หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ การจัดการความรู้ (KM) มาตรฐานสากลการจัดจำแนกการศึกษา
มาตรฐานสากลการจัดจำแนกการศึกษา
10 มี.ค. 2558
0
การจัดการความรู้ (KM)

ระบบการศึกษาของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ในโลก มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร ส่งผลให้อาจเกิดความยุ่งยากลำบากสำหรับผู้เกี่ยวข้องทางการบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะผู้ตัดสินใจในระดับนโยบายของแต่ละประเทศในการที่จะเปรียบเทียบ และ benchmark ระบบการศึกษาของประเทศตนเองกับประเทศอื่นๆ

ดังนั้นองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) จึงได้จัดทำมาตรฐานสากลการจัดจำแนกการศึกษา (the International Standard Classification of Education: ISCED) ซึ่งคือ Framework ทางสถิติสำหรับการจัดจำแนกการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบสถิติและตัวชี้วัดทางการศึกษาในประเทศต่างๆ หนึ่งในข้อมูลที่สำคัญ คือ การจัดจำแนกระดับการศึกษาและสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดจำแนกข้อมูลการศึกษาให้เป็นมาตรฐานสอดคล้องมาตรฐานสากล

มาตรฐานสากลการจัดจำแนกการศึกษา ซึ่งจัดทำขึ้นโดย UNESCO เวอร์ชั่นแรกรู้จักกันในชื่อว่า ISCED 1976 ขณะที่เวอร์ชั่นที่ 2 รู้จักกันในชื่อว่า ISCED 1997 ซึ่งได้จัดจำแนกระดับการศึกษาออกเป็นระดับต่างๆ จำนวน 7 ระดับ 25 สาขาวิชา โดยในแต่ละระดับการศึกษานั้น มีการจำแนกประเภทและชั้นปีด้วย ขณะที่ ISCED 2011 ได้จัดจำแนกระดับการศึกษาออกเป็นระดับต่างๆ จำนวน 9 ระดับ ซึ่งในแต่ละระดับการศึกษายังคงมีการจำแนกประเภทและชั้นปี โดยมีการแบ่งระดับการศึกษาก่อนปริญญาเอกเป็น 3 ระดับ และขยายระดับการศึกษาขั้นต่ำสุดเพื่อให้ครอบคลุมหมวดหมู่ย่อยใหม่ของโปรแกรมการพัฒนาการศึกษาวัยเด็กตอนต้นซึ่งอายุต่ำกว่า 3 ปี

ในขณะที่มีการทบทวน ISCED 2011 คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการเห็นพ้องกันว่าสาขาวิชาของการศึกษาควรมีขั้นตอนการศึกษาและตรวจสอบแยกจากระดับการศึกษา การทบทวนสาขาวิชาดำเนินการขึ้นในปี 2012 เรียกว่า the ISCED Fields of Education and Training ซึ่งมีการจัดจำแนกการศึกษาตามสาขาวิชาเป็น 11 กลุ่มสาขาวิชาหลัก 29 สาขาวิชาย่อย เช่น

Broad field Narrow field  Detailed field
01 Education 011 Education 0111 Education science
0112 Training for pre-school teachers
0113 Teacher training without subject specialisation
0114 Teacher training with subject specialisation
02 Arts and humanities 021 Arts 0211 Audio-visual techniques and media production
0212 Fashion, interior and industrial design
0213 Fine arts
0214 Handicrafts
0215 Music and performing arts
022 Humanities (except languages) 0221 Religion and theology
0222 History and archaeology
0223 Philosophy and ethics
023 Languages 0231 Language acquisition
0232 Literature and linguistics

ที่มาและเอกสารฉบับเต็ม the International Standard Classification of Education (ISCED)  คลิกที่นี่

แชร์หน้านี้: