The Royal Swedish Academy of Sciences ตัดสินรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2017 แก่ Jacques Dubochet จาก University of Lausanne สวิตเซอร์แลนด์ Joachim Frank จาก Columbia University สหรัฐอเมริกา และ Richard Henderson จาก MRC Laboratory of Molecular Biology Cambridge สหราชอาณาจักร สำหรับการพัฒนา cryo-electron microscopy เพื่อใช้สำหรับแสดงโครงสร้างที่มีความละเอียดสูงของชีวโมเลกุลในสารละลาย
นักวิจัยสามารถปัจจุบันทำให้ชีวโมเลกุลเคลื่อนที่ได้พอประมาณและเห็นขบวนการซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งช่วยทั้งการเข้าใจพื้นฐานทางเคมีของชีวิตและการพัฒนายา
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy) เชื่อมาเป็นเวลานานว่าเหมาะเพียงให้ภาพสำหรับวัตถุไม่มีชีวิตเพราะว่าลำแสงอิเล็กตรอนที่ทรงพลังทำลายวัสดุทางชีววิทยา แต่ในปี 1990 Richard Henderson ประสบความสำเร็จในการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเพื่อสร้างภาพสามมิติของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ความละเอียดระดับอะตอม ความสำเร็จครั้งนี้พิสูจน์ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนี้
Joachim Frank ทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถประยุกต์ใช้ทั่วไป โดยระหว่างปี 1975 และ 1986 ได้พัฒนาวิธีการจัดการกับภาพซึ่งภาพสองมิติที่คลุมเครือของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้รับการวิเคราะห์และรวมเข้าด้วยกันเพื่อทำให้ได้โครงสร้างสามมิติที่คมชัด
Jacques Dubochet เติมน้ำไปยังกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน น้ำระเหยในสูญญากาศของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งทำให้ชีวโมเลกุลเสียหาย ในช่วงต้นของปี 1980 Dubochet ได้ทำให้น้ำเย็นอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้น้ำอยู่ในรูปของเหลวรอบๆ สิ่งตัวอย่างชีวโมเลกุล ทำให้ชีวโมเลกุลนั้นคงรูปตามธรรมชาติแม้อยู่ในสูญญากาศ
หลังจากการค้นพบเหล่านี้ พื้นฐานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้รับการพัฒนาให้เหมาะสม ความละเอียดระดับอะตอมที่ต้องการทำสำเร็จในปี 2013 และปัจจุบันนักวิจัยสามารถผลิตโครงสร้างสามมิติของชีวโมเลกุลเป็นประจำ
ที่มา: Nobel Foundation (2017, October 4). Nobel Prize in Chemistry 2017: Cryo-electron microscopy. ScienceDaily. Retrieved October 24, 2017, from https://www.sciencedaily.com/releases/2017/10/171004090218.htm