– ขยายการเข้าถึงการเรียนรู้
นักเรียนจากที่ไหนก็ได้ในโลกสามารถเข้าถึง OER ไม่จำกัดเวลา และสามารถใช้ทรัพยากรการศึกษาได้อย่างซ้ำๆ
– มีความสามารถในการขยายระบบเพื่อรองรับการใช้งาน (scalability)
OER เผยแพร่ไปกว้างได้ง่ายโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่มี
– เป็นส่วนขยายวัสดุการศึกษาในชั้นเรียน
OER สามารถเสริมตำราเรียนและการบรรยายการสอนซึ่งขาดรายละเอียดชัดเจน
– ทำให้เนื้อหาหลักสูตรตามปกติดีขึ้น
วัสดุสื่อมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอสามารถมีเนื้อหารวมด้วย การนำเสนอรายละเอียดในหลายรูปแบบอาจช่วยนักเรียนเรียนรู้วัสดุที่ใช้ในการสอนง่ายมากขึ้น
– การแพร่กระจายเร็ว
รายละเอียดอาจได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับรายละเอียดที่เผยแพร่ในตำราเรียนหรือวารสารซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีจึงจะมีให้ใช้ได้) การมีให้ใช้วัสดุที่รวดเร็วอาจเพิ่มความทันต่อเวลาและหรือการเข้าประเด็นของวัสดุที่จะถูกนำเสนอ
– ทำให้นักเรียนเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
การใช้ OER แทนตำราเรียนหรือหลักสูตรแบบดั้งเดิมสามารถทำให้นักเรียนเสียค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุในหลักสูตรน้อยกว่า
– เป็นที่แสดงนวัตกรรมและความสามารถพิเศษ
ผู้ใช้ที่กว้างอาจเรียนรู้ความสนใจงานวิจัยและความเชี่ยวชาญของคณะ
– ดีต่อศิษย์เก่า
OER ช่วยให้ศิษย์เก่ายังคงสามารถเชื่อมต่อกับสถาบันและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
– วัสดุการศึกษาได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไม่เหมือนตำราเรียนและแหล่งรายละเอียดที่อยู่นิ่งๆ อื่นๆ OER สามารถได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านการแก้ไขโดยตรงโดยผู้ใช้หรือผ่านการชักชวนและรวมตัวกันของการตอบกลับของผู้ใช้ ผู้สอนสามารถใช้ OER ที่มีอยู่โดยปรับให้เหมาะสมสำหรับชั้นเรียนและทำให้ผู้อื่นสามารถใช้
ที่มา: Felician University Libraries (April 22, 2020). Advantages & Disadvantages of OER. Retrieved September 24, 2020, from https://felician.libguides.com/OER/proscons