านพลังงานและสภาพอากาศสำหรับปี ค.ศ. 2030 ที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอ ได้แก่ 1) ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี ค.ศ. 2030 ลงร้อยละ 40 ของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่วัดได้ในปี ค.ศ. 1990 2) เพิ่มเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากเดิมร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 27 ของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจและสังคมพึ่งพา 4) การปฏิรูประบบการลดการปล่อยก๊าซด้วยกลไกตลาด หรืออียูอีทีเอส (Emission Trading Scheme; EU ETS) ที่ใช้การซื้อขาย สิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศสมาชิก ในตลาดคาร์บอนของอียูเป็นกลไกในการดำเนินการ – ( 28 Views)
Day 1… วันแรก ก้าวแรกของ OSTC
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เป็นประธานเปิดสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ดร.สง่า สรรพศรี ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และ นายวิทยา เวชชาชีวะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เป็นสักขีพยาน ในช่วงเดียวกัน ยังมี OSTC เกิดขึ้นอีก 2 แห่ง คือ ณ กรุงบรัสเซลส์และกรุงโตเกียว ต่อมา OSTC ณ กรุงโตเกียว ได้ยุติบทบาทเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ภารกิจของ OSTC คือ เป็นตัวแทนของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยในต่างประเทศ นำเสนอข้อเสนอแนะและนโยบายเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อรัฐบาลไทย รวมถึงสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนากับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ แคนาดา ผู้ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงาน OSTC คือ “อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ผู้ช่วยทูตฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งจำนวน 5 คนคือ – (
ข้อโต้แย้งในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย America Competes
ใน ปี ค.ศ.2007 มีความวิตกว่า ประเทศสหรัฐฯ กำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศทำให้มีเสียงสนับสนุนใน รัฐสภาสหรัฐฯ เกี่ยวกับการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมถึงการพัฒนาด้านศึกษา ความกังวลดังกล่าวนำไปสู่การออกกฎหมายชื่อ America Competes โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ ประเทศและปัจจุบันมีความร่วมมือระหว่างสองพรรคในการสนับสนุนให้มีกฎหมายมา แทนที่สมาชิกสภาผู้แทนของพรรคดีโมแครต ได้เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงในตัวกฎหมาย ขณะที่สมาชิกพรรครีพับลิกันต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการตัดลดค่าใช้ จ่ายและการควบคุมเข้มงวดในการลงทุนด้านการวิจัย Joanne Carney ผู้อำนวยการด้านรัฐสัมพันธ์ของ American Association for the Advancement of Science (AAAS) กล่าวว่า สิ่งที่ต้องการเห็นคือการมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่สามารถกระตุ้นนวัตกรรม ที่สัมพันธ์กับความเป็นจริงของงบประมาณ ที่ผ่านมาได้กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นในงบประมาณที่เพิ่มเป็นสองเท่าเพื่อ สนับสนุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์และทางวิศวกรรมในหน่วยงานวิจัยหลัก ภาครัฐสามหน่วยงาน ได้แก่ National Science Foundation, the National Institute of Standard & Technology และ Office of Science ภายใต้ Department of Energy และยังขยายโปรแกรมการศึกษา STEM
โปรแกรมสนับสนุนความร่วมมือนักวิจัยสหรัฐ-ไทย
Ms. Anne Emig, Program Manager for Thailand, Office of International & Integrative Activities, National Science Foundation (NSF) ได้แจ้งต่อสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงวอชิงตันว่า มีโปรแกรมที่สนับสนุนให้นักวิจัยไทยสามารถทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยสหรัฐฯ จำนวน 2 โปรแกรม ดังนี้ 1. โปรแกรม Partnership for Enhanced Engaging in Research (PEER) Science เป็นโปรแกรมที่ USAID ร่วมกับ NSF ให้การสนับสนุนนักวิจัยจากประเทศกำลังพัฒนา ยื่นขอรับทุนเพื่อวิจัยและมีการทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยสหรัฐฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก NSF ที่ผ่านมา 2. โปรแกรม PAN-American Advanced Studied Institutes (PASI) เป็นโครงการที่ Department of Energy
การใช้ Stem Cell เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ปัจจุบัน คลินิกจำนวนมากในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาแอบอ้างว่าสามารถใช้ stem cell รักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและราคาย่อมเยา มีสรรพคุณในการรักษาและต่อต้านริ้วรอยด้วยการเพิ่ม stem cell ในผลิตภัณฑ์ความนิยามการรักษาด้วย stem cell ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้หน่วยงานรัฐบาลของหลาย ๆ ประเทศต้องดิ้นรนในการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับเทคโนโลยีเกิดใหม่นี้ สิ่งที่ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนคือ การให้การรักษาด้วย stem cell ส่วนใหญ่เป็นการรักษาภายใต้การทดลองทางการแพทย์ที่ยังต้องมีการตรวจสอบควบ คุมจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการตรวจสอบผลข้างเคียงหลังการรักษา แต่คลินิกหลาย ๆ แห่งกลับประชาสัมพันธ์และให้บริการการรักษาประเภทนี้เช่นเดียวกับการรักษา รูปแบบอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองในวงการแพทย์แล้ว – ( 8 Views)
จีนพร้อมผลิตเครื่องบินแล้ว
Comac บริษัทผลิตเครื่องบินสัญชาติจีนที่มีอายุเพียง 5 ปี เตรียมแข่งขันกับ Boeing และ Airbus เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจีนก่อตั้งขึ้น โดยการรวมกลุ่มบริษัทการบินที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเครื่องบินโดยสารที่มีประสิทธิภาพและลดการนำเข้าเครื่องบิน จากบริษัท Boeing และ Airbus ซึ่งครองตลาดการผลิตเครื่องบินมากกว่าร้อยละ 70 ทั่วโลก รัฐบาลจีนได้ทุ่มเงินลงทุนไปแล้วมากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โครงการนี้ เริ่มจากความจำเป็นในการเดินทางและการเจริญเติบโตของธุรกิจภายในประเทศ ซึ่งบทความในหนังสือพิมพ์ China Daily อธิบายไว้ว่า ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนได้พัฒนาการคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงฝั่งตะวันออกกับตะวันตกของประเทศ โดยระหว่างปี 2011 และ 2015 มีแผนจะสร้างสนามบินใหม่มากกว่า 80 สนามบิน และขยายเพิ่มเติมขึ้้นไปอีกกว่า 100 สนามบิน นอกจากนี้ บริษัท Boeing ได้คาดการณ์ว่า ประเทศจีนจำเป็นต้องซื้อเครื่องบินโดยสารเพิ่มขึ้นจำนวน 5,580 ลำ ภายในปี 2032 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 780 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อรองรับความจำเป็นดังกล่าว ดังนั้น ประเทศจีนที่มีทุนสำรองเงินตรา ระหว่างประเทศมากกว่า
FDA ห้ามใช้ไขมันทรานส์
องค์การอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) ได้ประกาศให้นำเอาไขมันทรานส์ (Trans Fat) ออกจากการผลิตอาหารแปรรูป เนื่องจากกังลในความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไขมันทรานส์ หรือกรดไขมันแปรรูป เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวมาเติมไฮโดรเจน เป็นไขมันที่เพิ่มระดับของคลอเลสเตอรอลตัวร้ายและไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ Margaret Hamburg กรรมาธิการของ FDA กล่าวว่าการบริโภคไขมันทรานส์ในสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่น่ากังวล ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคได้ประเมินว่า การเอาไขมันทรานส์ออกจากอาหารแปรรูปจะสามารถป้องกันการเกิดหัวใจวายได้กว่า 20,000 รายต่อปี และป้องกันการเสียชีวิตจากโรคทางหัวใจกว่า 7,000 รายต่อปี – ( 9 Views)
ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ Peer Review ของ NSF ก่อให้เกิดความตึงเครียด
ร่างกฎหมายซึ่งยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ของผู้แทนฯ Smith มีชื่อเรียกว่า The Frontiers in Innovation, Research, Science, and Technology (FIRST) Act จะมีผลในการจัดลำดับความสำคัญในการพิจารณาโครงการวิจัยของ NSF, the National Institute of Standards and Technolgoy (NIST) และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอื่น ๆ เช่น โครงการสนับสนุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เนื้อหาในร่างกฎหมาย First Act บางส่วนจะสนับสนุนให้นักวิจัยนำการค้นพบต่าง ๆ ออกสู่ภาคธุรกิจ และสนับสนุนการวิจัยด้านการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (high-performance computing) รวมถึงเปิดโอกาสให้สาธารณะสามารถเข้าถึงงานวิจัยที่สนับสนุนโดยรัฐบาลได้นาน ขึ้นถึง 3 ปี เกณฑ์การพิจารณาการให้ทุนสนับสนุนที่ระบุไว้ใน FIRST Act ร่าง กฎหมายจะมีผลบังคับให้ผู้บริหารของ NSF อธิบายว่าโครงการสนับสนุนการวิจัยนี้มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไรและตอบสนอง ต่อเป้าหมายต่อไปนี้ อย่างไร: การสร้างความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ความปลอดภัยของประเทศ ดูเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ที่
ช็อกโกแลต
ขนมหวานสีน้ำตาลของโปรดของน้อง ๆ ที่ผลิตขึ้นจากเมล็ดของต้นโกโก้ ผสมกับเนยโกโก้ นั่นก็คือ ช็อกโกแลต ซึ่งมีหลากหลายชนิดให้เลือกรับประทานกันตามชอบใจ ไม่ว่าจะเป็นช็อกโกแลตนม ช็อกโกแลตดำหรือดาร์กช็อกโกแลต ช็อกโกแลตขาวหรือไวต์ช็อกโกแลต เป็นต้น ด้านสารสำคัญในช็อกโกแลตนั้นก็มีไม่น้อย เช่น ฟลาโวนอยด์, กาเฟอีน, ทีโอโบรมีน, ทริปโทแฟน, แมกนีเซียม, อนันดาไมด์, ฟินิลเอทิลามีน, เททราไฮโดร-เบตา-คาร์ไบไลน์ ฯลฯ ซึ่งล้วนให้ประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งสารบางชนิดในช็อกโกแลตก็เรียกได้ว่าเป็นสารเพิ่มความสุข เนื่องจากช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน และเซโรโทนิน ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แม้ช็อกโกแลตจะอุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ แต่น้อง ๆ ก็ควรรับประทานแต่พอเหมาะ เพราะช็อกโกแลตเป็นขนมที่มีแคลอรีสูง หากรับประทานมากเกินไปก็เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคได้ แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. (2556) “เคมีรอบบ้าน : ช็อกโกแลต”. Update. 28(313) : 105 ; พฤศจิกายน 2556.– ( 4 Views)
แรกมีที่เมืองไทย : ตำรวจ
ตำรวจ ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นอยู่กับกรมเวียง ได้แก่ ตำรวจพระนครบาล และ ตำรวจภูธร ซึ่งมี เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา ส่วน ตำรวจหลวง ที่ขึ้นอยู่กับวัง มี เจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่สี่ มีการตั้งกองโปลิศ หรือกรมกองตระเวนนั้น รวมถึงว่าจ้าง กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์ หรือ หลวงรัฐยาภิบาลบัญชา ชาวอังกฤษ มาวางโครงการจัดตั้งกองตำรวจตามแบบยุโรป และในสมัยรัชกาลที่ห้า มีการก่อตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นเป็นครั้งแรก เวลาล่วงมาถึงยุคปัจจุบันจึงมีการโอนย้ายกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย มาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. (2556) “แรกมีที่เมืองไทย : ตำรวจ”. Update. 28(313) : 105 ; พฤศจิกายน 2556.– ( 5 Views)