คณะนักวิจัยจาก Penn State และ Albert Einstein College of Medicine แสดงกลไกการทำงานของ viperin ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อต้านไวรัสหลายชนิด ได้แก่ West Nile ตับอักเสบซี พิษสุนัขบ้า และเอชไอวี
เอนไซม์ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาซึ่งผลิตโมเลกุล ddhCTP ซึ่งป้องกันไวรัสจากการทำสำเนาสารพันธุกรรมและดังนั้นจากการเพิ่มจำนวน การค้นพบนี้สามารถทำให้นักวิจัยพัฒนายาซึ่งชักนำให้ร่างกายคนผลิตโมเลกุลนี้และสามารถเป็นการรักษาได้กว้างสำหรับไวรัสหลายตัว การศึกษาครั้งนี้เผยแพร่ในวารสาร Nature
ไวรัสทั่วไปใช้ส่วนประกอบทางพันธุกรรมของเจ้าบ้านเพื่อทำสำเนาสารพันธุกรรมของตัวเอง คือการเติมโมเลกุลที่เรียกว่า nucleotide เข้าไปในสายอาร์เอ็นเอ โมเลกุล ddhCTP เลียนแบบ nucleotide เหล่านี้และดังนั้นเข้าไปอยู่ในสายอาร์เอ็นเอของไวรัส และป้องกันเอนไซม์ RNA polymerase จากการเติม nucleotide เข้าไปในสาย ดังนั้นป้องกันไวรัสจากการทำสำเนาสารพันธุกรรม จึงทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนไม่ได้
รองศาสตราจารย์ Jamie Arnold หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวว่า อุปสรรคหลักของการพัฒนา nucleotide ต้านไวรัสที่มีประโยชน์ในการรักษาคือ การออกฤทธิ์ไม่ตรงเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ค้นพบว่าโมเลกุลเลียนแบบ nucleotide ซึ่งถูกพัฒนาเพื่อการรักษาตับอับเสบซีสามารถขัดขวางการผลิตอาร์เอ็นเอใน mitochondria ของเซลล์ของผู้ป่วย
อย่างไรก็ตามโมเลกุล ddhCTP ไม่พบว่าออกฤทธิ์ไม่ตรงเป้าหมาย คณะนักวิจัยคาดว่าการเกิดขึ้นในธรรมชาติของสารประกอบนั้นภายในร่างกายคนทำให้ไม่มีพิษ
เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ ddhCTP คณะนักวิจัยแสดงว่าโมเลกุลยับยั้งเอนไซม์ RNA polymerase ของไวรัสไข้เลือดออก ไวรัส West Nile และไวรัส Zika ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า flaviviruses ต่อมาได้ค้นหาว่าโมเลกุลยับยั้งการทำสำเนาสารพันธุกรรมของไวรัส Zika ในเซลล์มีชีวิตหรือไม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Joyce Jose หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวว่า โมเลกุลยับยั้งโดยตรงการทำสำเนาสารพันธุกรรมของไวรัส Zika 3 สายพันธุ์ โดยมีประสิทธิภาพเท่าๆ กันต่อสายพันธุ์ต้นกำเนิดจากปี 1947 และต่ออีก 2 สายพันธุ์จากการระบาดเมื่อเร็วๆ นี้ปี 2016 นี้เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเพราะยังไม่มีวิธีรักษาสำหรับ Zika
โดยสรุปผลการศึกษาแสดงผลต้านไวรัสหลายตัวของ flaviviruses ของ ddhCTP แต่เอนไซม์ RNA polymerase ของไวรัสไรโน (rhinovirus) และไวรัสโปลิโอของคน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า picornaviruses ไม่ถูกยับยั้งด้วยโมเลกุล คณะนักวิจัยวางแผนที่จะศึกษาโครงสร้าง polymerase ของไวรัสเหล่านี้เพื่อให้เข้าใจดีขึ้นทำไม flaviviruses จึงถูกยับยั้งโดย ddhCTP ในขณะที่ picornaviruses ไม่ถูกยับยั้ง การศึกษานี้ยังอาจจะทำให้เข้าใจว่า flaviviruses อาจพัฒนาการดื้อต่อโมเลกุลอย่างไร
ที่มา: Penn State (2018, June 20). Compound made inside human body stops viruses from replicating. ScienceDaily. Retrieved August 15, 2018, from https://www.sciencedaily.com/releases/2018/06/180620150150.htm