หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนมิถุนายน 2563
รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนมิถุนายน 2563
18 ส.ค. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2563

อุปกรณ์ตรวจหาโคโรนาไวรัสด้วยตนเอง
COVID-19 เป็นโรคที่สามารถแพร่เชื้อและระบาดได้ง่าย เนื่องจากไวรัสสามารถถูกส่งผ่านละอองน้ำลาย และใช้เวลาหลายวันกว่าที่ผู้ติดเชื้อจะแสดง
อาการ มาตรการหนึ่งในการรับมือกับวิกฤตการระบาดครั้งนี้ คือ การตรวจหาผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด และแยกพวกเขาออกจากผู้อื่นก่อนที่
พวกเขาจะแพร่เชื้อให้แก่คนอื่นๆ ดังนั้น อุปกรณ์ตรวจหาเชื้อไวรัสจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลายบริษัทและหน่วยงานพยายามคิดค้นพัฒนาขึ้น
กฏ
Emergency use Authorization (EUA)
กฏ EUA เป็นกฏหมายที่ช่วยให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีความคล่องตัวในการรับมือความเสี่ยงต่อสาธารณะที่เกิดจากสารเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์
(Chemical, Biological, Radiological and Nuclear – CBRN) โดยเปิดให้มีการพัฒนาและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ อนุญาตการใช้ยาหรือ
อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติด้วยกระบวนการตรวจสอบปกติซึ่งใช้เวลายาวนาน เพื่อรับมือการระบาดของ
COVID-19

อุปกรณ์ตรวจหาไวรัสตามบ้าน
สิ่งสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจหาไวรัสคือ ความแม่นยำในการวิเคราะห์ โดยมีค่าวัด
2 อย่างคือ sensitivity และ specificity โดยอุปกรณ์ที่
ใช้ตามบ้านจะต้องมีความแม่นยำเช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่ใช้ที่โรงพยาบาลหรืออุปกรณ์ที่ใช้โดยผู้ให้บริการทางการแพทย์


อุปกรณ์ตรวจหาโคโรนาไวรัสด้วยตนเอง
การตรวจหาโคโรนาไวรัสมี
2 แบบ คือ การตรวจหาโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนประกอบของเชื้อ (Molecular testing) และ การตรวจสอบทางภูมิคุ้มกัน
ร่างกาย
(Serology test)
1. การตรวจหาโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนประกอบของเชื้อ (Molecular testing) ใช้วิธีเก็บตัวอย่างโดยเก็บจากน้ำลาย ตัวอย่างจากจมูก หรือในคอของ
ผู้้ใช้ เช่น อุปกรณ์
Pixel
2. การตรวจสอบทางภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology test) ใช้ตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะ โดยผู้ใช้จะใช้ก้านเก็บตัวอย่างเลือดโดยเจาะที่ปลายนิ้ว
หรือปัสสาวะ จากนั้นให้ผู้ใช้ถ่ายรูปผลแสดงจากก้านสำลีพันปลายไม้เก็บตัวอย่างและส่งรูปไปให้บริษัทวิเคราะห์ผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่งผลวิเคราะห์
จะถูกส่งกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง

อุปกรณ์ปกป้องอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment-PPE กับวิกฤตอุปกรณ์ขาดตลาดที่นำไปสู่นวัตกรรมการ
ผลิตตามบ้าน

อุปกรณ์ปกป้องอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment – PPE) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นโดยเฉพาะกับผู้ให้บริการทางการแพทย์ซึ่ง
ต้องเผชิญกับผู้ติดเชื้ออยู่ตลอดเวลา

ประเภทของอุปกรณ์ PPE
หน้ากาก เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ปลายประเทศทั่วโลกบังคับให้ประชาชนใช้เมื่อต้องออกจากบ้าน หน้ากากมีหลายประเภทและมีความสามารถในการ
ป้องกันเชื้อไวรัสได้แตกต่างกัน
หน้ากาก
N-95 เป็นหน้ากากที่สามารถป้องกันละอองฝุ่นที่อนุภาคเล็กถึง PM2.5 มากถึง 95% แม้ว่าจะเป็นหน้ากากที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูง
แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้บุคคลทั่วไปใส่หน้ากากชนิดนี้ เพราะทำให้หายใจได้ลำบากก่อให้เกิดอันตรายด้านอื่นหากไม่มีความจำเป็นต้องใช้
หน้ากากอนามัย สามารถป้องกันละอองน้ำลายออกจากหน้ากากมากกว่าการป้องกันไม่ให้ละอองน้ำลายเข้าสู่ปากและจมูก ซึ่งแม้ว่าหน้ากากอนามัย
จะเหมาะสำหรับผู้ที่ติดเชื้อมากกว่า แต่สำหรับผู้ที่แข็งแรงดีก็สามารถใช้ได้เพราะอย่างน้อยก็สามารถป้องกันละอองต่างๆ ได้บ้าง
หน้ากากผ้า จริงๆ แล้วหน้าการผ้าไม่สามารถป้องกันความชื้นได้และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่ติดค้างอยู่ในหน้ากาก อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถ
หาหน้ากากชนิดอื่นได้ การใช้หน้ากากผ้าก็ช่วยป้องกันฝุ่นละอองขนาดใหญ่ได้


นวัตกรรมกับหน้ากาก
แว่นป้องกันตาและ
Face shield หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าไวรัส Covid-19 สามารถติดต่อได้ทางดวงตาหากมีละอองน้ำลายเข้าดวงตา
แว่นป้องกันตาและ
Face shield กลายเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในช่วงวิกฤต แว่นตาป้องกันมีข้อดีคือสามารถปกป้องดวงตาได้อย่างดี แต่ไม่สามารถ
ป้องกันส่วนอื่นๆ ของใบหน้าและหากใส่นานๆ ทำให้เกิดการระคายเคืองของผิว ในขณะที่
face shield สามารถป้องกันส่วนอื่นๆ ของใบหน้าได้และ
สวมใส่สบายกว่า แต่ก็ไม่สามารถป้องกันละอองต่างๆ ได้เต็มที่  เมื่อแว่นป้องกันตาและ
Face shield เป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ยาก นักประดิษฐ์ทั่วโลก
จึงหาวิธีผลิตอุปกรณ์ด้วยเครื่องพิมพ์
3 มิติ ออกมาในรูปแบบต่างๆ ชุดป้องกันเชื้อแม้ว่าจะใช้กันเฉพาะในกลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์ แต่ชุดป้องกัน
เชื้อที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ ชุดป้องกันเชื้อสามารถทำเองโดยใช้แผ่นพลาสติกขนาดใหญ่ตัดเย็บตามแบบแพทเทิร์นชุดป้องกันเชื้อ

Surveillance tech เทคโนโลยีเพื่อการสอดส่องตรวจตรา กับการต่อสู้กับ COVID-19

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้เพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19
– Machine learning และเทคโนโลยีปีญญาประดิษฐ์ เช่น แอพพลิเคชั่น Alipay ในโทรศัพท์มือถือที่มี algorithm ในการระบุระดับความเสี่ยงของ
แต่ละบุคคลโดยใช้รหัสสีและกำหนดพื้นที่ที่บุคคลนั้นสามารถเดินทางต่อไปได้
– เทคโนโลยีติดตามตำแหน่งของบุคคล เทคโนโลยีบนโทรศัพท์มือถือหรือ
social media platform นี้จะติดตามตำแหน่งของผู้ใช้ โดยหากมีการ
เดินทางออกนอกเขตที่ได้รับอนุญาต ระบบจะส่งสัญญาณเตือนผู้ใช้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบเพื่อดำเนินการ
– การใช้โดรนบินลาดตระเวนเพื่อตรวจสอบว่ามีประชาชนเดินทางในช่วงเวลาเคอร์ฟิว หรือมีการจับกลุ่มกันมากกว่าจำนวนที่ทางการกำหนดหรือไม่
– การใช้
Bluetooth เพื่อตรวจสอบหากมีประชาชนอยู่ใกล้กันเกินกว่า 6 ฟุต เช่น TraceTogether ของประเทศสิงคโปร์


การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอดส่องตรวจตรากับประเด็นทางกฏหมาย

รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน บางครั้งจำเป็นต้องจำกัดสิทธิบางประการของประชาชนเพื่อให้การปฏิบัติงานของ
รัฐบาลเกิดผล การสอดส่อง ตรวจตรา และควบคุมพฤติกรรมประชาชน หากทำมากเกินไปก็จะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้อง
แสดงให้เห็นว่ามาตรการต่างๆ มีความจำเป็น ได้รับการรับรองทางกฎหมาย การดำเนินงานต้องมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ และเกิดผลดี
มากกว่าผลเสีย


การใช้ข้อมูลตำแหน่งส่วนบุคคลกับสิทธิส่วนบุคคล

หลายประเทศมีการใช้ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือในการตรวจสอบตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อลดการระบาดของ COVID-19 ประเทศ
ออสเตรเลีย เบลเยียม อิตาลี สหราชอาณาจักร และเยอรมนี รายงานว่ารัฐบาลมีการเก็บข้อมูลตำแหน่งส่วนบุคคลจากบริษัทด้านโทรคมนาคม โดยข้อมูล
ดังกล่าวไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้  แต่บางประเทศมีการใช้ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือโดยที่ไม่มีการป้องกันการระบุตัวตน เช่น รัฐบาลเอกวาดอร์ได้
อนุมัติให้มีการใช้ข้อมูล
GPS ในการบังคับให้ประชาชนกักตัวอยู่ในที่พัก ประเทศอิสราเอลมีการใช้ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือในการติดตามผู้ติดเชื้อไวรัส
และมีการส่งข้อความไปเตือนคนอื่นๆ หากมีการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ แม้ว่าตอนนี้จะมีเหตุผลเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่ในอนาคตข้อมูลเหล่านี้อาจถูกนำ
ไปใช้เพื่อเหตุผลอื่นๆ เช่น รัฐบาลสามารถใช้ข้อมูลนี้ตรวจสอบว่ามีการรวมตัวกันเพื่อประท้วงหรือไม่ หรือนำเอาข้อมูลระบุตำแหน่งใช้ร่วมกับเทคโนโลยี
face recognition เพื่อติดตามผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล


Survillance tech เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Big Data อำนาจควบคุมที่เกิดจากข้อมูล


AI และ Big Data เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่หลายประเทศนำไปใช้ในการต่อสู้กับ COVID-19 สาธารณรัฐประชาชนจีนมีการใช้เทคโนโลยีที่เกิดจากการ
รวมกันระหว่างเครื่องวัดอุณหภูมิกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าคนในที่สาธารณะ เพื่อตรวจจับการระบาดของไวรัส
Alibaba บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของ
จีน มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลมาวิเคราะห์และระบุสถานะทางสุขภาพของแต่ละบุคคลด้วยระบบสี เช่น สีเขียวหมายถึงปลอดภัย สีเหลืองหมายถึง
อยู่ระหว่างการดูอาการ
7 วัน และสีแดงคือคนที่อยู่ในช่วงการกักตัว 14 วัน เทคโนโลยี AI และ Big Data ก่อให้เกิดอำนาจที่ยากแก่การต้านทานแก่
รัฐบาล หน่วยงาน หรือบริษัทผู้ครอบครองข้อมูล ส่งผลให้ประชาชนสูญเสียสิทธิส่วนบุคคล เพราะเราไม่สามารถรู้เกี่ยวกับการนำเอาข้อมูลไปใช้หรือ
ควบคุมผู้ที่มีข้อมูลในมือได้ ซึ่งรัฐบาลควรที่จะให้ความสำคัญในการเก็บ การใช้ประโยชน์ และการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันสิทธิของ
ประชาชนทิ้งระหว่างและหลังเหตุการณ์ระบาดของไวรัส


บทบาทของบริษัทเอกชน

แม้ว่าบริษัทเอกชนจะมีเทคโนโลยีและบริการล้ำสมัยสามารถนำไปใช้ในการรับมือวิกฤตโรคระบาดได้ แต่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตัวอย่างเช่น บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งของอิสราเอล ชื่อ
NSO Group มีประวัติเคยขายข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าให้แก่รัฐบาลที่ฉ้อฉล ขณะนี้ได้โฆษณาขาย
เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของประชากร หากรัฐบาลเลือกใช้สินค้าและบริการของบริษัทนี้ เป็นที่กังวัลว่าบริษัทนี้จะใช้
ข้อมูลของประชาชนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจอย่างที่เคยทำอีกหรือไม่ สิ่งที่ควรพิจารณาในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้มีสองประการคือ
1. ต้องพยายามมงข้อจำกัดเช่นกัน เช่น หากเราไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ในมือ เรามีทางเลือกอื่นใดบ้าง และทางเลือกไหนมีประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคล
และสังคมส่วนรวมมากที่สุด
2. การเลือกใช้เทคโนโลยีต้องยึดเป้าหมายสร้างสรรค์ หรือเพื่อประโยชน์สุขเป็นสำคัญ เช่น ด้านการป้องกันโรคระบาด การรักษาความสงบเรียบร้อยของ
สังคม และการอำนวยประโยชน์ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เช่น การจ่ายเงินเยียวยา ลงทะเบียนคนจน/คนเดือดร้อน การให้ข้อมูลและการเก็บข้อมูล
ส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลทุกอย่างถูกโยงกันไว้ในระบบอภิมหาข้อมูล
(Big data) ที่ทำให้ข้อมูลมนุษย์สามารถเคลื่อนย้ายไปมาในระบบสืบค้นที่
เชื่อมต่อกันมากมายและหลากหลาย ที่มีอุปกรณ์คือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเมื่อตกไปในเงื้อมมือของผู้ไม่หวังดี ทั้งในระดับฮาร์ดแวร์ (แบบเอาไปทั้งเครื่อง)
หรือในระดับซอฟต์แวร์ (แฮกล้วงเอาข้อมูล) อาจทำให้ปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น กรณีมีคนแอบอ้างมาจากสถานกักตัว จะเอาโทรศัพท์มาให้ ซึ่งเพียง
เสียบซิมเข้าไป สักพักเงินก็ไหลไปและไม่ย้อนคืนมาอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้น ในความสะดวกสบาย จึงมีความวุ่นวายอยู่เช่นกัน

บทบาทของหุ่นยนต์ในยุคโควิด-19

แม้ว่าช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักับไวรัสโคโรนา เทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ แทนที่มนุษย์เพราะหุ่นยนต์สามารถทำงานได้แม่นยำกว่า
ทำงานได้ต่อเนื่องไม่เหนื่อย ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้แรงงานมนุษย์ เมื่อมนุษย์ถูกคุกคามด้วยไวรัสร้าย เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
เพราะสามารถทำงานหลายอย่างแทนได้ เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นในห้างสรรพสินค้า หุ่นยนต์คัดแยกขยะ หุ่นยนต์ส่งของ เป็นต้น

บทบาทของหุ่นยนต์ในยุคโควิด – 19
16 ประเทศ ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ เช่น การใช้โดรนและอุปกรณ์ภาคพื้นดินในการตรวจตรา
พฤติกรรมของประชาชน การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะต่างๆ การระบุหาตัว ผู้ติดเชื้อ ฯลฯ
7 ประเทศ มีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการให้บริการทางการแพทย์ เช่น การทำความสะอาดสถานที่ให้บริการทางการแพทย์ การให้บริการทาง
การแพทย์ทางไกล การจ่ายยาและส่งอาหารให้ผู้ป่วย ฯลฯ
7 ประเทศ ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อการทำงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการจัดส่งของ เพื่อการ
ติดต่อสื่อสาร และการค้าขายในระบบดิจิตอล
5 ประเทศ มีการใช้หุ่นยนต์ในป้องทดลองและห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) เช่น การจัดส่งสินค้าในโรงงานและบริษัทผู้จำหน่าย การขนส่ง
อุปกรณ์ติดเชื้อ หุ่นยนต์ในการผลิตอุปกรณ์
PPE ฯลฯ
3 ประเทศ ใช้หุ่นยนต์ในการให้การดูแลผู้ป่วยนอกสถานพยาบาล เช่น การจัดส่งยาให้แก่ผู้ที่อยู่ระหว่างการกักตัวดูอาการ และการตรวจสอบ
หาผู้ติดเชื้อ ฯลฯ ผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจในการนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ในช่วงวิกฤตการระบาดของโคโรนาไวรัส ไว้ดังนี้


หุ่นยนต์ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์แต่มาเป็นผู้ช่วย แม้ว่าหุ่นยนต์จะมีบทบาทมากขึ้นในช่วง
COVID-19 พบว่าหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในการทำ
ภารกิจที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การจัดส่งยา อาหาร และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการช่วย
ให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์สามารถรับมือกับโรคระบาดและจำนวนผู้ป่วยที่สูงมากขึ้นได้
เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ถูกใช้งานในช่วงวิกฤตมักเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วก่อนการระบาด ในช่วงที่มีการระบาดรุนแรงยอดผู้ป่วยสูงมาก
ผู้ให้บริการทางการแพทย์ไม่มีเวลาที่จะมาเรียนรู้และฝึกหัดการใช้เทคโนโลยีใหม่ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้จะเป็นเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่แล้ว
ผู้เคยผ่านการเรียนรู้และใช้งานมาบ้างแล้ว เช่น การประยุกต์ใช้โดรนที่ถูกใช้เพื่อการเกษตรกรรมมาใช้ในการตรวจตระเวนดูพฤติกรรมของผู้คนในที่
สาธารณะ
การกักตุนหุ่นยนต์ไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร เพื่อเตรียมรับมือกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต หลายคนได้มีการกักตุนอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง
เช่นหน้ากาก ถุงมือ ฯลฯ แต่การกักตุนหุ่นยนต์ที่ถูกออกมาเพื่อภารกิจในภาวะฉุกเฉินกลับไม่เป็นประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในมีอายุการใช้งานเสื่อมตามกาลเวลา ตัวอย่าง คือ ระหว่างภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะ
Japanese Atomic Energy Agency
ได้นำหุ่นยนต์ที่เก็บไว้มาใช้แทนที่มนุษย์ แต่ระบบของหุ่นยนต์กลับล้าสมัยและเกิดสนิมทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามที่คาดการณ์ไว้
สำหรับประเทศไทย หุ่นยนต์ที่มีการผลิตออกมาจากหน่วยงานองค์กร ทั้งของภาครัฐและเอกชนมีหลากหลายโดยเฉพาะหุ่นวัดอุณหภูมิร่างกาย อาทิ
โรบอตสวัสดี เฮลตี้บอต โรบอตสยาม สเต็มบอต ฯลฯ บางตัวมาพร้อมกับเสียงเพลง ดังวิบวับ วิบวับ ให้คนไข้ผ่อนคลายลง และนี่ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำ
ให้สาธารณสุขไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

COVID-19 กับเงินดิจิทัล
ที่ผ่านมา มีหลายฝ่ายพยายามพัฒนาและนำเงินในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดไปสู่ระบบ
เงินดิจิทัลไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายภายในและระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะต่างๆ การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค

เทคโนโลยีการสื่อสารที่เชี่อมโยงเราระหว่างโควิด-19

เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานทางไกลและการทำงานจากที่บ้าน
เทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น เครือข่ายส่วนตัวเสมือน
(Virtual Private Network : VPN) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
ระบบ
voice over internet protocols (VoIPs) หรือการสื่อสารด้วยเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบการประชุมทางไกล (virtual meetings)
เช่น การประชุมผ่านระบบ Zoom หรือ WebEx เทคโนโลยี Cloud และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดการทำงานเป็นทีม แม้ว่าในช่วงต้น
หลายคนประสบปัญหาต่างๆ ในการทำงานจากบ้าน แต่เมื่อได้เรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเทคโนโลยีแล้ว พบว่า การทำงานจากบ้าน
มีประโยชน์หลายประการ
– พนักงานสามารถทำงานในสิ่งแวดล้อมและเวลาที่เหมาะสมกับตนเองและรูปแบบการดำเนินชีวิต ทำให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ทำงาน
ได้เร็วขึ้นและผิดพลาดน้อยลง งานวิจัยหนึ่งจาก
Univisity of Illinois พบว่า เมื่อได้โอกาสให้ทำงานอยู่ที่บ้าน พนักงานมีความตั้งใจทำงานมากกว่า
เดิมด้วยตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– นอกจากประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นแล้ว บริษัทยังลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าดูแลอาคารสำนักงาน ค่าจ้างพนักงานบางตำแหน่ง ฯลฯ
– ผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม งานวิจัยพบว่า พนักงานทำงานจากที่บ้านมีความเครียดต่ำกว่าและสามารถรับประทานอาหารที่มีคุณภาพดีกว่า อีกทั้ง
การลดการเดินทางช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นเนื่องจากจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยานพาหนะมีจำนวนน้อยลง

ระบบการเรียนทางไกล
โรงเรียนจำนวนมากเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบทางไกลซึ่งสถานการณ์เช่นนี้อาจยืดเยื้อไปถึงปีหน้า ดังนั้น ระบบการเรียนการสอน
ทางไกลกลายเป็นสิ่งที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จากสถิติพบว่า ทั่วโลกมีนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการ
ปิดโรงเรียนถึง
1.38 พันล้านคน เทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนทางไกลไม่ต่างจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานจากบ้าน 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-jun2020.pdf

 

 

 

18 ส.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: