หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2561
รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2561
11 ก.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2561

โครงการความร่วมมือ InTBIR เพื่อพัฒนาการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง
ที่มาของโครงการ
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้งเริ่มจากมีผู้ป่วยภาวะบาดเจ็บทางสมองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุหลักของภาวะบาดเจ็บทางสมองคือ อุบัติเหตุบนท้องถนน หล่นจากที่สูง และได้รับแรงกระแทกขณะเล่นกีฬา
รูปแบบการทำงาน
โครงการความร่วมมือ InTBIR มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อหลักคือ
1.การศึกษาโดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตุการใช้วิธีการรักษาแล้วนำผลการรักษามาเปรียบเทียบเพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษา
2.รวบรวมและแบ่งปันข้อมูล เนื่องจากแต่ละประเทศมีประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการส่งต่อข้อมูลระหว่างประเทศ
3.ต่อยอดการศึกษา ปัจจุบันโครงการความร่วมมือ InTBIR มีองค์กรที่เข้าร่วมสมาชิก 5 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป สถาบันวิจัยสุขภาพของแคนาดา สถาบันสุขภาพแห่งชาตของสหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหมสหรัฐ และองค์กรการกุศล One Mine
การประชุมคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 21

ความเป็นมาและภาพรวม
คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา เป็นคณะกรรมาธิการเฉพาะด้านของสหประชาชาติ ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่ให้คำปรึกษาระดับสูงและข้อเสนอแนะแก่สมัชชาใหญ่ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในระบบสหประชาชาติ โดยเฉพาะบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 43 ประเทศ ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมสมัยที่ 18 เป็นสมัยแรก เมื่อวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2558 สำหรับการประชุมสมัยที่ 21 หัวข้อหลักคือ
1.บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญภายในปี ค.ศ.2030
2.การสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่และอุบัติใหม่ โดยมุ่งเน้นมิติด้านเพศและด้านเยาวชน
บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน
“บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน” โดยหัวข้อว่า “จากโลกสู่ท้องถิ่น : การสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท”

ความก้าวหน้าในการอนุวัตและติดตามผลลัพธ์การประชุม World Summit on the Information Society
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลมีนัยต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วนต้นทุนที่ลดลงของ hard drive storage ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ได้แก่ วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data analytics) การพิมพ์สามมิติ (3D printing)
การสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่และอุบัติใหม่โดยมุ่งเน้นมิติด้านเพศและด้านเยาวชน
ทักษะดิจิทัลแบ่งเป็น 4 ระดับ คือการรับเทคโนโลยี (adoption) ระดับที่สองคือการใช้งานขั้นพื้นฐาน (basic use) ระดับที่สามคือการใช้งานเชิงสร้างสรรค์และการดัดแปลงเทคโนโลยี (creative use and adaptation of technologies) และระดับสูงสุดคือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีสมัยใหม่ (creation of new technologies)
การทบทวนนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรอบการดำเนินงานใหม่คือ “นวัตกรรมมีส่วนมาน้อยแค่ไหนในการจัดการปัญหาท้าทายหลักๆ ของสังคม?” กรอบการดำเนินงานใหม่ควรปรับลักษณะเฉพาะให้เป็นภาพสะท้อนเชิงยุทธศาสตร์ที่วางแนวการทบทวนตามความยั่งยืน มีทิศทางแน่นอน ขยายการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางขึ้น คำนึงถึงแนวทางใหม่ๆ ของการสร้างนวัตกรรม และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงนโยบาย
บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญภายในปี ค.ศ.2030
สำหรับรัฐบาลประเทศสมาชิก : เพิ่มการสนับสนุนกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ส่งเสริมการใช้พลังงาน
หมุนเวียนทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม
สำหรับประชาคมนานาชาติ : อำนวยความสะดวกกิจกรรมวิจัยร่วมระดับนานาชาติและระดับภูมิภาครวมถึงการพยากรณ์แนวโน้ม และการใช้แนวทางแบบองค์รวม ระหว่าง น้ำ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190619-newsletter-brussels-v8-aug61.pdf

11 ก.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: