หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ Open Access Publishing in European Networks (OAPEN)
Open Access Publishing in European Networks (OAPEN)
1 ก.ย. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

OAPEN Online Library (OAPEN) แพลตฟอร์มเพื่อเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (OA books) ที่ผ่านการ peer-reviewed แล้ว แพลตฟอร์มนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ OAPEN Foundation ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจาก European Union’s Horizon 2020 research and innovation program และมีพันธมิตรจากหลายองค์กร อาทิ Open Edition Ubiquity Press OCLC Google Scholar SCOSS OASPA และ OA Books Network เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบน OAPEN เจ้าของผลงานสามารถเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบเปิดคือ Creative Commons (cc) ซึ่งผู้ใช้ปลายทาง (ผู้อ่าน) สามารถ อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ หรือทำสำเนาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของผลงานเลือก เงื่อนไขใดของ cc ด้วย ผลงานใดๆ ที่เจ้าของไม่ได้ระบุสัญญาอนุญาต cc ไว้ ให้ถือว่าผลงานนั้นๆ อยู่ภายใต้ OAPEN Deposit Licence คือ สงวนลิขสิทธิ์ ผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้อ่านงานออนไลน์ ดาวน์โหลด พิมพ์ และสำเนา เพื่อการใช้ส่วนตัว ภายใต้กรอบกฏหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศ
การสืบค้นหนังสือหรือบทในหนังสือสามารถทำได้ตั้งแต่หน้าแรก (ดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่างนี้) และสามารถไล่เรียงหนังสือจาก หัวเรื่อง สำนักพิมพ์ ภาษา และคอลเลคชั่น

หนังสือใน OAPEN แม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิด Creative Commons (cc) แต่เจ้าของผลงานอาจเลือกเงื่อนไขภายใต้ cc ไม่เหมือนกัน ซึ่งเจ้าของผลงานจะระบุไว้ชัดเจน หากไม่ได้กำหนดไว้ OAPEN กำหนดให้ใช้ OAPEN Deposit Licence ตัวอย่างเช่น

รูปภาพที่ 1 ตัวอย่าง cc แบบ CC BY 4.0 คืออนุญาตให้อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ ทำสำเนาหรือแก้ไขได้ แต่ควรใส่เครดิตเจ้าของผลงาน


รูปภาพที่ 2 ตัวอย่าง cc แบบ CC BY-NC-SA 3.0 คืออนุญาตให้อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ ทำสำเนาหรือแก้ไขได้ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อการค้า หรือแสวงหารายได้ เครดิตเจ้าของผลงาน และหากมีปรับแก้ ขอให้ใช้สัญญาอนุญาติเงื่อนไขแบบเดียวกัน

รูปภาพที่ 3 ตัวอย่างกรณีเจ้าของผลงานไม่ได้ระบุ หรือเลือกใช้ OAPEN Deposit Licence คือ สงวนลิขสิทธิ์ แต่ยังคงอนุญาตให้อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ ทำสำเนาได้ แต่เพื่อการใช้ส่วนตัวเท่านั้น

บริการอื่นๆ ของ OAPEN

OAPEN ทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์เพื่อสร้างคอลเลคชั่นหนังสือแบบเปิดที่มีคุณภาพ และให้บริการแก่สำนักพิมพ์ ห้องสมุด และหน่วยงานให้ทุนวิจัยในด้านการเผยแพร่ การประกันคุณภาพ และการสงวนรักษาแบบดิจิทัล

การประกันคุณภาพ

OAPEN รีวิวสำนักพิมพ์เพื่อให้แน่ใจว่าหนังสือทั้งหมดผ่านกระบวนการพิจารณาบทความ (peer review)
OAPEN รีวิวสำนักพิมพ์เพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งพิมพ์ผ่านกระบวนการพิจารณาบทความตามมาตรฐานวิชาการ
OAPEN ตีพิมพ์/เผยแพร่กระบวนการพิจารณาบทความที่เว็บไซต์ของ OAPEN
OAPEN เป็นสมาชิกของ OASPA และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวเพื่อพัฒนาข้อกำหนดและมาตรฐานสำหรับหนังสือวิชาการ

บริการจัดเก็บสิ่งพิมพ์แบบเปิด
OAPEN รองรับนโยบายด้าน OA ของหน่วยงานผู้ให้ทุน เพื่อให้นักวิจัยและสำนักพิมพ์สามารถนำเข้าสิ่งพิมพ์ตามนโยบายของผู้ให้ทุน นอกจากนี้ ยังได้ปรับใช้มาตรฐานเมทาดาทา การจัดหมวดหมู่ และช่องทางการเผยแพร่เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทของสื่อที่จัดเก็บใน OAPEN Library เช่น หนังสือวิชาการ บทความ หรือบทของหนังสือ เป็นต้น

การเผยแพร่
OAPEN ได้จัดเตรียมเมทาดาทาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถเผยแพร่สื่อบน OAPEN ได้อย่างเหมาะสม
OAPEN ให้บริการเมทาดาหลากหลายรูปแบบ เช่น ONIX 3.0 MARC21 MARCXML CSV สำหรับห้องสมุดและผู้ให้บริการอื่นๆ
OAPEN ทำงานร่วมกับ ProQuest (Serial Solutions) ExLibris (Primo Central) และ EBSCO Discovery Service หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ยังสามารถสืบค้นได้ใน WorldCat และผ่าน search engine ชื่อ BASE (Bielefeld Academic Search Engine) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็น aggregator ให้กับ Europeana อีกด้วย
ห้องสมุดและ aggregators สามารถเก็บเกี่ยวเมทาดาทาโดยใช้โปรโตคอล OAI ได้
OAPEN.org ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับ search engines (โดยใช้ site map) และถูกทำดัชนีโดย Google Scholar

การสงวนรักษาแบบดิจิทัล
OAPEN Library เลือกใช้ OSS อย่าง DSpace ในการบริหารจัดการคอลเลคชั่น ซึ่งโฮสโดย Huma-Num และทำงานร่วมกับ Portico เพื่อการสงวนรักษาแบบดิจิทัล

OAPEN เป็นแพลตฟอร์มที่เน้น open content และ open access เน้นสิทธิ์การเข้าถึงและสิทธิ์การใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาต cc ที่มีหลากหลายเงื่อนไข ให้เจ้าของผลงานได้เลือกใช้ เพื่อสร้างคอลเลคชั่นแบบเปิดที่ผ่านการกระบวนการพิจารณาบทความหรือคุณภาพ (peer review) แล้ว นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยสนับสนุนการเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์แบบเปิด เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการค้นคืน (retrievability) และการกระจายความรู้สามารถไปได้กว้างไกลขึ้น

ที่มา

บทความนี้เรียบเรียงและสรุปเนื้อหา และรูปภาพจาก https://www.oapen.org/

 

 

 

 

1 ก.ย. 2563
0
แชร์หน้านี้: