วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2564
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนค้นหาและการสมัครทุนวิจัยภายใต้โครงการ Horizon Europe
โครงการ Horizon Europe เป็นกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 ที่ครอบคลุมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021-2027 โครงการวิจัยที่มีแหล่งเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและระดับโลก โครงการ Horizon Europe สร้างจากพื้นฐานความสำเร็จของโครงการร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมฉบับที่ผ่านมาคือ Horizon 2020 ส่งเสริมความต่อเนื่องในการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ผ่านโครงการวิจัยภายใต้สภาวิจันยุโรป (European Research Council, ERC) และ โครงการ Marie Sktodowsak-Curie action (MCSA) และได้รับประโยชน์ด้านคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ ความช่วยเหลือทางเทคนิค งานวิจัยที่มีคุณค่าจากศูนย์วิจัยร่วม (Joint Research Centre, JRC) และการให้บริการด้านความรู้และวิทยาศาสตร์จากคณะกรรมาธิการยุโรป
- การสืบค้นหัวข้อโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุน
คณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนภายใต้โครงการ Horizon Europe ผ่านทางเว็บพอร์ทัล “Funding & Tenders Portal” โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านลิงค์
https://ec.europa.eu/info/funding-tenders/opportunities/portal/screen/programmes/horison
- การกรองเพื่อหาหัวข้อโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนที่เฉพาะเจาะจง
หลังการกดสืบค้นโคงการวิจัยที่เปิดให้ทุนตามความสนใจของนักวิจัยแล้ว ทางเว็บพอร์ทัลจะแสดงรายชื่อโครงการวิจัยที่เปิดเกี่ยวข้อง โดยผู้สืบค้นสามารถกรองรายชื่อโครงการวิจัยได้เพิ่มเติมตามเกณฑ์ที่ต้องการเพื่อที่จะสามารถค้นหาโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
- การค้นหาพันธมิตร
หลังจากนักวิจัยสืบคืนโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนที่ตรงตามเกณฑ์และความสนใจเรียบร้อยแล้ว แต่ยังขาดพันธมิตรในการร่วมเขียนโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย สามารถค้นหาพันธมิตรได้จาก “Partner Search”
- การสร้างบัญชีผู้ใช้
ในการที่จะสมัครส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ทางนักวิจัยจำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้ก่อน ไม่อย่างนั้นจะดูได้แค่ข้อมูลทั่วไปของโครงการแต่ไม่สามารถทำการส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัยในส่วนของ “Start submission” ได้ โดยนักวิจัยสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ได้ที่ https://webgate.ec.europa.eu/cas/eim/external/register.cgi
- การลงทะเบียนหน่วยงาน
ในการที่จะจัดตั้งคณะทำงาน (consortium) ประกอบไปด้วยหลายพันธมิตร เพื่อสมัครส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ในแต่ละหน่วยงานที่เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรจำเป็นต้องมีรหัสประจำตัวที่ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเรียกว่า “รหัสประจำตัวของหน่วยงาน (Participant Identification Code, PIC)” ซึ่งเป็นรหัสเลข 9 หลักที่หน่วยงานจำเป็นต้องใช้ในการลงทะเบียนในกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพหน่วยงานเพื่อขอรีบเลข PIC จากคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ที่
- การส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย
เมื่อคณะทำงาน (consortium) ได้เตรียมโครงร่างข้อเสนอโครการวิจัย เรียบร้อยขั้นตอนสุดท้ายคือ การส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย โดยผู้สมัครสามารถกดเข้าไปในโครงการวิจัยที่ต้องการสมัคร จากนั้นจะเห็นในส่วนของ “Start submission” จากนั้นกด Start submission และทางระบบจะให้ผู้สมัครลงบัญชีเข้าใช้ตามชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่ผู้สมัครได้สร้างไว้ขั้นตอนที่ 4
รัฐสภายุโรปรับร่างกฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law)
- เพิ่มเป้าหมายของสหภาพยุโรปในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากร้อยละ 40 เป็นอย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030
- เพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Sink มีการปรับปรุงกฎระเบียบการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และป่าไม้ (land use, land-use change and forestry, LULUCF เพื่อชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2023 และทุก ๆ 5 ปีหลังจากนั้น จะประเมินความสอดคล้องในมาตรการต่อเป้าหมายความเป็นกลางด้านสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายในปี ค.ศ. 2030 – 2050
- จัดทำร่างแผนและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับปี ค.ศ. 2040 ภายใน 6 เดือนหลังจากมีการจัดทำการประเมินผลความก้าวหน้า พร้อมทั้งกำหนดเพดานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหภาพยุโรปจนถึงปี ค.ศ. 2050
- สหภาพยุโรปจะจัดสรรร้อยละ 30 ของงบประมาณสำหรับปี ค.ศ. 2021 – 2027 ให้กับโครงการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050
ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย
การประกาศใช้กฎหมาย European Climate Law ทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมของกระบวนการผลิตสินค้า การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันสารตกค้างในผลผลิต และการผลักดันและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนสารเคมี
นอกจากนี้ประเทศไทยจะต้องแบกรับภาระเกี่ยวกับการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน ซึ่งจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมการรองรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการกำหนดนโยบายของประเทศ ในทางกลับกันประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ในการร่างมาตรการและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ของไทย หรือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยด้านพลังงานสะอาด เช่น การส่งเสริมการลงทุนในระบบรางเพื่อกระตุ้นการเดินทางโดยรถไฟ หรือ การส่งเสริมระบบการผลิตแบบยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ
โครงการร่วมทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในภูมิภาคยุโรป ประจำปี 2564
โครงการร่วมทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในภูมิภาคยุโรป (Southeast Asia-Europe Joint Funding Scheme on Research and Innovation, JFS) ได้ประกาศให้ทุนและรับสมัครโครงร่างการวิจัยประจำปี 2564 เป็นการประกาศให้ทุนครั้งที่ 7 ก่อนหน้านี้มีการมอบทุนวิจัยในหัวข้อ เช่น โรคติดเชื้อ การดื้อยาของเชื้อจุลินทรีย์ เมืองอัจฉริยะ การจัดการน้ำแบบบูรณาการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจชีวภาพ และนาโนเทคโนโลยี
ที่มาของโครงการ JFS
โครงการ SEA-EU-NET เป็น โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภูมิภาคอาเซียนและยุโรป จัดตั้งโครงการร่วมทุนระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน
โครงการ SEA-EU-NET มีความคิดริเริ่มจัดตั้งโครงการร่วมทุน (joint funding scheme) ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อกระตุ้นความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดมากขึ้น ทุนนี้จะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกระทรวงที่ดำเนินงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ให้ทุนวิจัยจากทั้งสองภูมิภาค โครงการร่วมทุนนี้จะช่วยด้านความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองภูมิภาค รวมถึงโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ เช่น โครงการภายใต้กรอบโครงการ Horizon 2020 และ Horizon Europe
การกำกับดูแลของโครงการร่วมทุน JFS)
โครงสร้างของการจัดการโครงการร่วมทุน (JFS) แบ่งได้ดังนี้
– คณะกรรมการบริหาร (Governing board) ได้แก่ ตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมให้ทุน
– สภาวิทยาศาสตร์ (Scientific council) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัย และทำหน้าที่ประเมินผลของโครงการวิจัยที่สมัครเพื่อขอรับทุน
– สำนักเลขาธิการ (Secretariat) ดำเนินงานเปิดรับสมัครโครงร่างงานวิจัย และดำเนินการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
โครงการ FFS ประจำปี ค.ศ.2021
โครงการนี้เป็นโครงการย่อยภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ Horizon Europe
โดยหน่วยงานจากประเทศไทยมีสิทธิ์ในการสมัครขอรับทุนเนื่องจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรมภายใต้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
หัวข้อโครงการวิจัย
1.การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน
2.การรับมือและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210712151131-pdf.pdf