magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ธุรกิจโรงพยาบาล…ขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย

สำหรับภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี 2556 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความเคลื่อนไหวในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และการควบรวมกิจการของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนคาดว่า ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2556 จากเดิมที่มีการควบรวมเป็นเครือข่ายเดียวกันระหว่างโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ด้วยกันเอง ก็เริ่มมีการมองหาพันธมิตร หรือเดินหน้าควบรวมกิจการโรงพยาบาลเอกชนในส่วนภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ และเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง รวมทั้งโรงพยาบาลของภาครัฐที่หันมาให้ความสนใจกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้สูงมากขึ้น ประกอบกับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558

Read more…– ( 406 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หญ้าเนเปียร์ทางเลือกของแหล่งพลังงาน

กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก “หญ้าเนเปียร์” เพื่อผลิตเป็นพลังงานชีวมวล หรือนำมาหมักเป็นก๊าซชีวภาพ โดยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เปิดเผยในงาน Green Energy Forum ว่า  “กระทรวงพลังงานจะให้การสนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ หรือ หญ้าเลี้ยงช้าง ซึ่งให้ผลผลิตประมาณ 36-80 ตันต่อไร่ โดยหญ้าเนเปียร์ 1 พันไร่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท”

ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าประมาณ 27,000 เมกะวัตต์ต่อปี และเชื้อพลังงานไฟฟ้าจากต่างประเทศ ในสัดส่วนร้อยละ 54 ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะส่งเสริมให้มีการปลูกหญ้าเนเปียร์จำนวน 8 พันไร่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าส่งเข้าระบบ โดยในขณะนี้มีโรงงานผลิต กระแสไฟฟ้าชีวมวลจากหญ้าเนเปียร์ที่จังหวัดเชียงใหม่ และกำลังก่อสร้างที่จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมากยิ่งขึ้น

Read more…– ( 198 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผย7ยุทธศาสตร์สร้าง”พลังงานทดแทน”

ระดมสมองนักวิชาการพลังงานวางแผนวิจัยพลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืน รวม 7 ยุทธศาสตร์ มีทั้งการใช้น้ำเสียการเกษตรผลิตไฟฟ้า เพาะเลี้ยงจุลชีพผลิตเชื้อเพลิง พลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนจัดโซนนิ่งการปลูกพืชพลังงาน

วันนี้ 23 เม.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้มีจัดประชุมประชาพิจารณ์ร่างยุทธศาสตร์การวิจัยพลังงานทดแทนเพื่อความ ยั่งยืนขึ้น โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจำนวน 150 คน ร่วมพิจารณา โดยที่ประชุมได้กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การวิจัย ไว้ 7 แนวทาง เพื่อสนับสนุนทางวิชาการพร้อมกับการพัฒนากำลังคนเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อ ปฏิบัติงานด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพลังงาน

  1. ยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่กำหนดไว้ได้แก่ การพัฒนาพลังงานชนิดใหม่ เพื่อพัฒนาวัสดุประหยัดพลังงาน ซึ่งมีงานวิจัยออกแบบวัสดุอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การวิจัยเพื่อการใช้พลังงานเพื่อการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ Read more…

– ( 96 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เฉลิมพล ตู้จินดา เปิดยุทธศาสตร์ติดปีก’ซอฟต์แวร์ไทย’

“บทบาทของซอฟต์แวร์พาร์ค คือ ผลักดันให้วิทยาศาสตร์และผู้ประกอบการ และบุคคลากรด้านไอที”
“นายเฉลิมพล ตู้จินดา” ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) คนใหม่ให้สัมภาษณ์พิเศษ “กรุงเทพธุรกิจ” ถึงยุทธศาสตร์ ผลักดันซอฟต์แวร์ไทยจากนี้หลังรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่  2 ม.ค.2556 แทน “นายธนชาติ นุ่มนนท์”  ที่ขอลาออกและผันตัวเองไปทำงานข้อมูล เชิงวิชาการป้อนอุตสาหกรรมไอซีที

นายเฉลิมพล เล่าย้อนถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่า หลังเรียนจบปริญญาตรีสาขา แมเนจเมนท์ อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ  จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น  นิวแฮมเชียร์ สหรัฐอเมริกา  เริ่มทำงานในบริษัทเอกชนด้าน ระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์  จากนั้นย้ายไปที่รอยเตอร์ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายเทคนิค  และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลงานด้านเฟ้นหาบุคลากรไอทีเข้าสู่บริษัท และรับงานจาก ซิลิคอล วัลเลย์ ยุโรป และอีกหลายประเทศเข้ามาทำในไทย

Read more…– ( 87 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วัสดุนำส่งยารักษากระดูกอักเสบ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาวัสดุนำส่งยาชนิดไฮดรอกซีแอปาไทต์ผสมกับยาปฏิชีวนะเข้มข้น เพื่อรักษาการติดเชื้อของกระดูก โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดอีกครั้งเพื่อนำวัสดุดังกล่าวออก แต่จะกลายเป็นกระดูกเทียมไปในตัวและถูกทดแทนด้วยกระดูกของผู้ป่วยจนรวมเป็น เนื้อเดียวกัน ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการผ่าตัดและลดระยะเวลาการรักษาและการพักฟื้น Read more…– ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ทีวีดิจิตอล.จุดเปลี่ยนประเทศไทย”

กิจกรรมไม่น่าพลาด พุธที่ 24 เมษายนนี้ทั้งวัน ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสถาบัน 3 (ข้างคณะเภสัชศาสตร์) จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงาน กสทช. จัดสัมมนาวิชาการเข้ม “ทีวีดิจิตอล.จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ที่กำลังร้อน เริ่มแต่ 9 โมงเช้าฟังรศ.จุมพล รอดคำดีอดีตกมธ.ยกร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ปาฐกถา ปูพื้นเส้นทางปฏิรูปสื่อ. ต่อด้วย เวทีอภิปราย “อนาคตทีวีดิจิตอลสาธารณะ”รอบเช้าในมุมมองนักวิชาการสื่อ โดยผศ.ดร.*พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ จากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ จากนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย กับมุมมองนักกฎหมาย โดย ศ.ดร.นันทวัฒน์บรมานันท์ นิติฯ จุฬาฯ และผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นิติฯ มธ. ภาคบ่ายต่อด้วยเวทีอภิปรายนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ โดยรศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ และนักเทคโน โลยีสื่อสาร รศ.เวช วิเวก คณะวิศวฯ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระ นครเหนือ และดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ จากเนคเทค เข้มข้นตลอดงาน

รายการอ้างอิง :
“ทีวีดิจิตอล.จุดเปลี่ยนประเทศไทย”. ฐานเศรษฐกิจ (สังคมฐานฯ-วิวไฟเดอร์). ฉบับวันที่ 25 – 27 เมษายน พ.ศ. 2556– ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

AIS StartUp Weekend 2013

ปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงาน ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิตอล เอไอเอส เผยกิจกรรม AIS The StartUp Weekend 2013 ได้รับการตอบรับจากนักพัฒนาและคนรุ่นใหม่ ที่เข้าร่วมแข่งขันสร้างโมบายแอพพลิเคชั่นกว่า 500 คน พร้อมแนะนำ 5 ทีมนักพัฒนาที่ผ่านเข้ารอบ ได้แก่ 1.Closw Tag 2.Noonswoon 3.Octogon 4.Stock Guru 5.TripPacker

เตรียมพร้อมเข้าสู่ Boot Camp เพื่อพัฒนาต่อยอดบริการอย่าง เป็นรูปธรรม ออกสู่ตลาดจริง ภายใต้การสนับสนุนจากเอไอเอสและ พันธมิตรร่วมสร้างโอกาสและความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มTech Startup ไทย

รายการอ้างอิง :
AIS StartUp Weekend 2013. SMEs PLUS. ฉบับวันที่ 01 – 30 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ”หุ่นยนต์ไทยกระตุ้นเด็กออทิสติก

แม้ว่ากิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติกโดยพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญจะเป็น สิ่งที่ดีต่อเด็กพิเศษมากกว่า แต่ธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้มักกลัวการสื่อสารกับคนทั่วไปเพราะ “คาดเดายาก” จึงนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ “ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” ซึ่งชวนเด็กพูด คุย ขยับปากและท่าทาง เพื่อเสริมพัฒนาการ และหวังต่อยอดสู่การเสริมพัฒนา

“แม่ที่เจนีวาที่มีลูกเป็นออทิสติก มาดูเราแล้วก็ตื้นตันใจน้ำตาไหล” ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลตอบรับหลังนำหุ่นยนต์ 3 ตัว คือ “ช่างพูด”, “ช่างคุย” และ “ช่างทำ” ไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 41 (41 st  International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

ช่างพูด, ช่างคุย และช่างทำ เป็นหุ่นยนต์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อหวังกระตุ้นพัฒนาการของเด็กออทิสติ ก โดย ผศ.ดร.ปัณรสีอธิบายถึงหน้าที่ของหุ่นยนต์ช่างทำว่า ข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงความผิดปกติในเด็กออทิสติกคือเด็กมีอาการ ดังกล่าวเนื่องจากมีความเสียหายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์กระจก (mirror neurones) การเลียนแบบท่าทางคนอื่น หรือคนอื่นเลียนแบบท่าทางของเด็กจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ดังกล่าวได้ Read more…– ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักประดิษฐ์ไทยสร้างชื่อกระหึ่มโลกคว้ารางวัลระดับโลกจากสวิส

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักประดิษฐ์ในการนำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการและประกวดผลงานในระดับโลกและระดับนานาชาติมาโดยตลอด เช่นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา นักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้ารางวัลผลงานประดิษฐ์ระดับรางวัลกรังปรีซ์จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแล้ว

ในปีนี้ วช. จึงได้นำนักประดิษฐ์และผลงานประดิษฐ์ เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงาน “41st International Exhibition of Inventions of Geneva”ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-14 เมษายนที่ผ่านมา ณ Palexpo กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส โดยการสนับสนุนของรัฐบาลสวิส (The Swiss Federal Government of the State, the City of Geneva) และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ WIPO (The World Intellectual Proper ty Organization)มีนักประดิษฐ์จากภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมประกวดผลงานกว่า 98 หน่วยงาน 14 องค์กร รวมผลงานประดิษฐ์มากกว่า 1,000 ผลงาน

Read more…– ( 192 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทิศทางวิจัยใต้ปีก สวทช.ผลักดันสู่สังคมฐานความรู้

ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า ในช่วง 15 ปี แรกของการก่อตั้ง สวทช. เป็นช่วงเวลาบ่มเพาะงานวิจัย ซึ่งต้องยอมรับว่างานวิจัยแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าที่จะได้พันธุ์ที่เหมาะสมตลอดจนกระบวนการต่อยอดให้เกษตรกรนำไปใช้ หรือแม้แต่เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่แม้จะได้เชื้อต้นแบบมาแล้ว แต่ก็ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการวิเคราะห์ทดสอบ “การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง สร้างผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น งานวิจัยข้าวทนน้ำท่วม ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ในการต่อยอดเพื่อนำไปใช้กับเกษตรกร หรือแม้แต่งานวิจัยวัคซีนเอง แม้จะวิจัยจนได้เชื้อมาแล้ว แต่กว่าจะทดสอบต้องใช้เวลา การจะนำใช้จริงในมนุษย์นั้น ต้องยืนยันความปลอดภัย ทำให้การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์มีจำนวนจำกัด” เขากล่าวยอมรับ แต่ในช่วง 5 ปีให้หลัง รูปแบบการวิจัยได้เปลี่ยนไปเป็นการต่อยอดงานวิจัยจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ เดิม ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า รูปแบบของงานวิจัยในปัจจุบันต่างจากในอดีตที่เน้นการวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อสร้างฐานความรู้ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการต่อยอดเทคโนโลยีจากการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ทั้งในลักษณะเป็นที่ปรึกษา ร่วมวิจัย และรับจ้างวิจัยให้กับภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กลไกต่างๆ ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสนับสนุน เช่น โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ iTAP  “ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าการทำวิจัยสมัยใหม่ เริ่มมีการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยี 2 ประเภท เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาชุดตรวจโรคที่มีความจำเพาะและแม่นยำมากขึ้น” เขากล่าว Read more…– ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments