โครงการศึกษาดูงานด้านยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) และระบบขนส่งอัจฉริยะ Smart Mobility)
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2561 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้เข้าร่วมการศึกษาดูงานโครงการศึกษาดูงานด้านยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ณ ราชอาณาจักรเบลเยียม ร่วมกับคณะจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมเศรษฐกิจ กระทรวงต่างประเทศ โดยได้เข้าพบผู้แทนจากคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการคมนาคม (DG MOVE) เพื่อเข้ารับฟังการบรรยายเกี่ยวกับนโยบายด้านการขนส่งของสหภาพยุโรป และได้เยี่ยมชมบริษัท ยูมิคอร์ S.A. เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการรีไซเคิลแบตเตอรี่และเทคโนโลยีด้าน Battery Storage และ UHT Battery Smelter
การประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการคมนาคม (DG MOVE)
อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภาคเอกชนของอียู ที่มีความรุดหน้าในทุกวันนี้ หัวใจสำคัญคือการทุ่มด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก นโยบายของอียูเน้นให้การสนับสนุนภาคเอกชนผ่านการส่งเสริมด้านงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถและทักษะความเชี่ยวชาญให้กับบุคลากร รวมทั้งให้ข้อมูลความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ พร้อมให้ความสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาระบบชาร์ตไฟสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในปัจจุบันสหภาพยุโรปมีกรอบการดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ชื่อ 2030 “Climate & Energy Framework” โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกอียูจะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2573
- กำหนดสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยต้องลดลงร้อยละ 15% ภายในปี 2568 และร้อยละ 30 ภายในปี 2573
- กำหนดสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่หรือระบบไฮบริดร้อยละ 30 ของจำนวนการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573
การเยี่ยมชมบริษัทยูมิคอร์ (Umicore)
บริษัทยูมิคอร์ได้ลงทุนที่เหมราช จังหวัดระยอง ผลิตรถ 2 ล้านคันต่อปี ยูมิคอร์ ได้วิจัยหลัก 5 สาขา ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมของบริษัท ยูมิคอร์ ได้แก่
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology)
- การปรับปรุงกระบวนการทางเทคนิค (Technical Process Improvement)
- การปรับปรุงกระบวนการที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (Non-Technical Process Improvement)
- การพัฒนาธุรกิจใหม่ (New Business Development)
- สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย (Environment, Health & Safety)
การจัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการการเขียนข้อเสนอโครงการของสหภาพยุโรป Horizon 2020 และ Horizon Europe (FP9)
ความสำคัญของโครงการ EU Horizon 2020 และ Horizon Europe (FP9) ซึ่งเน้นงานวิจัยและนวัตกรรม 3 ด้าน คือ 1. ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (excellent Science) 2. ความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม (industrial leadership) และ 3. ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสังคม (societal challenges)
รายละเอียดของการประชุม วัตถุประสงค์ของการอบรมเชิงปฏิบัติการมี 3 ข้อหลัก คือ
- เพื่อให้นักวิจัยไทยได้เรียนรู้โดยตรงจากผู้มีประสบการณ์ ในการส่งข้อเสนอโครงการในการขอทุนระดับยุโรป
- เพื่อให้นักวิจัยไทยได้ปฏิบัติการจริง ในการส่งข้อเสนอโครงการในการขอทุนระดับยุโรป
- แนะแนวทางที่ตรงจุด และตรงใจคณะกรรมการผู้ประเมินการให้ทุน เพื่อเพิ่มโอกาสการได้รับทุน ในการส่งข้อเสนอโครงการในการขอทุนระดับยุโรป
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190226-newsletter-brussels-vol12-61.pdf