วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มีนาคม 2563
พัฒนาการด้านระบาดวิทยาในโลกของ COVID-19 และแนวทางรับมือของประเทศต่างๆ
การระบาดของ Coronavirus หรือ COVID-19 เริ่มต้นในจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 แต่เพิ่งมีการรายงานอย่างเป็นทางการและเก็บข้อมูลใน
เดือนมกราคม 2563 ทั้งนี้ ได้มีผู้เชี่ยวชาญได้ทำสรุปการระบาดของไวรัสเป็นภาพในช่วงเวลาหนึ่งได้ดังนี้
ปลายเดือน มกราคม 2563
พบว่า ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 COVID-19 ได้มีการระบาดไปแล้วในประเทศที่มีคนจีนและนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางไปมาก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหรัฐฯ จากนั้นได้มีการระบาดเพิ่มไปในประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา อิตาลี สหราชอาณาจักร และหลายประเทศใน
ยุโรปในช่วงนี้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า COVID-19 ไม่ถูกกับอากาศร้อน ทำให้การระบาดที่แพร่ขยายเร็ว อาทิ ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และทวีปยุโรป
ที่เริ่มมีการติดเชื้อในบางประเทศ เขตร้อนอย่างเช่น ในเอเชียใต้ และเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ดังเช่นประเทศไทย ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
กลับมีการแพร่กระจายที่น้อยมาก เช่นเดียวกับประเทศที่มีประชากรมาก และสาธารณสุขไม่ทันสมัยนัก เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2563
ในช่วงกุมภาพันธ์ เริ่มมีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในประเทศต่างๆ และมีการระบาดในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในแคว้นลอมบาร์ดี ของอิตาลี
ที่มีจำนวนคนติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มอย่างรวดเร็วและแพร่ไปในประเทศกลุ่ม EU รวมทั้งมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศที่ได้คาดการณ์มาก่อน
เช่น อิหร่าน ซึ่งไม่น่าจะมีนักท่องเที่ยวมากนัก และเริ่มมีการข้ามไปยังประเทศในทวีปอเมริกาใต้เริ่มจากบราซิล
ปลายเดือน มีนาคม 2563
ช่วงเดือนมีนาคม COVID-19 ได้ระบาดไปยังหลายๆ ประเทศแม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีการปฏิสัมพันธ์กับต่างชาติน้อย หรือประเทศที่เป็นเกาะ
ก็หนีไม่รอดไปจากการระบาดได้ และปรากฎการณ์น่ากลัวยิ่งขึ้น คือยอดผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีน ได้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และแซงหน้าประเทศจีน
จากยอดสถิติจำนวนผู้ป่วย COVID-19 สะสมในประเทศต่างๆ พบว่า หลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริการมีอัตราการระบาดที่ใกล้เคียงกัน โดยมีการ
ตรวจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในทุกวัน อย่างไรก็ตาม มี 3 ประเทศที่ดูเหมือนจะมีอัตราการระบาดที่ช้ากว่าประเทศอื่นๆ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง
โดยไทยอยู่ระหว่างกลางของประเทศทั้งสองกลุ่ม ซึ่งจุดนี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น และระดับการพัฒนาเช่นเดียวกับยุโรป
กลับมีการแพร่ระบาดที่ควบคุมได้
สัดส่วนของผู้ติดเชื้อ COVID-19 กรณีของสหรัฐอเมริกา
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่เริ่มต้นระบาดอย่างหนักที่ประเทศจีน และลุกลามจนถึง 225 ประเทศ และดินแดน ในทั่วโลกขณะนี้
มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก 1,803,091 ราย และมีผู้เสียชีวิต 119,617 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 14 เมษายน 2563) โดยสหรัฐฯ ซึ่งได้กลายมาเป็นประเทศ
ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมสูงที่สุด ทั้งๆ ที่ได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีระบบการสาธารณสุขและการค้นคว้าวิจัยที่ดีที่สุดในโลก ในช่วงนี้
เราลองมาดูรายละเอียดของสถิติการป่วยและติดเชื้อในสหรัฐฯ กัน
สถิติการป่วย แบ่งตามรัฐ (ณ วันที่ 14 เมษายน 2563)
นิวยอร์ก
New York มหานครที่รุ่งเรืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความบันเทิง แต่ในตอนนี้กลับเป็นเมืองที่ต้องเฝ้าระวังที่สุด เนื่องจากมี
ยอดผู้ป่วยติดเชื้อCOVID-19 สูงที่สุดในสหรัฐฯ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 200,000 ราย
แต่ทั้งนี้ โรงพยาบาลใน New York สามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 50,000 ราย รองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ราว 3,000 ราย ซึ่งการระบาดที่รุนแรง
ในตอนนี้ เกินความสามารถของโรงพยาบาลที่จะสามารถรองรับได้
นิวเจอร์ซี
New Jersey รัฐอันดับ 2 ที่มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรองจาก New York ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 68,400 ราย ซึ่งโรงพยาบาลใน New Jersey
สามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 18,000 ราย รองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ราว 2,000 ราย
แคลิฟอร์เนีย
California ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 25,500 ราย และคาดว่าจะมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
จากข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2563 ของสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า
– กลุ่มรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospitalizations) ผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป
มีสัดส่วน 90%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 65-84 ปี มี 36%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 55-64 ปี มี 17%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 45-54 ปี มี 18%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่
20-44 ปี มี 20%, และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 0-19 ปี มี 1%
– กลุ่มรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนัก (Intensive care unit) ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงและเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน (ICU) โดยกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่
85 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 70%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 65-84 ปี มี 46%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 20-64 ปี มี 47%, และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 0-19 ปี
ไม่มีรายงานการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
– กลุ่มเสียชีวิต (Deaths) ผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 34%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 65-84 ปี มี 46%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่
20-64 ปี มี 20%, และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 0-19 ปีไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
จากข้อมูล ช่วงอายุของผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ สูงที่สุด คือ ช่วง 50-59 ปี มี 18.3%, จีน ช่วงอายุของผู้ติดเชื้อสูงที่สุด คือ ช่วง 50-59 ปี มี 22.4%
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสหรัฐฯ แต่ทั้งนี้ สเปนพบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป มี 32%
สำหรับอิตาลี ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ และผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกในขณะนี้ พบว่า ช่วงอายุของผู้ติดเชื้อสูงที่สุด
คือ ช่วง 51-70 ปี มี 37.3%
Virus กับเชื้อโรค (bacteria) ต่างกันอย่างไร?
Bacteria เป็นสิ่งมีชีวิต มี nucleus ที่มี DNA อยู่ข้างใน ล้อมรอบโดย cytoplasm และหุ้มด้วย membrane ส่วน virus เป็นแค่ DNA หรือ RNA
หุ้มด้วยไขมันบางๆ คือเป็นแค่รหัสของสิ่งมีชีวิต แต่ตัวมันเองไม่มีชีวิต เป็นเหมือนกาฝากที่ต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ขยายพันธุ์โดยการฉีดตัวเอง
เข้าไปและหลอกให้เซลล์ผลิตก็อปปี้ของตัวมันเองออกมา (replicate) โดย Covid-19 นี้ เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสชื่อ SARS CoV2 คือ ตระกูลเดียวกับ
SARS และ MERS หรือ โรคที่เกี่ยวกับ ทางเดินหายใจอื่นๆ อีก 2-3 อย่าง
Coronavirus ตัวนี้เป็น RNA คือ เป็นรหัสเส้นเดียว ต่างจาก DNA ซึ่งเป็นรหัสที่มี 2 เส้น ไขว้กันเป็น helix การที่มีเส้นเดียว ทำให้มันกลายพันธุ์ง่าย
(mutate) ลักษณะของ coronavirus เป็น RNA ที่ล้อมรอบด้วยโปรตีน (spike protein) ที่เหมือนกุญแจเซลล์ปอดของเรามี ACE2 Receptor
ที่เป็นเหมือนรูกุญแจที่ไวรัสนี้มาไขได้พอดี ไวรัสเลยฉีดตัวเองเข้าไปและเริ่มหลอกให้เซลล์ของเราก็อปปี้ตัวมันออกมา เพราะเซลล์ของเรา
โดยปกติจะส่งmRNA (messenger RNA) ออกมาจาก nucleus ออกมาใน cytoplasm เพื่อเป็นแบบกรรมพันธุ์ ให้เซลล์ของเราสร้างต่อๆ ไป
ต่อพอเจอ RNA ของไวรัส เซลล์ก็เหมือนถูกหลอก ให้เป็นเครื่อง Xerox ก๊อปปี้มันออกมาเต็มไปหมด และ การก็อปปี้ของมัน (replicates)
ก็จะออกมาโจมตีเซลล์ตัวอื่นๆ ต่อไป ร่างกายของมนุษย์ภูมิคุ้มกัน โดยมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่จะสร้าง antibody ออกมาเมื่อเจอสิ่งแปลกปลอม
(antigen) Antibody เปรียบเสมือนกับตัวปิดหัวกุญแจ ที่จะล็อกกับ spike protein ของไวรัส ทำให้ไวรัสเกาะกับเซลล์ไม่ได้ แต่เพราะ
SARS CoV2 นี้เป็นตัวใหม่ ร่างกายของเราไม่เคยรู้จักเพราะเพิ่งโดดข้ามสายพันธุ์ ร่างกายจึงไม่สามารถสร้าง antibody ได้ทัน
ทำให้ไวรัสขยายพันธุ์เร็ว ร่างกายกำจัดมันไม่ทัน ก็เลยทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดก่อน
แนวทางการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่ใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ของสหรัฐอเมริกามี 2 วิธี คือ
1. การตรวจหาเชื้อในทางเดนหายใจ (Real-time-Polymerase Chain Reaction : RT-PCR)
โดยการป้ายเนื้อเยื่อโพรงจมูก หรือเยื่อบุในคอ เพื่อตรวจหากรดนิวคลีอิก (nucleic acid) ซึ่งเป็นสารประกอบในเซลล์สิ่งมีชีวิต
วิธีการนี้จะตรวจหาเชื้อไวรัสที่อาศัยอยู่ในเซลล์บริเวณทางเดินหายใจ ผู้รับการตรวจจะต้องเริ่มมีอาการของการติดเชื้อ
เนื่องจากนับจากวันแรกที่มีการติดเชื้อไปจนถึงวันที่แสดงอาการ เป็นระยะฟักตัวของเชื้อ หากตรวจในช่วงนี้จะแปลผล
ค่อนข้างยากและโอกาสเจอเชื้อค่อนข้างน้อยหรืออาจตรวจไม่พบเชื้อ
2. การตรวจหาเชื้อโดยการเจาะเลือด (Rapid test)
การเจาะเลือดไม่ใช่วิธีที่ตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังการติดเชื้อ การตรวจด้วยวิธีนี้
ควรตรวจหลังจากที่เริ่มแสดงอาการติดเชื้อเช่นเดียวกัน เนื่องจากในระยะฟักตัวของเชื้อ ร่างกายจะยังไม่สร้างภูมิคุ้มกันเชื้อนี้ขึ้นมา
ผลที่ได้อาจจะแสดงผลว่าไม่มีการติดเชื้อใดๆ การตรวจหาเชื้อจากการตรวจภูมิต้านทาน หรือ Antibody นี้ เป็นการตรวจที่มี
พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง นิยมตรวจกับผู้ป่วยที่เกิดจากการติดไวรัสตับอักเสบ
มาตรการรับมือ COVID-19 ของประเทศต่างๆ ที่น่าสนใจ
1. จีน มังกรป่วย ฟื้นทะยาน
ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่พบการระบาดของ COVID-19 ในช่วงปลายปี 2562 และมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมากมาถึงกลางเดือนมีนาคม 2563
การระบาดที่เริ่มต้นจากจีน ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะตะวันตกวิพากษ์วิจารณ์ ระบบสาธารณสุข และรสนิยมการบริโภคของจีน มีการตอกย้ำจีนเป็น
The Real Sick Man of Asia มีรายงานเรื่องการถูกทำร้ายและการรังเกียจคนผิวเหลืองในประเทศตะวันตกหลายครั้ง
ด้วยรูปแบบการปกครองของจีนทำให้ประเทศสามารถบังคับใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการรับมือการระบาดของโรคได้ จีนมีความชัดเจนและมีความคิดเห็น
ไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศ แนวทางการดำเนินงานของภาครัฐ และการบังคับใช้กฏหมาย มาตรการต่างๆ “ทุกคนรู้หน้าที่ของตน”
2. สหรัฐอเมริกา อินทรียโส ผู้เพลี้ยงพล้ำ
สหรัฐฯ ประเทศยักษ์คู่ปรับของจีน หนีไม่พ้นการถูกจับตามองว่าจะรับมือกับปัญหาการระบาดนี้อย่างไร ในขณะที่จีนเริ่มฟื้นตัวจาก COVID-19 แล้ว
สหรัฐฯกลับมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะรัฐ New York, New Jersey, California, Washington และ Florida
ซึ่งเป็นรัฐที่คนต่างชาติและนักท่องเที่ยวอยู่จำนวนมาก
3. อิตาลี หมาป่าเฒ่า ผู้หายใจรวยริน
อิตาลีเป็นประเทศที่ประสบกับสภาวะที่หนักหนาสาหัสจากปรากฏการณ์แพร่ระบาดครั้งนี้ที่สุด สาเหตุที่ทำให้มีการระบาดรุนแรงของ COVID-19
ในอิตาลีเกิดจากวัฒนธรรมและพฤติกรรมของชาวอิตาเลียน ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยการกอดหอม การชอบเข้าสังคมและรักสนุก ปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้อิตาลีไม่สามารถรับมือกับการระบาดได้คือนโยบายของภาครัฐไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของไวรัส อิตาลีเน้นการตรวจหาผู้ติดเชื้อไป
ที่มีอาการรุนแรงแล้ว ทำให้ไม่มีการหยุดระบาด เพราะผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ กว่าจะได้รับการตรวจและรักษาก็มักมีอาการหนักแล้ว
ประเทศไทย…ช้างน้อยที่ไม่ธรรมดา
ภาครัฐของไทยให้ความร่วมมือในการวางมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขพบยาต้านไวรัส
ที่อาจจะใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อได้ ประเทศต้องเจอกับปัญหาด้านบริหารต่างๆ เช่น การเปิดรับและการกักตัวคนไทยจากต่างประเทศกลับไทย
การแจกหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือให้กับประชาชน การให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่กำลังเดือดร้อน รวมถึง มาตรการควบคุมการเดินทาง
และกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน จากสถานการณ์ตึงเครียดที่ทั่วโลกต่างหวาดกลัว หากมองในการจัดการในภาพรวมของไทยแล้ว ไทยได้รับการ
ชื่นชมจากนานาชาติ ในการจัดการควบคุมเชื้อไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพ ไทยสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยให้มีจำนวนน้อยลงในแต่ละวัน
COVID-19 กับผลกระทบโอกาสในวิกฤต และโลกหลังโควิด
COVID-19 ความท้าทายต่อการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุค Globalization และสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)
อาการป่วยจาก COVID-19 อาจจะไม่รุนแรงสำหรับคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81) แต่กลับเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง
เช่น โรคหัวใจ โรคหอบ ฯลฯ และสิ่งที่จะช่วยลดหรือป้องกันการระบาดของไวรัสเพื่อมิให้ระบาดไปถึงกลุ่มเสี่ยง คือ การหลีกเลี่ยงการปฎิสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมด้วยความสามารถในการปฎิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของมนุษย์ ทำให้สังคมมนุษย์มีการพัฒนา
ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพบปะหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและเจรจาต่อรอง การรวมตัวเพื่อถ่ายทอดความรู้เช่นในห้องเรียน และการ
เดินทางข้ามรัฐข้ามแดนด้วยเทคโนโลยีคมนาคมต่างๆ โดยเฉพาะในยุค globalization ที่มนุษย์ทั่วโลกเชื่อมต่อกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ตอนนี้
กิจกรรมทางสังคมได้กลายเป็นการสนับสนุนการระบาด รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกขอความร่วมมือให้งดการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ
งดการออกจากบ้าน งดการรวมกลุ่ม ทำให้การดำเนินชีวิตและการเข้าสังคมของมนุษย์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
อาชีพที่จำเป็นในช่วงวิกฤต
อาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในช่วงวิกฤตการระบาดของ coronavirus แพทย์ พยาบาล และผู้ให้บริการทางการแพทย์ในส่วนต่างๆ เป็นกลุ่มแรก
ที่ทุกคนนึกถึงเพราะเป็นสายอาชีพที่เป็นด่านหน้าในการรับมือกับไวรัสและผู้ป่วย ในขณะที่คนส่วนใหญ่สามารถเก็บตัวในบ้านหรือทำงานจากที่บ้าน
เพื่อป้องกันตัวเองจากการระบาด ยังมีหลายอาชีพที่ต้องทำงานเผชิญความเสี่ยง เช่น พนักงานในห้างสรรพสินค้าแผนกอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ต
พนักงานทำความสะอาดและเก็บขยะ คนขับรถแท็กซี่และบริษัทขนส่งต่างๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วน
ที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลให้ความช่วยเหลือประชาชน ในขณะเดียวกัน มีหลายอาชีพที่เป็นยอมรับกันว่าสามารถทำเงินได้มากกว่าอาชีพอื่นๆ หรือมี
ความมั่นคงแต่กลับเป็นอาชีพแรกๆ ที่ถูกกระทบโดยวิกฤตCOVID-19 ก่อนใคร เช่น นักบินสายการบินพาณิชย์ซึ่งจะมีนักบินจำนวนมากต้องตกงาน
เนื่องจากสายการบินไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ วิกฤติครั้งนี้ทำให้เห็นว่าอาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่และความอยู่รอดของมนุษย์เป็นอาชีพที่
จะยังอยู่ต่อไปได้โดยเฉพาะในสถานการณ์ไม่ปกติ
เมื่อความตระหนักกลายเป็นความตระหนก
ประชาชนต้องปรับตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างเพื่อป้องกันตัวเองและช่วยลดการระบาดจนก่อให้กลายเป็นความตระหนกและก่อให้เกิด
ความวุ่นวายในสังคม ปรากฏการแรกคือการเหยียดเชื้อชาติในสถานการณ์ COVID-19 การเกลียดกลัวชาวต่างชาติหรือคนจีน (Xenophobia)
เกิดจากความไม่รู้ ความกลัว และการตัดสินคนที่ stereotype ซึ่งชาวตะวันตกมองว่า COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากคนจีนจึงเกิดความกลัว
และเกลียดชังคนเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นคนเอเชียเริ่มกลัวฝรั่งบ้างเพราะการแพร่ระบาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โลกหลังโควิด
ในช่วงการระบาดของ coronavirus ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและการดำเนินธุรกิจหลายอย่าง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง
จะยังคงอยู่แม้การระบาดจะสิ้นสุดลง
การทำงานที่บ้านและวัฒนธรรมการทำงานที่ให้ความไว้วางใจพนักงาน
การทำงานที่บ้าน แม้ว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีข้อดีหลายประการ ทั้งการประหยัดเวลาการเดินทาง
และลดรายจ่ายบางประการของบริษัท และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นจากการให้อิสรภาพการทำงานแก่พนักงาน แต่ในองค์กรจำนวนมาก
การทำงานที่บ้านยังถือเป็นเรื่องใหม่เพราะขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการยึดติดกับวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม การระบาดของ coronavirus
จึงเป็นสถานการณ์บังคับให้บริษัทส่วนใหญ่ต้องปรับตัวนำเอาวัฒนธรรมใหม่นี้มาใช้ คาดว่าหลังจากการระบาด แนวทางการทำงานจากที่บ้านน่าจะ
เป็นที่ปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และการปฎิสัมพันธ์แบบ face-to-face จะมีความสำคัญน้อยลงเพราะหลายคนได้มีประสบการณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียน
การสอนการประชุม ผ่านระบบ teleconference หรือ การแสดงคอนเสริตผ่านระบบ live video วิกฤตการณ์ครั้งนี้ ได้สอนให้บุคลากรของรัฐทั้ง
ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา หันมาศึกษาเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนน้อยลง
ความตระหนักรู้ด้านสุขอนามัยและสภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป
การระบาดของ COVID-19 ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสุขอนามัยมากขึ้นและตระหนักสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น แบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่อยู่รอบตัวเรา
มีการระมัดระวังตัวมากขึ้น การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย เป็นต้น
ความสำคัญของ data science
สิ่งสำคัญในสถานการณ์ระบาดครั้งนี้คือ ข้อมูลผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต และกลุ่มเสี่ยง รวมถึงข้อมูลการกระจายสินค้าและบริการบางอย่าง การเก็บข้อมูลเหล่านี้
ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการนำเสนอข้อมูลให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์จริง สาขา data science
จะกลายเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในอนาคต
การเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ และคำว่า “ความดี” จะมีนิยามที่ชัดเจนขึ้น
ยุคหลังการระบาดของ COVID-19 ผู้คนในหลายประเทศคงได้ตระหนักและสนใจในการทำความดีและร่วมด้วยช่วยกันมากขึ้นทำความดีได้มากมาย
หากเป็นคนพุทธ ก็ตั้งสติ คิดดี แผ่เมตตา ฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน = สิ่งที่ไม่เห็น ไม่ใช่ไม่มี สำหรับโลกนั้น การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มนุษย์ได้รับ
โอกาสจากธรรมชาติ ให้ปรับเปลี่ยนสรรพสิ่งบนโลกให้เป็นไปตามความต้องการของตน แต่มนุษย์ไม่สามารถมีอำนาจเหนือธรรมชาติได้ทั้งหมดเพราะ
เมื่อเราทำร้ายธรรมชาติก็เหมือนเราทำร้ายตัวเอง เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติบนโลกใบนี้
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-mar2020.pdf