หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2563
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2563
14 ก.ค. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2563

กฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law)

คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีการเสนอกฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law) ที่มีเป้าหมายปลอดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้
ภายในปี ค.ศ. 2050 เพื่อการปกป้องโลกและมนุษย์ กฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law) ยังกำหนดทิศทางการ
ขับเคลื่อนนโยบายของสหภาพยุโรปทั้งหมดที่จะช่วยให้หน่วยงานสาธารณะ ภาคธุรกิจ และประชาชน สามารถคาดการณ์ได้ คณะกรรมาธิการได้มี
การเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะเพื่อร่วมกันออกแบบกฎหมายนี้ด้วย กฎหมายสภาพภูมิอากาศยังได้ครอบคลุมถึงมาตรการในการติดตามความ
คืบหน้าและการปรับการดำเนินการให้สอดคล้องกัน เช่น กระบวนการกำกับดูแลสำหรับแผนด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของแต่
ประเทศสมาชิก รายงานที่ออกเป็นประจำโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (European Environment Agency) และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศและผลกระทบ ทั้งนี้จะมีการครวจสอบความคืบหน้า ทุกๆ 5 ปี ที่สอดคล้องกับการตรวจสอบการบรรลุ
การลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศเพื่อให้ทราบถึงภาพรวมของทั่วโลกตามข้อตกลงปารีส กฎหมายสภาพภูมิอากาศ ยังได้ระบุเส้นทางสู่เป้าหมาย
ใน ค.ศ. 2050 ดังนี้

– โดยอาศัยการประเมินผลกระทบที่ครอบคลุม (comprehensive impact assessment) คณะกรรมาธิการยุโรปจะเสนอเป้าหมายใหม่ของการลดก๊าซ
เรือนกระจก ในปี ค.ศ. 2030 ทั้งนี้ เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมายสภาพภูมิอากาศจะได้รับการแก้ไขหลังจากการประเมิน
ผลกระทบเสร็จสมบูรณ์
– ภายในเดือนมิถุนายน 2564 (ค.ศ.2021) คณะกรรมาธิการยุโรป จะทบทวนและหากจำเป็นต้องเสนอให้แก้ไขเครื่องมือทางนโยบาย เพื่อให้บรรลุการลดการปล่อยก๊าซเพิ่มเติมในปี ค.ศ.2030
– คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอการตั้งค่าเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งสหภาพยุโรป สำหรับปี ค.ศ. 2030-2050 (ปี พ.ศ.2573-2593)
เพื่อวัดความก้าวหน้าและการคาดการณ์ต่อหน่วยงานสาธารณะ ภาคธุรกิจ และประชาชน
– ภายในเดือนกันยายน 2566 (ค.ศ. 2023) และทุกๆ 5ปีหลังจากนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจะประเมินความสอดคล้องในมาตรการของสหภาพยุโรปและ
ของระดับชาติของประเทศสมาชิกต่อเป้าหมายความเป็นกลางด้านสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายในปี 2573-2593 (ค.ศ. 2030-2050)
– คณะกรรมาธิการยุโรปจะมีอำนาจในการออกข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกที่มีการดำเนินการไม่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพอากาศที่เป็นกลาง
และประเทศสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ
– ประเทศสมาชิกต้องพัฒนาและใช้กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่น และลดความเสี่ยงต่อผลกระทบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ

การกำหนดนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ

คณะกรรมาธิการยุโรปได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะต่อข้อตกลงฉบับใหม่ ว่าด้วยสภาพภูมิอากาศยุโรป เพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มี
โอกาสแสดงความเห็นสาธารณะและมีบทบาทในการออกแบบดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่ มีการแบ่งปันข้อมูล การเปิดตัวกิจกรรมระดับ
รากหญ้าและการจัดแสดงแนวทางปฎิบัติที่ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ได้ ทั้งนี้ จะมีการเปิดการรับฟังความเห็นสาธารณะเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ข้อมูลที่ได้
จะนำไปใช้เพื่อปรับข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย

