สรุปการบรรยายหัวข้อ วัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโนเพื่อเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ โดย ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ในงาน R&D Sharing 2017 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ดังนี้
งานหลักของหน่วยซึ่งมี 3 ห้องปฏิบัติการคือ การแปรรูปวัสดุชีวภาพ ชีวมวล วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นของที่มีมูลค่ามากขึ้น ห้องปฏิบัติการที่ 1 ใช้ computer ในการทำงานซึ่งมี 3 areas ได้แก่ 1. การใช้ขบวนการ catalysis สำหรับการผลิตพลังงานและสารเคมีสะอาด เช่น การเปลี่ยน biomass เป็น biochemical การทำ fuel improvement เช่น การกำจัด sulfur ออกซิเจนจากเชื้อเพลิง การเปลี่ยน carbondioxide เป็นสารที่เพิ่มมูลค่า 2. ออกแบบ catalyst หรือออกแบบตัวดูดซับไปใช้ในการกำจัดสารพิษ 3. การพัฒนาวัสดุสำหรับใช้งานในอุปกรณ์ด้านพลังงาน เช่น lithium ion battery ห้องปฏิบัติการที่ 2 ทำงานเกี่ยวกับการเอาตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวดูดซับไปใช้ในงานด้าน green biorefinery เช่น การผลิต biofuel biochemical หรือพวก advanced material ต่างๆ ห้องปฏิบัติการที่ 3 มีความเชี่ยวชาญในการทำ nanofabrication และทำ intregration ของวัสดุ nano ที่มี function ต่างๆ ให้กลายเป็นของที่ใช้งานได้ งานโดดเด่นของหน่วยที่ได้รับการตีพิมพ์ เช่น 1. การออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดตัว hydrogen sulfide 2. การพัฒนาตัว catalyst ในการเปลี่ยนน้ำมันปาล์มเป็น diesel สังเคราะห์ 3. การเอา Lactic หรือ succinic acid ไปทำ polymerization เมื่อทำเสร็จจะได้วัสดุที่มีมูลค่าสูงขึ้นเป็นวัสดุที่ใช้ในการแพทย์ 4. การศึกษาพัฒนาสาร organic ที่ใช้ใน organic light emitting diode (OLED)
ติดตามการบรรยายฉบับเต็มได้ที่ http://ffwtube.nstda.or.th/category/seminar/rd-sharing/rd-sharing-2017/page/2/