สำนักพิมพ์ Elsevier : ศาลตัดสินให้ชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์จาก Sci-Hub จำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ
ข่าวจากวารสารเนเจอร์ วันที่ 22 มิถุนายน 2017
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2017 ศาล แห่งเขตกรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้ตัดสินคดี อนุญาต/เห็นชอบ ให้สำนักพิมพ์วิชาการยักษ์ใหญ่ สัญชาติดัดช์ (เนเธอร์แลนด์) ได้รับค่าชดเชยความเสียหายจากเว็บไซต์ Sci-Hub (เว็บไซด์โจรสลัดที่กระทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์) ในจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ
เว็บไซต์ Sci-Hub ก่อตั้งโดย นักประสาทวิทยา ชื่อ Alexandra Elbakyan ชาวคาซัคสถาน เมื่อปี 2011 Sci-Hub ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเรียกข้อมูลบทความวิจัยของสำนักพิมพ์ต่างๆ เช่น JSTOR, Springer, Sage, Elsevier มารวบรวมไว้เป็นจำนวนมากเป็นหลักล้านเรื่อง แล้วเปิดให้บริการให้แก่ผู้ใช้ที่ ร้องขอบทความมาแบบฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อสำนักพิมพ์ ทำให้ขาดรายได้ อย่างไร Sci-Hub ได้รับความนิยมและมีเสียเชียร์เห็นด้วยจำนวนมากจากนักวิทยาศาสตร์ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและไม่พอใจรูปแบบการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในโมเดลแบบเดิมนี้ ที่สำนักพิมพืเป็นผู้ได้ประโยชน์ ทำการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเวลาช้านาน
โดยที่ วารสาร Nature ฉบับปลายเดือนธันวาคม 2016 ได้ยกย่อง Alexandra Elbakyan เป็น 1 ใน 10 นักวิทยาศาสตร์ ว่ามีบทบาท ผลงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโลก ในปี 2016 (One Year. Ten Stories : Ten people who mattered this year 2016.)
ในวันพิจารณาคดี เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2017 ฝ่ายจำเลย Alexandra Elbakyan ไม่ได้ส่งผู้แทนใดๆ มาเข้าร่วมรับฟังผลการตัดสินด้วย
หลังจากศาลได้ตัดสินคดีนี้ กลุ่มผู้ติดตามเรื่องนี้ ได้ให้แสดงความสงสัยว่า Elsevier จะได้รับค่าเสียหายจาก Elbakyan ที่ตัวตนอยู่นอกเขตอำนาจศาลและไม่มีทรัพย์สินอยู่ในสหรัฐอเมริกา หรือไม่ รวมทั้ง เว็บไซต์ Sci-Hub จะปิดตัวลงหรือไม่ (โดเมนมีหลายแห่ง เช่น https://sci-hub.io/)
นอกจากนี้มีทั้งกลุ่มผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในเรื่องการตัดสินคดี ดังนี้
นักวิทยาศาสตร์ชีววิทยาสถาบัน Imperial College London ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า “Sci-Hub ทำการผิดกฎหมายอย่างเห็นได้ชัด แต่ในสถานการณ์จริง Sci-Hub ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษาทั่วโลก ซึ่งเป็นเพราะคนจำนวนมากไม่พอใจกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในการเผยแพร่ทางวิชาการในรูปแบบเดิม ที่มีการเรียกเก็บค่าเข้าอ่านบทความวิจัยจากสำนักพิมพ์ ในราคาที่สูงมาก”
โฆษกของสมาคม International Association of Scientific, Technical and Medical Publishers ใน Oxford, UK กล่าวว่าผลการตัดสินคดีนี้ ถือเป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น “Sci-Hub ไม่ได้เพิ่มมูลค่าให้แก่ชุมชนนักวิชาการ ไม่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และไม่ให้ความสำคัญกับผลงานวิจัยของนักวิจัย มันเป็นเพียงเว็บไซต์ที่ไปดาวน์โหลดเนื้อหาที่ถูกขโมยมา ”
ขณะนี้ มีสถาบันการศึกษาและห้องสมุดในหลายๆ ประเทศคือ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฟินแลนด์และไต้หวัน กำลังมีเรื่องขัดแย้ง ต่อต้าน บอยคอต กับ Elsevier เช่นในฟินแลนด์มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนหลายพันคนลงนามในข้อร้องเรียนที่จะงดเว้นในการร่วมงานกับ Elsevier ในหน้าที่กองบรรณาธิการ จนกว่าจะมีการจัดการเรื่อง “fair deal” ระหว่างผู้จัดพิมพ์และห้องสมุดของฟินแลนด์เกี่ยวกับค่าสมัคร สมาชิกและโมเดลการเข้าถึงแบบเปิด
อ้างอิง
NATURE – NEWS 22 June 2017 : US court grants Elsevier millions in damages from Sci-Hub
Available at : https://www.nature.com/news/us-court-grants-elsevier-millions-in-damages-from-sci-hub-1.22196