magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

นักวิทย์เตือนทั่วโลกเร่งแก้ปัญหา “ขยะอวกาศ”

นักวิทยาศาสตร์นานาชาติเรียกร้องให้ประเทศที่มีโครงการอวกาศเร่งกำจัดขยะ และชิ้นส่วนดาวเทียมที่ลอยอยู่บนชั้นบรรยากาศโลกโดยเร็ว เพราะอาจเป็นอุปสรรคในการทำงานของดาวเทียมสำรวจโลกในอนาค

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ว่า ที่ประชุมนานาชาติประจำปีว่าด้วยวิทยาศาสตร์อวกาศเรียกร้องให้ประเทศที่ ดำเนินโครงการด้านอวกาศ เร่งกำจัดขยะที่ลอยเวียนอยู่ตามแนววงโคจรโลกโดยเร็ว เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ ชิ้นส่วนเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคในการทำงานของดาวเทียมสำรวจโลกในอนาคต

ศาสตราจารย์ ไฮเนอร์ คลิงค์ราด ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามขยะอวกาศแห่งองค์การอวกาศยุโรป ( อีเอสเอ ) แถลงระหว่างการประชุมประจำปีของหน่วยงานด้านอวกาศจากทั่วโลก ที่เมืองดาร์มชตัดท์ ประเทศเยอรมนี ว่าปริมาณขยะอวกาศ ที่รวมถึงเศษซากชิ้นส่วนดาวเทียมและจรวดเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ตั้งแต่ปี 2521 ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นของอีเอสเอร่วมกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่ง ชาติ ( นาซา ) ของสหรัฐ พบว่า ในจำนวนขยะอวกาศหลายแสนชิ้นที่ลอยอย่างไร้จุดหมายอยู่ในระบบสุริยะนั้น กว่า 23,000 ชิ้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10 เซนติเมตร ส่วนที่เหลือจะมีขนาดระหว่างน้อยว่า 1 เซนติเมตร ถึง 10 เซนติเมตร Read more…

– ( 77 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งานวิจัยชี้ “แก่นโลก” อาจร้อนกว่าที่คิด

ผลการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากยุโรปพบว่า อุณหภูมิของแก่นโลกอาจสูงกว่าที่เคยมีการบันทึกไว้เมื่อ 20 ปีก่อนถึง 1,000 องศาเซลเซียส

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากยุโรปเผยผลการศึกษาที่บ่งชี้ว่า อุณหภูมิของแก่นโลกอาจสูงกว่าที่เคยมีการบันทึกไว้เมื่อ 20 ปีก่อนถึง 1,000 องศาเซลเซียส

นายโมฮาเหม็ด เมซออาร์ จากองค์กรซินโครตอนแห่งยุโรป ( อีเอสอาร์เอฟ ) หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเจ้าของผลงาน กล่าวถึงรายงานที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านวารสารออนไลน์ “วิทยาศาสตร์” ของสหรัฐว่า ทีมงานใช้เทคนิคการเอ็กซ์-เรย์ จากเครื่องเร่งอนุภาคซินโครตอน ที่นอกจากจะตรวจสอบอุณหภูมิของแก่นโลกได้แล้ว ยังจำแนกได้ด้วยว่าส่วนประกอบของแก่นโลกเป็นของแข็ง ของเหลว หรือของแข็งปนเหลวกี่ส่วน

ทั้งนี้ อุปกรณ์สามารถวัดอุณหภูมิบริเวณใกล้กับแก่นโลกชั้นในได้ราว 6,000 องศาเซลเซียส มากกว่าผลงานของทีมนักวิจัยชาวเยอรมัน ที่นำเสนอรายงานเมื่อปี 2536 ว่า อุณหภูมิของแก่นโลกชั้นในอยู่ที่ราว 5,000 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิของแก่นโลกชั้นนอกอยู่ที่ราว 4,000 องศาเซลเซียส และมีสถานะเป็นของเหลวหนืดจากโลหะเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่

รายการอ้างอิง :
งานวิจัยชี้ “แก่นโลก” อาจร้อนกว่าที่คิด. เดลินิวส์ (ต่างประเทศ). วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556.– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ ทำให้คุณ”สัมผัส”วัตถุเสมือนได้

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ ทำให้คุณ ”สัมผัส” วัตถุเสมือนได้

รูปภาพหนึ่งรูปอาจจะแทนคำพูดได้หนึ่งพันคำ แต่มันก็ไม่ได้ให้ความเข้าใจว่าวัตถุจริง ๆ นั้นรู้สึกอย่างไรเวลาที่คุณจับต้องมัน ที่จริงแล้ว การจับ “ความรู้สึก” ของวัตถุต่าง ๆ นั้นยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีความก้าวหน้านัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ Kathering Kuchenbecker นักวิศวกรรมเครื่องกลจาก University of Pennsylvania คิดว่าควรจะต้องได้รับการค้นคว้าในละเอียดมากกว่านี้

Read more…– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แค่การทำสวนก็อาจช่วยให้ดัชนีมวลกายของคุณต่ำลงได้

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง แค่การทำสวนก็อาจช่วยให้ดัชนีมวลกายของคุณต่ำลงได้

สวนชุมชนนั้นเป็นที่ ๆ เพื่อนบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อที่จะได้เพลิดเพลินกับพื้นที่ข้างนอกบ้านและการใช้เวลาร่วมกันในขณะที่ช่วยกันปลูกพืชที่มีคุณค่าทางอาหารไปด้วย สวนที่อยู่ในตัวเมืองเองก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีจะทำให้ความพยายามในการลดน้ำหนักนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้

ผู้คนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในสวนชุมชนนั้นดูเหมือนว่าจะมีค่าดัชนีมวลกาย รวมถึงโอกาสในการเป็นโรคอ้วนต่ำกว่าคนที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้ ๆ แต่ไม่เคยเข้ามาทำสวนเลย

Read more…– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คลื่นระเบิดในสมอง-ป้องกันอัลไซเมอร์

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง คลื่นระเบิดในสมอง-ป้องกันอัลไซเมอร์

เป็นที่ทราบกันดีว่า การสะสมตัวของโปรตีนอะไมลอยด์-เบตาที่จะทำให้เกิดก้อนในสมองนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอัลไซเมอร์ ที่มีผู้ป่วยโรคนี้อยู่ทั่วโลก แต่กุญแจสำคัญต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณการสะสมตัวของเป๊ปไทด์อะไมลอยด์-เบตาเท่านั้น แต่อยู่ที่ ”ชนิด” ของมันด้วย และการเป็นโรคนี้นั้นก็เกิดมาจากความไม่สมดุลของอะไมลอยด์ที่แตกต่างกันสองประเภท โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีอัตราส่วนของ อะไมลอยด์-เบตาประเภท 40 ต่อ 42 ที่ลดลง (กล่าวคือ ประเภท 40 มีน้อยกว่า 42)

Read more…– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ

Published on April 26, 2013 by in Health

ร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 75% ของน้ำหนักตัว ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่ว่า ทำไมเราสามารถอดอาหารได้เป็นระยะเวลานานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน แต่ไม่สามารถอดน้ำได้เกินกว่า 3 -7 วัน และถ้าขาดน้ำเรื้อรัง (Chronic Dehydration) เป็นพฤติกรรมที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอเป็นประจำทุกวัน ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อย่างคาดไม่ถึง การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพนั้น ควรเป็นการดื่มน้ำอย่างถูกต้อง จึงจะเรียกได้ว่า “เพื่อสุขภาพ” จริงๆ ซึ่งเราดื่มอย่างถูกต้องแล้ว น้ำจะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดี หัวใจทำงานปกติ และมีประสิทธิภาพแข็งแรงขึ้น ขณะเดียวกันการขับถ่ายของเสียก็ทำงานได้ดี ที่สำคัญยังช่วยให้ใบหน้าชุ่มชื่น มีเลือดฝาด และไม่ปวดหลังหรือบั้นเอว เพราะสุขภาพไตแข็งแรง การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ยังช่วยให้ปริมาณไขมันในร่างกายลดลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้นน้ำจะเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดูแลรูปลักษณ์ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะต้องดื่มน้ำเพราะความจำเป็นก็ตาม แต่การจะดื่มน้ำอย่างถูกต้องสามารถทำได้ ดังนี้

Read more…– ( 848 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อชาติอาจบ่งบอกภูมิคุ้มกัน

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เชื้อชาติอาจบ่งบอกภูมิคุ้มกัน

หลังจากดูรหัสดีเอ็นเอของคนจากหลายภาคส่วนของโลก ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดมุมมองใหม่ด้านงานวิจัยระบบภูมิคุ้มกันวิทยาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า จำนวนของยีนแอนติบอดี้ที่เหมาะสมต่อร่างกายคน ประสิทธิภาพการทำงานของแอนติบอดี้ และเชื้อโรคที่มันจะไปทำลายได้ แท้ที่จริงแล้วมีความแตกต่างในแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งก็หมายความได้ว่า ยา วิธีการรักษา และวัคซีน ที่ทำขึ้นมาเพื่อรักษาคนให้ได้ทุกคนบนโลกนั้นควรจะคิดใหม่ โดยควรจะต้องใช้วิธีการที่เหมาะสมกับคนที่จะรักษามากกว่า รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446638– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบดาวเคราะห์ใหม่ขนาดใกล้โลกอีกสามดวง

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จ่อเข้าไปอีก! พบดาวเคราะห์ใหม่ขนาดใกล้โลกอีกสามดวง

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ของนาซ่าได้ค้นพบระบบดวงเคราะห์ใหม่อีกสองระบบแล้ว มีดาวเคราะห์ถึง 3 ดวงที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมาก และยังอยู่ในระยะที่ห่างจากดาวแม่ที่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต และอุณหภูมิพื้นผิวของดาวอาจจะเหมาะสมต่อการมีน้ำอยู่ด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446645– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วัฒนธรรมและการเรียนรู้เพื่ออยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงของประเทศภูฏาน

ปาฐกถาพิเศษ  Culture & Learning-to live in the world of change,Bhutan Model เป็นหนึ่งในหัวข้อการปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาวิชาการ ” Learn to Live in the World of Change” มหกรรมทีวีรักษ์โลก 360 องศา จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21-22 เมษายน 2556  ที่ อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ  บรรยายโดย  Mr.Kinlay Dorjee, Mayor of Thimphu, Bhutan

ประเทศภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอินเดียและจีน แนวทางการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการกระจายรายได้ การใช้ทรัพยากรต่างๆ  โดยเลือกใช้การพัฒนาแบบ Gross Happiness Index (GNI)หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ โดยกษัตริย์องค์ที่ 4 (king วังชุก)แทนการมุ่งพัฒนาแบบใช้ GDP(Gross Domestic Products หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ซึ่งประกอบด้วย

  1. ความเท่าเทียมกันทางสังคม  เน้นที่โครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกก่อน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล ถนน สุขอนามัยของน้ำดื่ม  ระบบสื่อสาร ให้เข้าถึงทั่วทุกคน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในถิ่นธุรกันดาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนภูฏาน
  2.  การรักษาด้านสิ่งแวดล้อม
  3. การรักษาคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น  ไม่ว่าจะไปที่ใดก็จะเน้นการใส่ชุดประจำชาติ  เน้นภาษาท้องถิ่น  เพื่อรักษาความเป็นภูฏานไว้
  4. ความโปร่งใสในระบบราชการ หรือระบบต่างๆ  การต่อต้านการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ มีการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริย์ เป็นประชาธิปไตย ในสมัยของกษัตริย์วังชุก (กษัตริย์องค์ที่ 4 ) มีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อสี่ปีที่แล้ว

สาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน (ก๊าซเรือนกระจก) ของประเทศ มาจากการขนส่ง  การกำจัดขยะ  ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ  ซึ่งแนวทางการแก้ไขและป้องกันภาวะโลกร้อน  โดยใช้เมือง Thimpu เป็นต้นแบบ คือ

  1.  ควบคุมการนำเข้ารถยนต์  ซึ่งรถยนต์ในประเทศมีทั้งหมด 60,000 คัน มีอยู่ในเมืองหลวง 35,000 คัน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  2. ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนตัว หรือรถโดยสาร (Green Car)
  3. จำกัดการเผาไหม้หรือพลังงาน
  4. ส่งเสริมพื้นที่หรือเลนจักรยาน
  5. จำกัดสิ่งปลูกสร้าง
  6. คัดแยกขยะที่เป็นออแกนิก แทนการฝังกลบเพราะการฝังกลบทำให้น้ำมีปัญหาจากก๊าซมีเทน
  7. บำบัดน้ำเสีย
  8. ลดการเผาไหม้จากไม้  เปลี่ยนเป็นเตาไฟฟ้า เช่น เตาเผาศพ
  9. เพิ่มพื้นที่สีเขียว ได้แก่การปลูกป่า แจกกล้าไม้ให้กับโรงเรียน  สถานที่ราชการ
  10. รักษาภูมิทัศน์  แหล่งน้ำดื่ม ป้องกันการลุกล้ำ

พื้นที่ของประเทศภูฏาน เป็นพื้นที่ป่า 70 % จึงช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ช่วยโลกลดก๊าซ Co2 ที่ปล่อยเข้าสู่บรรยากาศ และมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน 100 %  และเพียงพอในการใช้งานในประเทศ จนสามารถส่งไฟฟ้าขายที่อินเดียได้ จึงไม่ก่อให้เกิดก๊าซ Co2

เรียบเรียงจาก การปาฐกถาพิเศษ ในการสัมมนาวิชาการ  Learn to Live in the World of Change ในงานมหกรรมทีวีรักษ์โลก  360 องศา. วันที่ 21 เมษายน 2556. อิมแพค เมืองทองธานี– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โลกร้อนสุดในรอบ1,400 ปี

ปัญหาโลกร้อนยังคงเป็นประเด็นยอดนิยมที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจ อย่างไม่ลดละ ล่าสุดผลการศึกษาสภาพอากาศในช่วงเวลา 2,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลงนิตยสารเนเจอร์ จีโอไซเอนซ์ระบุว่า โลกอยู่ในสภาพที่เย็นลงจนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 พื้นผิวของโลกโดยเฉลี่ยร้อนขึ้นมากกว่าครั้งไหนในรอบ 1,400 ปีก่อน

นักวิทยาศาสตร์บอกว่า แนวโน้มเย็นลงในระยะยาวของทั่วโลกได้พลิกกลับไปตรงข้ามในช่วงปลายศตวรรษที่ 19  พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 20  อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 0.4 องศาเซลเซียส สูงกว่าเมื่อ 500 ปีก่อน และจากปี 2514 ถึงปี 2543 โลกร้อนขึ้นกว่าทุกช่วงเวลาในรอบเกือบ 1,400 ปี ซึ่งนี่คือเครื่องวัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก แต่บางภูมิภาคเผชิญช่วงเวลาที่โลกอุ่นขึ้นเร็วกว่านั้น เช่น ยุโรปน่าจะเริ่มมีอากาศอุ่นขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 1 มากกว่าสิ้นศตวรรษที่ 20
Read more…– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments