magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

การรณรงค์ในอียูให้องค์กรสาธารณะเป็นผู้บริหารทรัพยากรน้ำ

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชากรประเทศสมาชิกอียู ตามเจตนารมย์ของสนธิสัญญาลิสบอนที่ต้องการให้การออกกฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัว ประชาชนจำนวน 500 ล้านคนของอียูมากขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 2012 อียูได้ออกเครื่องมือในการมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า EU Citizens’ Initiative

ด้วยกลไกการมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าว ประชากรประเทศสมาชิกอียูสามารถจัดทำข้อเสนอนโยบายในเรื่องใดก็ได้ หากสามารถรวบรวมรายชื่อได้ 1 ล้านรายชื่อจากเพื่อนชาวอียูอย่างน้อย 7 ประเทศใน 28 ประเทศสมาชิกทั้งหมด การรณรงค์ข้อเสนอดังกล่าว นับเป็นการใช้กลไกการมีส่วนร่วมทางการเมือง EU Citizens’ Initiative เป็นครั้งแรก มีวัตถุประสงค์ผลักดันให้อียูยอมรับความสำคัญของทรัพยากรน้ำเป็นสมบัติของสาธารณะ เพื่อสาธารณะ และควรได้รับการบริหารจัดการโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นตัวแทนของสาธารณะ ไม่ใช่เอกชน

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1210—-12557

 – ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับชั้นโอโซน

ชั้นโอโซน (ozone layer) ในบรรยากาศเป็นกลุ่มก๊าซที่คอยห่อหุ้มและปกป้องโลกจากรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก การทำลายระบบภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อชั้นโอโซนในบรรยากาศอย่างไรบ้าง โครงการRECONCILE ซี่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากอียูจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อหาคำตอบดังกล่าว

โครงการRECONCILE ศึกษากระบวนการทางเคมีที่ทำให้เกิดการบางตัวลงของชั้นโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ (STRATOSPHERE) ด้วยการศึกษาจากแบบจำลอง (MODEL STUDIES) การศึกษาจากห้องทดลอง (LAB STUDIES) และการเก็บข้อมูลจากพื้นที่จริง ซึ่งรวมถึงการใช้เครื่องบินชนิดพิเศษปล่อยบอลลูนเพื่อเก็บข้อมูลในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ในบริเวณอาร์คติก Read more…– ( 11 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การดื่มน้ำเย็นมากเกินไปให้โทษกว่าที่คิด

Published on March 13, 2014 by in Health

การดื่มน้ำเย็นมากจนเกินพอดี สำหรับคนไทยนั้น ทำให้ไตและกระเพาะปัสสาวะต้องรีบ กำจัดความเย็นออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว ขับน้ำเย็นมากักเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ เตรียมนำออกทางปัสสาวะ ทำให้ผู้ที่ดื่มน้ำเย็น ก็ยิ่งขาดน้ำ จนเลือดข้นหนืดไปหมด เจ้าเลือดข้นหนืดที่ล่ะครับที่ทำให้หลอดเลือดของเราเริ่มแข็งกระด้าง ไม่ยืดหยุ่น มีของเสียไปยึดเกาะตามผนังหลอดเลือด จนเกิดการพอกพูนกลายเป็น โรคหลอดเลือดตีบ ก็เพราะน้ำเย็นที่ดื่มเข้าไปเอง

Read more…– ( 102 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เป้าหมายด้านพลังงานและสภาพอากาศปี ค.ศ. 2030 ของอียู

เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2014 คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายบริหารและเสนอร่างกฎระเบียบต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปหรืออียูได้เสนอเป้าหมายพลังงานและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสำหรับปี ค.ศ. 2030 ซึ่งวัตถุประสงค์หลักเป็นไปเพื่อนำอียูสู่การเป็นเศรษฐกิจพึ่งพาคาร์บอนต่ำที่มีความมั่นคง ยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขัน สาระสำคัญของเป้าหมายด้านพลังงานและสภาพอากาศสำหรับปี ค.ศ. 2030 ที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอ ได้แก่

1) ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี ค.ศ. 2030 ลงร้อยละ 40 ของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่วัดได้ในปี ค.ศ. 1990

2) เพิ่มเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากเดิมร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 27 ของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด

3) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจและสังคมพึ่งพา

4) การปฏิรูประบบการลดการปล่อยก๊าซด้วยกลไกตลาด หรืออียูอีทีเอส (Emission Trading Scheme; EU ETS) ที่ใช้การซื้อขาย สิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศสมาชิก ในตลาดคาร์บอนของอียูเป็นกลไกในการดำเนินการ

Read more…– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Note taker (ผู้ทำหน้าที่จดบันทึก)

Note taker  หรือ ผู้จดบันทึก ในแง่ของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นั้น เป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะต้องทำหน้าที่ในการจดบันทึกข้อมูลและความรู้จากการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ สรุปบทเรียน ถอดบทเรียน

สิ่งที่จดบันทึกนั้น เป็นข้อมูลและองค์ความรู้ที่สำคัญยิ่งที่ได้รับจากการแบ่งปันของสมาชิกใน กลุ่มที่ร่วมกิจกรรม ผู้ที่ทำหน้าที่ Note taker ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Deep listening) จับประเด็นความรู้ที่เป็นความรู้ปฏิบัติ มีความรู้ ความเข้าใจในสาระของเรื่องที่จดบันทึก ซึ่งผู้ที่เป็น Note taker ควรจะเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มนั้น หรือเป็นคนในกลุ่มเดียวกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ เพราะจะได้เข้าใจและใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสารที่ตรงกับกลุ่มได้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสะท้อนประเด็นที่ต้องการได้ จดบันทึกโดยคงภาษาหรือคำพูดเดิมของผู้เล่าได้ เพื่อไม่ให้ความหมายผิดเพี้ยน ไม่ต่อเติมเสริมแต่งหรือข้อความหรือใส่ความคิดเห็นของตนเอง เป็นผู้ที่สามารถหยุดหรือขัดจังหวะการเล่าเรื่องอย่างมีเทคนิค เพื่อสอบถามหรือตรวจทานความถูกต้องของประเด็นที่สกัดออกมาได้จากเรื่องเล่า แต่ละเรื่องของกลุ่ม

รายการอ้างอิง

ประศักดิ์ หอมสนิท อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. 2554. Facilitator/Note Taker และชุมชนนักปฏิบัติ. สืบค้นจาก http://km.feu.ac.th/download/ควาามรู้เรื่องชุมชนนักปฏิบัติ.pdf เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557.

วิทยาลัยเชียงราย. คณะกรรมการจัดการความรู้ 2555. คู่มือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) สืบค้นจาก http://www.crc.ac.th/KM/KM_manual.pdf เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557.– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สปาสมุนไพร รักเท้า รักษ์โลก

ในยุคที่สปาสุขภาพกำลังเฟื่องฟู “สปาเท้าด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติ” ก็ได้รับความนิยมไม่น้อยหน้า บางคนเลือกใช้บริการผู้อื่น แต่บางคนเลือก ซื้อผลิตภัณฑ์มาทำเองถูกกว่าเยอะ ถ้าสามารถเลือกวิธีที่ไม่ลงทุนมาก ก็สามารถทำได้ โดยมารู้วิธีทำ สปาด้วยสมุนไพร สำหรับเท้ากัน
วิธีทำ

  1. นำเครื่องต้มยำ เท่าที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ขิง ตะไคร้ ใบโหระพา สาระแหน่ ใบมะกรูด มะกรูดหั่นแว่น ขมิ้น มะนาว ฯลฯ มาหั่นแบบไม่ต้องละเอียด (ยกเว้นตะไคร้ที่ควรซอยละเอียด เพื่อไม่ให้คมใบบาดเท้า)
  2. เทเครื่องต้มยำ + น้ำ ใส่อ่างแช่เท้า (น้ำร้อน 1 ขัน : น้ำเย็น 2 ขัน)
  3. ระหว่างแช่ ใช้เท้าโกยสมุนไพรมาขัดถูไปมา ระหว่างถูจะมีน้ำมันระเหยออกมาจากสมุนไพรกลิ่นของน้ำมันจะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น
  4. หลังแช่เท้าเสร็จแล้ว สามารถนภไปรดน้ำต้นไม้ต่อแถมสมุนไพรยังเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้อีกด้วย

