หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2562
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2562
17 ธ.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2562

ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปหญิงคนแรกกับวาระการแก้ปัญหาโลกร้อน

รัฐสภายุโรปได้มีการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการยุโรปคนใหม่ คือ นาง Ursula von der Leyen ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรปผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ และเป็นชาวเยอรมันคนแรกที่เข้ารับตำแหน่งนี้ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา

การผลักดันวาระด้านสิ่งแวดล้อม

นาง Ursula von der Leyen ได้ประกาศว่า ตนเองจะผลักดันนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศภายใน 100 วันแรกที่รับตำแหน่ง การสร้างสังคมไร้มลพิษถือเป็นความท้าทายและเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ และได้เสนอแผนปรับเปลี่ยนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 50 เพิ่มเป็น ร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงการร่างแผนสังคมสีเขียวสำหรับยุโรป และร่างกฎหมายสภาพภูมิอากาศแห่งยุโรป นอกจากนี้จะผลักดันการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยจะจัดสรรงบและทรัพยากรบางส่วนจากธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (The European Investment Bank, EIB) เพื่อจัดตั้ง Climate bank เพื่อจัดงบลงทุนสูงถึง 1 ล้านล้านยูโรในโครงการต่างๆ ที่จะช่วยจัดการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และท้ายสุดจะประกาศใช้มาตราการการจัดเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรหมแดนฉบับใหม่ โดยหวังว่าท้ายสุดจะผลักดันให้ยุโรปเป็น “ทวีปที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” (Carbon-neutral continent) ให้ได้ภายในปี ค.ศ.2050

ปฏิกิริยาต่อข้อเสนอของนาง Ursula von der Leyen

ถึงแม้ประชาชนทั่วไปจะรู้สึกว่าวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่นและจริงจังในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้อำนวยการของ IDDRI ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำการค้นคว้า ศึกษา วิจัย วิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้านสภาพภูมิอากาศของฝรั่งเศส กล่าวว่า ความมุ่งมั่นในการยกระดับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ในทางกลับกันสมาชิกรัฐสภายุโรปที่ไม่สนับสนุนกล่าวว่าข้อเสนอที่ประกาศในที่ประชุมยังไม่เพียงพอในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไม่ได้เสนอแผนงานที่ชัดเจนว่ายุโรปจะปฏิบัติตามความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้ลงนาม ณ กรุงปารีส ไว้อย่างไร บางท่านกล่าวว่าข้อเสนอด้านสิ่งแวดล้อมไม่ได้ช่วยยกระดับมาตรการในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

คุณประโยชน์ที่น่าค้นหาจากแมงกะพรุน

แมงกะพรุนเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดใหญ่ อยู่ในไฟลัมไนดาเรีย มีรูปร่างคล้ายระฆัง ร่ม หรือจาน ตัวแมงกระพรุนประกอบด้วยส่วนลำตัวด้านบนมีลักษณะโปร่งใสรูปร่างคล้ายร่ม โดยมีส่วนที่เป็น หนวดอยู่บริเวณขอบร่ม และปากอยู่ด้านล่างของร่ม และมีขาอยู่รอบปากทำหน้าที่ปกป้องปาก หรือช่วยในการกินอาหาร แมงกะพรุนพบมากในทะเลแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 17 สายพันธุ์
  
โมเลกุลต่างๆ ที่พบในแมงกะพรุน

แมงกะพรุนมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์และมีรสชาติดีหากปรุงให้สุก นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้

คอลลาเจน

คอลลาเจน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนทั่วๆ ไปเช่นเดียวกับเอนไซม์ เส้นใยคอลลาเจนมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย คอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน สหราชอาณาจักรได้ทำการวิจัยศึกษาคอลลาเจนจากแมงกะพรุน และพบว่าแมงกะพรุนอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในการสร้างเนื้อเยื่อ เพราะคอลลาเจนที่ได้จากแมงกะพรุนสามารถเข้ากับเซลล์หลากหลายประเภทของมนุษย์

สารต้านอนุมูลอิสระ

ได้มีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแมงกะพรุน โดยทำให้คอลลาเจนจากแมงกะพรุนแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารที่สามารถยับยั้ง หรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ (free radical) สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น โรงมะเร็ง เบาหวาน หัวใจ สมอง (เช่นอัลไซเมอร์)

การวิจัยอื่นๆ เพื่อศึกษาคุณประโยชน์ของแมงกะพรุน

จากผลงานทางวิชาการว่าสารประกอบที่พบในรังไข่ของแมงกะพรุนชนิดนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ โดยได้ทำการทดลองนำแมงกะพรุนมาต้มด้วยน้ำร้อน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลในแมงกะพรุน สามารถรักษากักเก็บสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีถึงแม้จะถูกต้มในน้ำร้อน

การวิจัยแมงกะพรุนในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยจะบริโภคแมงกะพรุนที่ผ่านการแปรรูปด้วยการดองเกลือและสารส้ม ขายแบบสดและตากแห้ง ในประเทศไทยพบแมงกะพรุนที่ภริโภคได้ 3 สายพันธุ์ คือ แมงกะพรุนหนัง แมงกะพรุนลอดช่อง และแมงกะพรุนหอม แต่แมงกะพรุนหอมที่พบมากและ นิยมนำมาแปรรูปเพื่อส่งออกและจำหน่ายในประเทศคือแมงกะพรุนหนังและแมงกะพรุนลอดช่อง พบมากบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน

งานประชุมเครือข่ายวิชาการสุขภาพ ครั้งที่ 7 (7th Health Challenge Thailand 2019)

การจัดประชุมเครือข่ายนักเรียนไทยและนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นความท้าทายทางสุขภาพ การติดตามงานวิจัยและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับความสำคัญของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเป็น New engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ความเป็นมา

เพื่อเป็นงานประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักรที่ศึกษาและมีความสนใจประเด็นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ริเริ่มจัดประชุมครั้งแรกปี พ.ศ. 2554 โดยมีจุดประสงค์หลัก 3 ข้อด้วยกัน คือ
1.ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพในสหราชอาณาจักร
2.ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นความท้าทายทางสุขภาพ
3.เผยแพร่ผลงานด้านวิชาการของเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

กิจกรรมและผลจากการประชุมครั้งที่ 7

การประชุมวิชาการเครือข่าวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในธีม Towards Health Innovations : Application of Basic and Translation Research ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินการเป็น 2 ส่วนหลักคือ
1.การบรรยายพิเศษจากวิทยากร 2 ท่าน
2.การนำเสนอผลงานทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เข้าร่วมประชุม

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191119-newsletter-brussels-no7-jul62.pdf

17 ธ.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: