ข่าวสาร บทความ | สถานการณ์ผู้ติดเชื้อล่าสุด | รู้จัก แก้ปัญหา ป้องกัน | การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา | Infographic |
ข่าวสาร บทความ
- www.learnonline.in.th ONLINE LEARNING FOR THAI บริการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อคนไทย
- งานวิจัย สวทช. สู้ภัยโควิด 19
- ความรู้สู้ covid-19
- ลงทะเบียนการให้บริการ Work from Home ของภาครัฐ โดย ศูนย์ประสานงานขอรับบริการ แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ราชการ
- แนวทางการทำงานของหน่วยงานของรัฐ ในช่วง Work From Home โดย สพธอ. ETDA
- https://covid19.workpointnews.com/ โดย workpoint กองทุนสื่อฯ คณะนิเทศฯ จุฬา และ Cleverse ข้อมูลทั้งไทยและทั่วโลก ข่าวสารล่าสุด ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทำออกมาในรูปแบบที่ดูง่าย
- รวมข่าวอัพเดท Covid-19 ในไทย ThaiCovid-19 War Room by Sindy Mar
- Data visualization โดยใช้ Tableau สำหรับติดตามสถานการณ์โรคโควิด-19 By Chainarong Kesamoon
- An expert explains: how to help older people through the COVID-19 pandemic
- MHESI INTERVIEW : 9 คำถาม – คำตอบ COVID-19
โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ผู้ที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงต้องโหลด! DDC-Care: ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ COVID-19
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ผ่าน QR Code ณ จุดคัดกรอง ด่านตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทั้งท่าอากาศยาน ท่าเรือ ด่านพรมแดนทางบก รวม 46 ด่าน - 10 คำถามต้องรู้ โควิด 19 THE STANDARD
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีน และต่อไปนี้ก็คือ ข้อสรุปหลักๆ ของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป 9 วัน แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
- MHESI INTERVIEW : ตอบข้อสงสัยหน้ากากอนามัยกับการป้องกันไวรัส COVID-19
- VDO การเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “รู้จัก เข้าใจ : ไวรัส 2019-nCoV ”
โดย สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 โรงแรมเอสดี อเวนิว ปิ่นเกล้า กรุงเทพมหานคร - โมเดล 3 มิติ ไวรัสโคโรนา แจกจ่ายเพื่อใช้ทำสื่อได้ 3D Model | PSD
- Anti-Fake News Center Thailand อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” ตรวจสอบข่าวลวง
- เจาะลึกโควิด-19 กับนักไวรัสวิทยา ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา (สาเหตุ- แนวทางการรักษาโรค- แนวโน้มสถานการณ์ของโรค)
- สื่อที่เกี่ยวข้องกับ Covid-19 (OER Thailand)
- 9 ข้อควรรู้ “โควิด-19” จากบทสรุป 25 ผู้เชี่ยวชาญ WHO
- ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช
- มาตรการพื้นฐานในการป้องกันไวรัสโคโรนาชนิดใหม่
- Q & A โดย สถาบันบำราศนราดูร จำเป็นต้องไปตรวจหรือไม่..หากเดินทางไปในประเทศเสี่ยง..แต่ไม่มีอาการ
- บทเรียนออนไลน์แบบเปิดเกี่ยวกับไวรัส COVID-19
- ฐานข้อมูลและแหล่งความรู้เกี่ยวกับ Coronavirus (COVID-19)
- แนวปฏิบัติห้องสมุดในการรับมือ COVID-19
- โควิด-19 จะระบาดระลอก 2 และ 3 หรือไม่
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อล่าสุด
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
- สถานการณ์ในประเทศไทย โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข [Link1] [Link2]
- https://covid19.workpointnews.com/ โดย workpoint กองทุนสื่อฯ คณะนิเทศฯ จุฬา และ Cleverse ข้อมูลทั้งไทยและทั่วโลก ข่าวสารล่าสุด ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทำออกมาในรูปแบบที่ดูง่าย
- Johns Hopkins CSSE
- สถานะการณ์ทั่วโลก โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข
- worldometers.info
- Databrew’s COVID-19 data explorer
ประกาศรัฐบาล
- พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผลบังคับใช้ 26 มี.ค.63
- คำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่อง จัดตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)”
ประกาศกระทรวงการสารธารณะสุข
- ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
- ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 1
- มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 2
- มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 3 เรื่องการปฏิบัติการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 4 เรื่องการพิจารณาเลื่อนพิธีประสาทปริญญาบัตร
- มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 5 เรื่องการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home)
ประกาศกรุงเทพมหานคร
- สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2)
- สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) อธิบายคำสั่งเพิ่มเติมเพื่อให้สถานประกอบการเข้าใจตรงกัน
รู้จัก แก้ปัญหา ป้องกัน
“ไวรัสโคโรนา” เป็นไวรัสที่จัดอยู่ในวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด ถูกพบครั้งแรกในช่วงปี 1960 โดยผู้ที่ได้รับเชื้อ ณ เวลานั้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก “โคโรนา” ในภาษาละตินมีความหมายว่ามงกุฎ เนื่องจากเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะเห็นว่าไวรัสชนิดนี้มีลักษณะคล้ายมงกุฎ โดยเปลือกหุ้มด้านนอกประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นมีลักษณะปุ่ม ๆ ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสที่สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย เนื่องจากมีสารพันธุกรรมชนิด RNA ดังนั้นเชื้อจึงมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลาทำให้การรับมืออาจทำได้ยาก ไวรัสโคโลน่ามีหลากหลายชนิดบางชนิดทำให้เกิดอาการไข้หวัดธรรมดา แต่บางชนิดก็มีความรุนแรงและสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ไม่ว่าจะเป็น การคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เชื้อก่อโรค coronavirus สายพันธุ์ใหม่ เชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะว่า 2019-nCoV เป็นไวรัสในลำดับที่ 7 ของไวัสตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส betacoronavirus, เชื้อมีลำดับยีนมากกว่าร้อยละ 85 ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว (bat-SL-CoVZC45, MG772933.1) การก่อโรคในมนุษย์จากเชื้อโรคในค้างคาวถือว่าเป็น zoonotic disease ด้วย
เชื้อไวรัสนี้ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ยังไม่เคยมีการตรวจพบมาก่อน จึงเป็นเหตุให้ทั้งโลกต่างจับตาและมีความวิตกกังวลและหวาดกลัวต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ ไวรัสโคโรนา เดิมมีชื่อที่ใช้ในตอนแรกคือ 2019 nCoV และมีชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2 ส่วนชื่อของโรคติดเชื้อชนิดนี้เรียกว่า COVID-19 (ศ.เกียรติคุณนายแพทย์อมร,2563) ย่อมาจาก
- CO แทน corona
- VI แทน virus
- D แทน disease
- 19 แทน ปี 2019 (โรคติดเชื้อนี้เกิดขึ้นในปี 2019)
แนวทางการแก้ปัญหา
วิธีแก้ปัญหา ป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้นอยู่กับการควบคุมอำนาจแพร่ระบาด หรือการกระจายของโรค เช่น ประเทศจีนบังคับใช้วิธี ปิดเมือง ห้ามคนในออก คนนอกห้ามเข้า และส่งทีมแพทย์เข้าไปรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วในพื้นที่ระบาด ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน โดยคิดง่ายๆว่า ผู้ป่วย 1 คน กระจายโรคไปได้ 2 คน เมื่อรักษาผู้ป่วยแล้ว ก็จะได้ผู้ที่มีภูมิต้านทานมากขึ้น จนถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย หรือ 50% การระบาดก็จะอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า เริ่มสงบ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสนี้ก็จะกลายเป็นแค่โรคประจำถิ่น (endemic) มีการติดเชื้อเป็นหย่อมๆ จนกว่าจะมีภูมิต้านทานกันหมดทุกคน (มติชนออนไลน์, 2563)
มาตรการป้องกัน
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ขอแจ้งมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพรวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ตามแนวปฏิบัติ ดังนี้
- คัดกรอง และแยกผู้ป่วยที่สงสัยเพื่อตรวจในห้องตรวจเฉพาะ
- ซักประวัติ และวัดไข้ผู้มารับบริการที่ทุกคลินิก
- ติดตั้งแอลกอฮอล์เจลที่หน้าลิฟต์ทุกชั้น
- สำรองเวชภัณฑ์ ยา และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้พอเพียง
- เตรียมความพร้อม ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
- หากท่านมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก และเพิ่งกลับจากประเทศจีน ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ภายใน 14 วัน หรือสัมผัสผู้ป่วยต้องสงสัย กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
วิธีป้องกัน
เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด19สายพันธุ์ใหม่ ได้ดังนี้
- เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
- เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรคและเมืองอื่นๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
- ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
- ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
- งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
- เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่างๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
- ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
- สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19สายพันธุ์ใหม่ โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา
- มาตรการพื้นฐานในการป้องกันไวรัสโคโรนาชนิดใหม่
MHESI INTERVIEW : ตอบข้อสงสัยหน้ากากอนามัยกับการป้องกันไวรัส COVID-19
5 จุดเสี่ยงบนเครื่องบินที่พบเชื้อโรคมากที่สุด
- ถาดพับวางอาหารหลังเบาะโดยสาร เนื่องจากตารางบินที่กระชั้นชิด พนง.ไม่มีเวลามากพอที่จะทำความสะอาดถาดวางอาหารได้ดีเพียงพอ และอาจไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
- ตะแกรงระบายอากาศ และหัวเข็มขัดนิรภัย เพราะเป็นส่วนที่ผู้โดยสารต้องจับอยู่บ่อยๆ
- ห้องน้ำ มีคำแนะนำง่ายๆ คือ ใช้กระดาษชำระห่อจับลูกบิด และกลอนประตู ควรพกเจลล้างมือฆ่าเชื้อโรคขวดเล็กๆ ขึ้นเครื่องบิน
- ที่ใส่ของหลังเบาะผู้โดยสาร ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน
- ที่นั่งริมทางเดิน เพราะเบาะริมทางเดินจะโดนสัมผัสจากมือของคนอื่นๆ
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีต้นตอมาจากที่ใด เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำาให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ (ภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือมงกุฎ) ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ที่มีสมาชิกหลากหลาย ติดเชื้อก่อโรคได้ทั้งในคน และสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ม้า วัว แมว สุนัข ค้างคาว กระต่าย หนู อูฐ และสัตว์ป่าอื่นๆ) และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ดังนั้น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร อาจแพร่มาสู่คนและก่อโรคในคนได้ (zoonotic infection)
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ 2019-nCoV จากประเทศจีน นับจากที่มีการรายงานครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2019 นั้น พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้นเป็นลำาดับ ต่อมาได้มีการรายงานเป็นทางการเมื่อ 3 มกราคม ค.ศ. 2020 ว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่น มีสาเหตุจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้
สาเหตุของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่มีการแพร่ระบาดในคนยังไม่แน่ชัดนัก แม้ว่าจะมีการโฟกัสไปที่ตลาดทะเลสดในอู่ฮั่นว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อแห่งแรกก็ตาม เวลาต่อมามีสมมติฐานถึงการแพร่ระบาดที่น่าสนใจถูกตีพิมพ์ในวารสาร Lancet อยู่ 4 สมมติฐาน ดังนี้
- ผู้ป่วยรายแรกมีการแสดงผลของเชื้อในวันที่ 1 ธันวาคม แสดงว่าผู้ป่วยรายนี้มีการติดเชื้อในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน โดยที่เขาไม่เคยไปที่อู่ฮั่นในเวลานั้นมาก่อน จึงสันนิษฐานว่ามีการแพร่ระบาดที่นอกอู่ฮั่นมาสักพักแล้ว แต่การแพร่ระบาดที่อู่ฮั่นโด่งดังกว่า จึงมีการเข้าใจว่าเผยแพร่ครั้งแรกที่นั่น
- ในตลาดสดที่อู่ฮั่นมีการค้าขายค้างคาวในลักษณะขังรวมกันหลาย ๆ ตัว ซึ่งเป็นค้างคาวที่มีเชื้ออยู่แล้ว ค้างคาวจึงแพร่กระจายเชื้อไปสู่คน ผ่านทางอุจจาระ ละอองน้ำลายและเลือดจากการถูกเชือดต่อหน้าลูกค้าที่ไปซื้อของ
- มีสัตว์ปีกบางชนิดหรือค้างคาว ที่มีเชื้อตัวนี้อยู่แล้วได้บินไปบินมาระหว่างตลาดสดอู่ฮั่น เมื่อปล่อยมูลกลางอากาศจึงเป็นการแพร่เชื้ออีกทางหนึ่ง
- มีบ้านหลังหนึ่งในอู่ฮั่นที่ถูกตรวจพบว่า บนกระเบื้องใต้หลังคาบ้านเป็นแหล่งอยู่อาศัยของค้างคาว ที่ถูกสันนิษฐานว่ามีเชื้อ ทำให้เจ้าของบ้านติดเชื้อผ่านทางการสูดอากาศเอาเชื้อที่อยู่เหนือหัวเข้าไป รวมถึงระแวกใกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
แหล่ง “ต้นเชื้อ” แพร่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สู่คน “ยังไม่ทราบชนิด” (ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ,2563) ขณะนี้ผลการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส nCoV บ่งชี้ว่ารหัสจีโจมใกล้เคียงมากกว่า 90% กับไวรัสโคโรนาที่พบในค้างคาวเกือกม้าในเมืองยูนาน ปี 2013 แต่ไวรัสดังกล่าวอาจแพร่สู่สัตว์ตัวกลางก่อนติดในคน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบชนิด สาเหตุของการระบาดอาจไม่ใช่ “งู” นักไวรัสวิทยาไม่ปักใจเชื่อว่าต้นเชื้อไวรัส nCoV มาจากงูเพราะไม่เคยมีการค้นพบไวรัสโคโรนาในสัตว์เลือดเย็นและสัตว์เลื้อคลาน รวมทั้งไม่มีรายงานการพบไวรัสจากสัตว์เลื้อยคลานข้ามมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
คลิปของประเทศบราซิล บอกให้เราทราบว่า เชื้อจะแพร่กระจายสู่บุคคลใกล้เคียงและในที่สาธารณะได้อย่างไร by Pariwat Chanthorn
Infographic
Infographic ความรู้สู้ covid-19 จาก สวทช.
สื่อเผยแพร่องค์ความรู้ วิธีการรับมือ การดูแลตนเอง (สำหรับประชาชน)
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำสื่อเผยแพร่องค์ความรู้ วิธีการรับมือ การดูแลตนเอง (สำหรับประชาชน) วิธีการจัดการให้ปลอดไวรัสโคโรนา โดยสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ โดยตรงได้ที่ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php
{/tabs}
รายการบรรณานุกรม
- โคโรนา : มารู้จักไวรัสที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบระบาดในจีน. สืบค้น 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461
- นพ.ธีระ วรธนารัตน์. (2563). โคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง?. สืบค้น 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.hfocus.org/print/18552
- Novel Coronavirus (COVID-19) advice for the public. สืบค้น 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/advice-for-public
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 29 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php
- 6 ท้อเท็จจริง โรคอุบัติใหม่ ไวรัสโคโรนา (2019-nCoV). (2563). ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. สืบค้น 29 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://oer.learn.in.th/search_detail/result/166770