แหล่งที่มา : “Green Living : สปาสมุนไพร…รักเท้า รักษ์โลก”. สารคดี. 28(329) : 46. (กรกฎาคม 2555).– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อาหารสำเร็จรูปให้โทษต่อร่างกาย จริงหรือไม่

รู้หรือไม่ว่า อาหารสำเร็จรูปที่สามารถซื้อหาได้ตามท้องตลาดทั่วไปนั้น มีส่วนประกอบบางอย่างที่ไม่ใช่อาหารตามธรรมชาติ แต่มีสารปรุงแต่งและวัตถุกันเสียเป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น

กระบวนการที่สำคัญที่สุดของอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปคือ การปรุงแต่งรสชาติในห้องทดลองโดยนักเคมีอาหาร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้อาหารเก็บไว้ได้นานที่สุด และมีรสชาติโดดเด่นที่สุด จากนั้นเป็นกระบวนการผลิตอันซับซ้อน และเนื่องจากต้องการให้ผู้บริโภคติดใจรสชาติ และซื้อเป็นประจำ อาหารสำเร็จรูป/แปรรูปจึงมักเติมสารให้ความหวาน เกลือ สารปรุงแต่งรสชาติ ไขมันสังเคราะห์ สารถนอมอาหาร สีผสมอาหาร และสารเคมีสารปรุงแต่งลักษณะอาหารปริมาณมาก แล้วจึงถึงขึ้นสุดท้ายคือ การใส่บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม เพื่อกระตุ้นให้คุณอยากซื้อสินค้า กระบวนการผลิตอันซับซ้อนนี้เกิดขึ้นในโรงงานที่ทันสมัย ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปเป็นธุรกิจที่มีกำไรมหาศาล

Read more…– ( 552 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเรียนรู้ของเด็กระหว่างหน้าจอทดแทนกระดาษ

การวิจัยหลายเรื่องชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้ของเด็กๆ ทารกที่ใช้หน้าจอทดแทนกระดาษนั้น มีข้อเสียที่เราไม่ควรมองข้าม

ปี พ.. 2555 สถาบันโจอันแกนซ์คูนีย์ในนครนิวยอร์ก ได้ทดสอบพ่อแม่ 32 คู่ที่มีลูกๆ อายุ 3-6ปี พบว่า เด็กๆ ที่อ่านนิทานบนกระดาษสามารถจดจำรายละเอียดได้ดีกว่ากลุ่มเด็กที่อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ และเกมส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีเสียงระฆังเสียงหวูดที่คอยดึงความสนใจของเด็กๆ ออกจากเนื้อหานิทานไปเล่นตัวอุปกรณ์นั้นเอง

ในการสำรวจติดตามผลพ่อแม่ 1,226 คน พ่อแม่เหล่านี้ยัง นิยมอ่านหนังสือนิทานกับลูกหลานด้วยกันมากกว่าการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ในเดือนกันยายน พ.. 2556 มีรายงานผลการศึกษาที่เหมือนกันแทบทุกประการใน Mind, Brain, and Education โดย จูเลีย แพร์ริช-มอร์ริส (Julia Parrish-Morris) และเพื่อนร่วมวิจัยพบว่า เมื่อพ่อแม่ช่วยกันอ่านหนังสือนิทานให้เด็กๆ อายุ 3 และ 5 ขวบฟัง พ่อแม่จะคอยเล่าเรื่องชีวิตที่ผ่านมาให้ลูกหลานฟังไปด้วย แต่เมื่อมานั่งอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีทั้งภาพและเสียง พ่อแม่จะเสียจังหวะการอ่านนิทานแบบนี้ เพราะมัวคอยห้ามเด็กๆ ไม่ให้กดปุ่มนั้นปุ่มนี้ และมักเสียจังหวะเล่าเรื่องเสมอ การเสียสมาธิการอ่านแบบนี้ทำให้เด็กทารก 3 ขวบ ไม่เข้าใจแม้แต่ใจความสำคัญของนิทาน ในขณะที่เด็กทุกคนที่อ่านหนังสือนิทานกลับติดตามเรื่องราวได้ดี

ที่มา:

Ferris Jabr. “Why the Brain Prefers Paper.” Scientific American, November 2013 :

 – ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภัยใกล้ตัว…มลพิษขณะใช้รถใช้ถนน

Published on March 12, 2014 by in Health

ปัจจุบันรถยนต์บนถนนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กำลังเปลี่ยน แปลงชีวิตคนตามหัวเมืองใหญ่ทีละน้อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศจากรถยนต์กันมากขึ้น

มลพิษในอากาศตามเมืองใหญ่นั้น มีผลอย่างมากต่ออัตราการเสียชีวิตของประชากร เชื่อว่ามีมลพิษบางชนิดส่งผลกระทบให้เกิดภาวะอักเสบในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง มลพิษเหล่านี้ยังทำให้เกิดการอักเสบในปอด ซึ่งทำให้เกิดโรคปอดชนิดต่างๆ ในประเทศไทยนั้นเอง รวมถึงเขตอุตสาหกรรมก็มีปัญหามลพิษในอากาศเช่นกัน

Read more…– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การทำเกษตรในระบบโรงเรือนและการบริหารจัดการแบบครบวงจร

ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส สวทช. ได้จัดการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทำเกษตรในระบบโรงเรือนและการบริหารจัดการแบบครบวงจร ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กับเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง จ. อุบลราชธานี

สถานีความรู้แห่งแรก คือ สวนอีเดน เพื่อเรียนรู้รูปแบบการปลูกพืช ท้ังแบบไฮโดรโปนิกส์ แบบโรงเรือน และแบบขั้นบันได การวางระบบน้ำ และคลุมแปลงปลูกด้วยพลาสติกสีดำ เพื่อความสะดวกในการจัดการน้ำและวัชพืชในแปลงปลูก พืชที่ปลูก ได้แก่ ผักสลัด พืชผัก สมุนไพร ไม้ดอกและไม้ประดับ

สถานีความรู้ถัดมา คือ บจก. สามเหลี่ยมเมล็ดพันธุ์ จ. ลำพูน เพื่อศึกษาเทคนิคการเก็บเมล็ดพันธุ์ เช่น ผักสลุด มะเขือเทศ เมล่อน พริก ถั่วพู ผักปลัง รวมทั้งให้คำแนะนำการปลูกเมล่อน ซึ่งมีรสชาติหวานกรอบ ทนต่อสภาพอากาศ ดูแลรักษาง่าย คล้ายกับการปลูกแตงไทย โดยปล่อยให้เถาเลื้อยไปตามพืน ไม่ต้องทำค้าง แต่ต้องยกพื้นแปลงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อป้องก้นน้ำท่วมขังราก เทคนิคการปลูกแอปเปิ้ลเมล่อนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ คือ อย่าให้ติดลูกใกล้ต้น ควรปล่อยให้เมล่อนติดลูกตั้งแต่ข้อที่ 10 ขึ้นไป เพื่อให้ผลเมล่อนไม่แตกก่อนการเก็บเกี่ยว และได้ขนาดผลที่ตลาดต้องการ

สถานีสุดท้าย หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและห้วยน้ำผัก อ. นาแห้ว จ.เลย เรียนรู้การทำเกษตรบนพื้นที่สูง (สตรอว์เบอรรี่ มะคาเดเมีย) รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน การปลูกสตรอว์เบอรรี่เป็นที่นิยมมากที่บ้านห้วยน้ำผัก เพราะลักษณะพื้นที่เป็นเนินเขาอากาศค่อนข้างเย็น ส่วนบ้านบ่อเหมืองน้อยการแปรรูปมะคาเดเมีย

รายการอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สำนักพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.  Newsletter สำนักพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี vol.8. 2557.– ( 85 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments