นักวิจัย สวทช. คว้า 16 รางวัลจาก วช.
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มอบรางวัลให้แก่นักวิจัยที่อุทิศตนในการวิจัยที่เกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ โดยในปีนี้ นักวิจัย สวทช. ได้รับรางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2559 และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2560 จำนวนทั้งสิ้น 16 รางวัล นอกจากนี้ยังมีนักวิจัยอีกหนึ่งท่านได้รับรางวัล “TRF-OHEC-Scopus Researcher Awards” จาก สกว. ร่วมกับ สำนักพิมพ์เอลเซอร์เวียร์ (Elsevier) อีกด้วย ตามรายละเอียดดังนี้
รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2559
รางวัลระดับดีมาก มี 2 รางวัล ได้แก่
- ผลงานวิจัยเรื่อง “ซีรีน ไฮดรอกซีเมธิลทรานเฟอร์เรส เป้าหมายยาใหม่สำหรับโรคมาลาเรีย” (Serine Hydroxymethylatransferase as a Novel Drug Target for Malaria) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.อุบลศรี เลิศสกุลพาณิช และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “พัฒนากระบวนการผลิตโฟมไททาเนียมบริสุทธิ์แบบเซลล์เปิดโดยใช้กระบวนการชุบสารแขวนลอยกับต้นแบบโฟมพอลิเมอร์” (Fabrication of Open-Cell Commercially Pure Titanium Foam Using Slurry Impregnated Polymeric Foam) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย ดร.อัญชลี มโนนุกุล นายปฐมภูมิ ศรีกุดเวียน จาก MTEC ร่วมกับ Mrs.MakikoTange และนายนิพนธ์ เด็นหมัด
รางวัลระดับดี มี 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอาร์เอ็นเออินเทอร์เฟียแรนซ์เพื่อจัดการปัญหาโตช้าในกุ้งกุลาดำที่เกิดจากไวรัสแหลมสิงห์” (RNAinterferencetechnology for practicalmanagementofaslowgrowth virus (Laem-Singh virus, LSNV) in black tigershrimpcultivation) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดย ดร.วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม ดร.เพทาย จรูญนารถ และนางสาวสโรชา จิตรากร จากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง BIOTEC ร่วมกับ นางสาวฐิติพร ธรรมสอน
รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจําปี 2559
รางวัลระดับดีเด่น มี 1 รางวัล ได้แก่
วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ลักษณะทางจีโนมของการแสดงออกของยีนที่มีไลน์-1 โดยโปรตีนอาร์โกนอต” (Genomic Characteristics of Argonaute Proteins Mediate Genes Containing LINE-1 Expression) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดย ดร.ชุมพล งามผิว จากหน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม BIOTEC
รางวัลระดับดีมาก มี 2 รางวัล ได้แก่
- วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การปรับเปลี่ยนกระบวนการเมตาโบลิซึมในการผลิตสารทุติยภูมิของต้นแพงพวยฝรั่ง แบบบูรณาการด้วยวิธีชีวสังเคราะห์ (synthetic biology) และเคมีสังเคราะห์ (synthetic chemistry)” (Reprogramming Alkaloid Biosynthesis in Catharanthus roseus :Synthetic Biology in Plants) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.วีรวัฒน์ รังกุพันธุ์ จากหน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและชีววัสดุ BIOTEC
- วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพในการทำงานของรีเซพเตอร์กลุ่มลิแกนด์เกทต์-ไอออนแชแนล ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างของโปรตีน, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลิแกนด์และรีเซพเตอร์, และการสื่อสารกับรีเซพเตอร์โปรตีนชนิดอื่น” (Probing the Roles of Receptor Structure, Drug-Receptor Interactions, and Receptor Crosstalk in Ligand-Gated Ion Channel Function) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.วัลย์รติ ลิ่มอภิชาต จากหน่วยวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางชีวภาพ BIOTEC
รางวัลระดับดี มี 3 รางวัล ได้แก่
- วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษากลศาสตร์และการไหลของโลหิตเพื่อการออกแบบพาหะนำส่งยาชนิดพุ่งเป้าสำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว” (Exploring the Impact of Hemodynamic and Hemorheology in the Design of Carrier for Vascular-Targeted Drug Delivery in Atherosclerosis) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ดร.คทาวุธ นามดี จากหน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสุขภาพ NANOTEC
- วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาการสังเคราะห์โลหะออกไซด์นาโนไวร์ที่มีสมบัติเฉพาะทางเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์นาโนที่มีองค์ประกอบของสารอินทรีย์และอนินทรีย์” (Fundamental Study of Functional Metal Oxide Nanowires Towards Organinc-Inorganic Nanodevices) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.อรรณพ คล้ำชื่น จากหน่วยมาตรวิทยานาโนวิเคราะห์และวิศวกรรม NANOTEC
- วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การประยุกต์ใช้อนุภาคนาโนแม่เหล็กติดฉลากดีเอ็นเอสำหรับการวิเคราะห์ทางชีวภาพและชีวการแพทย์” (DNA-conjugated Magnetic Nanoparticles for Bio-analytical and Medical Applications) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.สุวัสสา บำรุงทรัพย์ จากหน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสุขภาพ NANOTEC
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2560
รางวัลระดับดีเด่น มี 3 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “เครื่องเอสพีอาร์แบบภาพและระบบฟลูอิดิกแบบหลายช่องวัด” (SPR Imager with a Multichannel Fluidic Delivery System) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ โดย นายอาโมทย์ สมบูรณ์แก้ว จาก NECTEC และคณะ
- ผลงานเรื่อง “แผ่นปิดแผลที่เคลือบด้วยสารสกัดสมุนไพร” (Polyester Containing Herbal Extracts Dressings) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ภญ.อรทัย ล้ออุทัย จาก NANOTEC และคณะ
- ผลงานเรื่อง “หมึกนำไฟฟ้ากราฟีน” (Graphene Conductive Ink) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ จาก NECTEC และคณะ
รางวัลระดับดีมาก มี 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “Amp-Gold ชุดตรวจแบคทีเรียเชื้อก่อโรคตับตายเฉียบพลันสาเหตุหนึ่งของโรคกุ้งอีเอ็มเอส” (Amp-Gold Sensitive Visual Detection Kit of AHPND Bacteria) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดย นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย นายณรงค์ อรัญรุตม์ นางสาวจันทนา คำภีระ และนายศราวุฒิ ศิริธรรมจักร จากหน่วยวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางชีวภาพ BIOTEC
รางวัลระดับดี มี 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “จมูกอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อวัดคุณภาพกลิ่นในอากาศ” (Smart Electronics Nose with Internet of Things Technology for Environmental Oder Management) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ นายทวี ป๊อกฝ้าย นายณัฐพล วัฒนวิสุทธิ์ และนางสาวขวัญดารา มธุรส จากศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ NECTEC
รางวัลประกาศเกียรติคุณ มี 2 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “มะเขือเทศรับประทานผลสดลูกเล็กที่ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง” (Cherry Tomato Resistant to Yellow Leaf Curl Disease) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดย ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ นางสาวอัญจนา บุญชด และนางสาวเบญจรงค์ พวงรัตน์ จากหน่วยวิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีแอนติบอดี BIOTEC ร่วมกับ ผศ.ถาวร โกวิทยากร
- ผลงานเรื่อง “เลนส์มิวอาย นวัตกรรมใหม่ของกล้องจุลทรรศน์แบบพกพา” (MuEye Lens : A Novel Development of Portable Microscope) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย ดร.อัชฌา กอบวิทยา และคณะ จากหน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ NECTEC
นอกจากนี้ยังมี ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ จาก NANOTEC ซึ่งได้สร้างผลงาน “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโนเพื่อการผลิตสารเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพชั้นสูง” และได้รับรางวัล TRF-OHEC-Scopus Researcher Awards จาก สกว. ร่วมกับ สำนักพิมพ์เอลเซอร์เวียร์ (Elsevier) ในฐานะนักวิจัยรุ่นกลางที่มีผลงานโดดเด่น โดยมีผลงานวิจัยจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ในระดับดีเยี่ยม ทั้งคุณภาพของงานวิจัย ตลอดจนผลกระทบต่อวงวิชาการและสังคม