การประกาศใช้กฎหมาย European Climate Law ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมของกระบวนการผลิตสินค้า การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันสารตกค้างในผลผลิต และการผลักดัน
และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทอดแทนสารเคมี นอกจากนี้ประเทศไทยจะต้องแบกรับภาระเกี่ยวกับการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน
จะต้องเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการกำหนดนโยบายของประเทศ ภาคเอกชนไทยที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่อาจจะถูกกระทบโดย
มาตรการทางกฎหมายใหม่ได้เตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

สหภาพยุโรปอัดฉีดงบเพิ่มเติม 90 ล้านยูโรเพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนสู้ไวรัสโคโรนา

สหภาพยุโรปได้ประกาศเพิ่มเงินสนับสนุน 90 ล้านยูโร เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาวัคซีนเพื่อจัดการกับโรค
COVID-19ที่มีไวรัสโคโรนาเป็นสาเหตุหลักในการก่อโรค และมีการแพร่กระจายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะที่อิตาลี โดยสาขาที่ให้ทุนครอบคลุมทั้งการ
พัฒนาวิธีการรักษา การวินิจฉัยโรค การวิจัยทางคลินิกและระบาดวิทยา และการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ในขณะเงินสนับสนุน 90 ล้านยูโร ที่เพิ่มมาใหม่นี้
เป็นการสนับสนุนผ่านโครงการ Innovative Medicines Initiative ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม
จุดประสงค์หลักคือการช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้งในระดับสหภาพยุโรปและระดับโลก

การให้ความช่วยเหลือในระดับนานาชาติ
นอกจากงบสนับสนุนในสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปยังมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 114 ล้านยูโรให้กับองค์การอนามัยโลก
(World Health Organisation, WHO) เพื่อสนับสนุนแผนการรับมือการระบาดทั่วโลกในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
เช่น ประเทศในแถบแอฟริกา

 

การประชุม ASEAN Day: Business Opportunities between Luxembourg and ASEAN

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เข้าร่วมประชุม
ASEAN Day : Business Opportunities between Luxembourg and ASEAN งานประชุมดังกล่าว กล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล
ปัญญาประดิษฐ์ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ จะทำให้รูปแบบการค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นการสร้าง
โอกาสด้าการค้าระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียนในรูปแบบ FTA จากนั้นเอกอัครราชทูตประเทศในอาเซียน 10 ประเทศนำเสนอทางธุรกิจ
และการลงทุนในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ดร.มาณพ สิทธิเดช ได้ให้ข้อมูลนโยบายและโครงการสำคัญของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ประเด็นแรกคือ แนวทางการยกระดับและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (EECi) นวัตกรรมใหม่
ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมุ่งเน้น 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. เกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีชีวภาพ 2. เชื้อเพลิงชีวภาพและ
เคมีชีวภาพ 3. แบตเตอรีประสิทธิภาพสูงและขนส่งสมัยใหม่ 4. ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 5. เทคโนโลยีการบินและอวกาศ
และ 6. เครื่องมือทางการแพทย์ ประเด็นที่สองคือ การผลักดันโมเดล BCG ของประเทศไทย เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ
3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจ
สีเขียว (Green Economy) เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษา
สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ระดับโลก เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ข้อมูลที่น่าสนใจของประเทศลักเซมเบิร์ก

ประเทศลักเซมเบิร์กมีอุตสาหกรรมหลัก คือ การให้บริการทางด้านการเงินและธนาคาร มีนโยบายปกป้องความลับ และให้สิทธิประโยชน์อย่างมาก
กับเงินลงทุนจากต่างประเทศ เช่น การคิดภาษีที่ถูกกว่า แล้วสามารถโอนเงินกลับไปยังประเทศตัวเอง โดยหักภาษีในอัตราที่ต่ำมากจนถูกขนานนาม
ว่าเป็นดินแดนภาษีต่ำ ด้วยเหตุนี้เงินทุนจากต่างประเทศมากมายเข้ามาอย่างมหาศาล เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ Microsoft ลักเซมเบิร์ก
เป็นจุดศูนย์กลางของกองทุนขนาดใหญ่ทั่วโลก เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังโดดเด่นเรื่องระบบขนส่งทางอากาศ
บริษัทคาร์โกลักซ์ (Cargolux) เป็น 1 ใน 5 สายการบินขนส่งสินค้า (Cargo Airlines) ชั้นนำของโลก ขนส่งสินค้า ยา สารเคมี วัตถุอันตราย และสัตว์มี
ชีวิต มีเที่ยวบินกว่า 500 เที่ยวทั่วโลกต่อสัปดาห์ ขนส่งสินค้าปริมาณกว่า 1 ล้านต้นต่อปี โดยไทยเป็นจุดหมายสำคัญของคาร์โกลักซ์ ปัจจุบันมีเที่ยวบิน
ไปกรุงเทพฯ 5 เที่ยวต่อสัปดาห์

 

การประชุม ISO/TC 217 Cosmetics ครั้งที่ 18

ในระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2562 อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็น
หัวหน้าคณะผู้แทนไทยให้กับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เช้าร่วมประชุม ISO/TC 217 Cosmetics ครั้งที่ 18 ในการประชุม
Working group 3 Analytical methods, Working group 4 : Terminology และ Working group 7 : Protection test methods โดยมีผู้แทน
ไทยจากกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

 

ความเป็นมา

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization – ISO) ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการที่ 217
ด้านเครื่องสำอาง (ISO-TC 217 Cosmetics) เพื่อจัดทำมาตรฐานสากลด้านเครื่องสำอาง โดยประเทศไทยเป็นสมาชิก P-member ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
โครงสร้างของ ISO/TC 217 ประกอบด้วยคณะทำงานด้านต่างๆ 5 คณะ ประกอบด้วย

WG 1 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Microbiological standards and limits
WG 3 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Analytical Methods
WG 4 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Terminology
WG 7 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Sun Protection Test Methods และ CAG – คณะทำงาน Chairman advisory group

 

ผลจากการประชุม

จากการประชุมพบว่า ประเทศไทยควรส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม ISO/TC 217 ทั้งในส่วนคณะทำงานต่างๆ และ Plenary meeting อย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนพิจารณาเข้าร่วมการทดสอบ ring test ของการพัฒนาวิธีทดสอบที่เกี่ยวข้องในเครื่องสำอาง เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์และวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตลอดจนได้รับทราบข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และติดตามการทำงานของคณะกรรมการ
ได้ทันเหตุการณ์ จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของประเทศ การดำเนิงานรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
และได้ข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเพื่อเสนอข้อคิดเห็นและคัดค้านการกำหนดมาตรฐาน ที่เข้มงวดไป หรือวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์
เครื่องสำอาง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุปสรรคในการส่งออกของผู้ประกอบการไทยในอนาคตได้

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

จากการเข้าร่วมประชุมดังกล่าวหน่วยงานไทยได้รับประโยชน์ดังนี้
1. ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว
และประเทศกำลังพัฒนา
2. ได้รับทราบถึง Harmonized rule การพัฒนามาตรฐานวิธีทดสอบ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพความปลอดภัย และการพัฒนาความสามารถในการ
แข่งขันของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก
3. ได้ร่วมเสนอความเห็นและคัดค้านการกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดเกินไป หรือทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงมากซึ่งอาจ
ก่อให้เกิดอุปสรรคในการส่งออกของผู้ประกอบการไทยในอนาคตได้ และ
4. มีโอกาสร่วมอยู่ในคณะทำงานของผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศต่างๆ ในการจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เกิดการสร้างมิตรภาพ
การพัฒนาความสามารถบุคลากรไทย สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างประเทศ

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200713-newsletter-brussels-no02-feb63.pdf

14 ก.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: