การเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนา เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การวิจัยและพัฒนาอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามแนวทางจริยธรรมการวิจัยและกฏหมายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่พึงตระหนัก สวทช. ได้จัดตั้งฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (The Office of Research Integrity, ORI) เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งรับผิดชอบในการรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนทางด้านพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research Misconduct) เพื่อนำเรื่องร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการสืบสวนและพิจารณาต่อไป
Research integrity หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริตในการวิจัย โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ แนวทาง มาตรฐานวิชาชีพ และหลักจริยธรรมการวิจัย ซึ่งในทางปฏิบัติ คือ การทำวิจัยในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในวิธีการทดลองที่ใช้และผลการวิจัยที่เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
- ความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ในการนำเสนองานวิจัย การทำวิจัย และการรายงานผลวิจัย
- การแจ้งหรือประกาศการขัดกันของผลประโยชน์ (Conflicts of Interest)
- ความถูกต้องและเป็นธรรม ในการมีส่วนร่วมต่อข้อเสนอโครงการวิจัยและการรายงานผล
- การปกป้องคุ้มครองอาสาสมัครตามหลักจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์
- การดูแลและปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมตามหลักจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
- การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มวิจัยในเชิงวิชาการ การสื่อสาร และการแบ่งปันข้อมูลหรือทรัพยากร
- ความยึดมั่นต่อการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างที่นักวิจัยที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงและผู้ฝึกปฏิบัติงาน
- ความเชี่ยวชาญและเป็นธรรมในการตรวจทานงานวิจัย
ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ได้จัดทำ ระเบียบสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่าด้วยจริยธรรมการวิจัยและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย พ.ศ.2563 ขึ้น โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สวทช. และได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เนื้อหาว่าด้วย ข้อบังคับ ระเบียบ การกำหนดความรับผิดเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยเป็นการเฉพาะ การประพฤติมิชอบทางการวิจัย เช่น การลักลอกข้อมูลการวิจัย (Plagiarism) การลักลอกข้อมูลการวิจัยของตนเอง (Self-plagiarism) การปลอมแปลงข้อมูลการวิจัย (Falsification) และ การแต่งข้อมูลการวิจัยขึ้นเอง (Fabrication) เป็นต้น
- ระเบียบสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่าด้วยจริยธรรมการวิจัยและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย พ.ศ.2563 |
- ประกาศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง แนวปฏิบัติการวิจัยที่เกี่ยวโยงกับจริยธรรม สำหรับผู้วิจัย
- ประกาศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง แนวปฏิบัติการบริหารโครงการวิจัยที่เกี่ยวโยงกับจริยธรรมการวิจัย
- คู่มือการใช้ แบบการเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรับรองการรักษาความลับในโครงการวิจัย
- แนวทางการบริหารผลประโยชน์ทับซ้อนในการวิจัย
- ประกาศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง นโยบายด้านการบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย
- รายงานการประชุมวิชาการนานาชาติ “International Forum: Research Integrity – Challenges and Solutions” ( 5 สิงหาคม 2565)
- รายงานการประชุมวิชาการนานาชาติ “International Forum on Research Integrity in the Developing World” (16 สิงหาคม 2564)
- คณะกรรมการจริยธรรมของ UNESCO เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาด้านจริยธรรมของ COVID-19 certificates
- รายงานการประชุมเสวนาโต๊ะกลม จริยธรรมในปัญญาประดิษฐ์ – ก้าวสู่ Trustworthy AI (7 กุมภาพันธ์ 2563)
- รายงานการประชุมเสวนา เรื่อง “วิกฤติ COVID-19 กับมาตรการการรับมือที่เข้มข้น ภายใต้จริยธรรมที่เข้มแข็ง” (2 มิถุนายน 2563)
- คำแถลงเรื่องโควิด-19 (COVID-19): ข้อพิจารณาด้านจริยธรรมจากมุมมองระดับโลก ฉบับภาษาไทย โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
- รายงานการประชุมนานาชาติ เรื่อง The Ethics of Science & Technology and Sustainable Development (5-6 กรกฎาคม 2562)
- การจัดประชุมนานาชาติ เรื่อง Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development
- สารจากประธานคณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
- นโยบายจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของ สวทช. (NSTDA-IRB)
-
Guideline
- วิวัฒนาการของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- แนวทางจริยธรรม การทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. 2550
- แนวทางปฏิบัติการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการประชุมสัมมนา
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (หลักเกณฑ์เครื่องมือแพทย์)
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (หลักเกณฑ์คลินิกเกี่ยวกับยา)
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (หลักเกณฑ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพร)
- Ethical and GCP Aspects of Clinical Trials
- Biomedical Research Involving Human Subjects
- Guideline for Good Clinical Practice E6(R1)
- Guideline for Good Clinical Practice E6(R2)
- ICH Good Clinical Practice Guideline (TH) (ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งแรกปี 2552)
- JAMA- WorldMedical Association Declaration of Helsinki
- National Policy Guidelines for Human Research 2015
- NRCT- แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ (วช.) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2
- NUREMBERG CODE (1947) (TH)
- The Belmont Report (TH)
- WHO – CIOMS-Ethical Guidelines 2016
- WHO – Guidelines for ECs that Review Biomedical Research
- WHO – HANDBOOK FOR GOOD CLINICAL RESEARCH PRACTICE (GCP)
- WHO – Research ethics committees
- WHO -Standards and Operational Guidance for Ethics Review of Health-Related Research with Human Participants
- WMA Declaration of Helsinki – Ethical Principla for Medical Research Involving Human Subject
- WHO tool for benchmarking ethics oversight of health-related research involving human participants
NSTDA-IRB SOP Version 02.0 [NEW]
- วิธีดำเนินการมาตรฐาน (ฉบับเต็ม)
- บทที่ 1 การเตรียมวิธีดำเนินการมาตรฐาน
- บทที่ 2 องค์ประกอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- บทที่ 3 การบริหารจัดการกับโครงการวิจัยที่ยื่นขอรับการพิจารณา
- บทที่ 4 การทบทวนและประเมินโครงการวิจัย
- บทที่ 5 การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แบบยกเว้นและแบบเร่งด่วน
- บทที่ 6 การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แบบเต็มคณะ
- บทที่ 7 การพิจารณาโครงการวิจัยเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
- บทที่ 8 การพิจารณาโครงการวิจัยที่ส่งเข้ามาใหม่ ภายหลังการแก้ไข
- บทที่ 9 การประเมินต่อเนื่องของโครงการวิจัยที่ผ่านการรับรอง
- บทที่ 10 การตรวจเยี่ยม
- บทที่ 11 การเตรียมระเบียบวาระการประชุม การจัดประชุม และรายงานการประชุม
- บทที่ 12 การบันทึกการติดต่อสื่อสาร
- บทที่ 13 การบริหารจัดการเอกสารโครงการวิจัย
- บทที่ 14 การตรวจเยี่ยมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- บทที่ 15 ความร่วมมือกับคณะกรรมการจริยธรรมอื่น
- บทที่ 16 การพิจารณาโครงการวิจัยในสภาวะฉุกเฉิน
โครงการวิจัยที่ยื่นเสนอครั้งแรก
โครงการวิจัยที่ผ่านการรับรองแล้ว
ครั้งที่ |
กำหนดการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาโครงการวิจัย |
กำหนดปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย |
---|---|---|
1/2567 | 20 กุมภาพันธ์ 2567 | 2 มกราคม 2567 |
2/2567 | 23 เมษายน 2567 | 1 มีนาคม 2567 |
3/2567 | 18 มิถุนายน 2567 | 1 พฤษภาคม 2567 |
4/2567 | 15 สิงหาคม 2567 | 1 กรกฎาคม 2567 |
5/2567 | 22 ตุลาคม 2567 | 2 กันยายน 2567 |
6/2567 | 24 ธันวาคม 2567 | 1 พฤศจิกายน 2567 |
กำกับดูแลให้งานวิจัยด้านชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์และงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และสิ่งมีชีวิตที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม มีมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสากล และเพื่อควบคุมดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
- สรุปงานกิจกรรม
- โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
-
เอกสารประกอบการบรรยาย
- Clinical Investigation/ Clinical Performance Regulation
- แนวทางการจัดเตรียมเอกสารสาหรับขึ้นทะเบียน เครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Devices)
- ใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์
- การจัดประเภทเครื่องมือแพทย์ตามความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์ที่มีกาลัง (Active Medical Devices)
- Summary of Design Verification and Validation Documents
- การวินิจฉัยผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ (Borderline)
- วงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์ (Medical device life cycle)
- แนวทางการวินิจฉัยประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ (Software) (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พ.ย.65)
- รับชมย้อนหลัง
เมื่อวันที่ 15-17 มกราคม 2563 ณ ห้องออดิทอเรียม (CO-113) อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (The Office of Research Integrity, ORI) สวทช. ร่วมกับ ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย (Forum for Ethical Review Committees in Thailand (FERCIT)) และมูลนิธิชิดเคอร์-เฟอร์แคฟ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ (The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committees in Asia and the Western Pacific (FERCAP)) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ ได้จัดการอบรมในหัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ Human Research Ethics)”
- กิจกรรม “คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในสัตว์ทดลอง เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 ณ ห้องริมสวน 1 อาคาร NECTEC อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
- การอบรมแนวทางการใช้สัตว์ทดลองและสถิติสำหรับการวิจัยที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุม CO 113 อาคารส านักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
- งานบรรยาย เรื่อง “จริยธรรมในการวิจัย…สำคัญอย่างไร” เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 จัดโดยฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ร่วมกับศูนย์นาโนเทค
จัดขึ้นวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี งานเสวนาฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าฟังเสวนาฯ ตระหนักถึงจริยธรรมการวิจัย รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง Plagiarism และควรต่อยอดงานวิจัยอย่างไร เพื่อลดโอกาสจากการทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
จัดขึ้นวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม A โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2561 เวลา 13.30-15.30 น ณ ห้องออดิทอเรียม 113 อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 8.30-13.30 น. ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร ร่วมจัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
แนะนำหลักสูตรด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย สวทช.
E-Learning ชุดที่ 1
1. หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัย 01 (Research Integrity 01)”
รวบรวมสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ได้แก่
- Fabrication : การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
- Falsification : การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
- Plagiarism : การคัดลอกงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ วรรณกรรม หรือข้อเสนอโครงการ ของผู้อื่น โดยไม่อ้างถึงแหล่งข้อมูล
พร้อมทั้งยกตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัยในแบบต่างๆ รวมไปถึงแนะนำโปรแกรมตรวจสอบความคล้ายของผลงานทางวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งประโยชน์และความสำคัญของการอ้างอิงข้อมูล เพื่อให้นักวิจัยอาวุโส นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ผู้ช่วยวิจัย ของ สวทช. และบุคคลภายนอก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในจริยธรรมการวิจัย เพื่อเป็นแบบอย่างในการทำงานที่มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้
จึงขอเชิญชวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นักวิเคราะห์โครงการ และผู้ที่สนใจ รับชม E-Learning ดังกล่าว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องจริยธรรมการวิจัย และเป็นส่วนหนึ่งของการรักษามาตรฐานในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไป
หลักสูตรการเรียนรู้ ชุดที่ 1 ดังนี้
Link บทเรียน
2. หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง จรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558
จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมไปถึงสร้างความตระหนัก ให้แก่นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย นักวิเคราะห์โครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อเนื้อหาในหลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ ประกอบไปด้วย
1. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ IACUC
2. คำจัดกัดความของ “สัตว์” และประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
3. ลักษณะงานทางวิทยาศาสตร์ เช่น งานวิจัย งานทดสอบ และการดัดแปลงพันธุกรรม เป็นต้น
4. จรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
5. หลักเกณฑ์และหน้าที่ของผู้ใช้สัตว์/ผู้ผลิตสัตว์/ผู้รับผิดชอบสถานที่ดำเนินการ
6. แบบสำรวจโครงการวิจัยที่เข้าข่ายการวิจัยในสัตว์ และแผนผังแนวทางการยื่นข้อเสนอโครงการ
หลักสูตรการเรียนรู้ เรื่อง จรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ดังนี้
Link บทเรียน
3. หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัย 02 (Research Integrity 02)”
หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ ที่รวบรวมเนื้อหาและตัวอย่างกระทำที่ถือว่าเข้าข่ายการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย ได้แก่
- การลักลอกความคิดและผลงานการวิจัย (Plagiarism)
- การปลอมแปลงข้อมูลการวิจัย (Falsification)
- การแต่งข้อมูลการวิจัยขึ้นเอง (Fabrication)
และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย รวมไปถึงวิธีการป้องกัน นโยบาย และช่องทางการร้องเรียน เมื่อมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยเกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากร สวทช. กลุ่มวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม บุคลากรกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นักศึกษา และบุคคลภายนอก ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย และไม่ประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยหวังว่า งานวิจัยที่แล้วเสร็จ จะมีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับ และสามารถทำซ้ำได้
หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง “จริยธรรมการวิจัย 02 (Research Integrity 02)” ดังนี้
Link บทเรียน
4. หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)”
หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ ที่รวบรวมเนื้อหาและสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเมื่อจะดำเนินการวิจัยในมนุษย์ เช่น หลักจริยธรรมพื้นฐานของการวิจัยในมนุษย์ ได้แก่
- หลักความเคารพในบุคคล (Respect for Persons)
- หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (Beneficence)
- หลักความยุติธรรม (Justice)
รวมถึง ตัวอย่างลักษณะงานวิจัยที่ถือว่าเข้าข่ายการวิจัยในมนุษย์ กระบวนการขอความยินยอม การพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยง และการคัดเลือกอาสาสมัคร เป็นต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากร สวทช. กลุ่มวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม บุคลากรกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นักศึกษา และบุคคลภายนอก ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักจริยธรรมพื้นฐานของการวิจัยในมนุษย์ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยให้ถูกต้อง รวมทั้งสามารถคุ้มครองดูแลและรักษาสวัสดิภาพของอาสาสมัครอย่างสม่ำเสมอตลอดการศึกษาวิจัย เพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพและมาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” ดังนี้
Link บทเรียน
หากท่านมีคำถาม หรือคำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตร กรุณาติดต่อ ori@nstda.or.th
เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ สวทช. ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และเชื่อถือได้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นช่องทางให้แก่ ผู้วิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวิจัย สามารถสอบถาม แจ้งข้อกังวล หรือดำเนินการร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย สิทธิ และกระบวนการทบทวนด้านจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ได้แก่
1. กรณีที่เป็นพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายการประพฤติมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct)
1. Fabrication การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
2. Falsification การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
3. Plagiarism การคัดลอกงานวิจัยของตนเองและผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างถึง แหล่งข้อมูลที่ได้มา
4. อื่นๆ
2. กรณีที่เป็นโครงการวิจัยที่อาจมีการดำเนินงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้านจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือ ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นต้น
3. กรณีที่คณะกรรมการด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย มีการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือ ต้องการอุทธรณ์มติของคณะกรรมการฯ หรือ สอบถามและร้องเรียนเกี่ยวกับกระบวนการทบทวนด้านจริยธรรมการวิจัยของคณะกรรมการฯ โดยคณะกรรมการด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ของ สวทช. ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NSTDA-IRB) คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (NSTDA-IACUC) คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ (NSTDA-IBC) และคณะกรรมการจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ (NSTDA-AIEC)
ท่านสามารถแจ้งเบาะแสและร้องเรียนด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ผ่านทางช่องทางที่ให้ไว้ด้านล่าง
ทั้งนี้:
1. สวทช. จะรักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนต่อสาธารณชน
2. ข้อมูลการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนที่ระบุต้องเป็นความจริง
3. หากข้อมูลไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตรวจสอบและสืบหาข้อเท็จจริงได้ สวทช. จะยุติเรื่อง และเก็บบันทึกเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
4. ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนสามารถเลือกเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ระบุชื่อ-สกุล หรือ อีเมลของท่าน อย่างไรก็ตาม การให้ชื่อและอีเมลจะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
1. รายละเอียดเบาะแสหรือข้อร้องเรียนด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. (โปรดแนบหลักฐานเพิ่มเติม)*
2. อีเมล์
3. ชื่อ-สกุล
หมายเหตุ: ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน ข้อ 2) อีเมล และ 3) ชื่อ-สกุล ผู้แจ้งเบาะแสสามารถละเว้นไว้หรือใช้อีเมลแฝง/นามแฝงได้ อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลในการติดต่อกลับ จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ท่านสามารถส่งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของท่านมาที่อีเมล์: ORI2@nstda.or.th
หรือแจ้งเบาะแสผ่านทางระบบออนไลน์ คลิก
ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
Email: QRI@nstda.or.th
โทรศัพท์: 0-2564-7000 ต่อ 71843-44,71834