diigo เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ในการทำ social bookmarking
social bookmarking เหมือนการจัดเก็บเว็บไซต์ทั่วไป แต่มีการแบ่งปันเว็บไซต์ที่ถูกเก็บกับผู้ใช้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอื่น ๆ เมื่อพบเว็บไซต์ที่สนใจ บันทึกเว็บไซต์นั้นเข้าไปในเว็บไซต์ diigo จะทำให้สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ที่สนใจที่ไหนก็ได้ตอนไหนก็ได้ ข้อดีอีกข้อของ social bookmarking คือ ทำให้การทำวิจัยง่ายขึ้น โดยนักวิจัยสามารถพบเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บที่มีเนื้อหาในเรื่องที่สนใจโดยง่ายจากการติดตามการจัดเก็บเว็บไซต์ของนักวิจัยคนอื่น ๆ ผ่านเว็บไซต์ diigo
diigo ช่วยในการจัดการกับเนื้อหาของเว็บไซต์ที่สนใจ ที่ถูกจัดเก็บในเว็บไซต์ diigo สามารถเพิ่มคำอธิบายลงไปในหน้าเว็บไซต์ โดยการเน้นหรือใส่ข้อความสั้น ๆ ลงไปในเนื้อหา ให้ tags ประกอบกับเนื้อหาเพื่อง่ายต่อการสืบค้นภายหลัง จัดการเนื้อหาให้เป็นระบบโดยฟังก์ชัน outliner สามารถให้เรื่องการจัดการกับเนื้อหาสามารถเห็นได้เพียงผู้จัดการเนื้อหาเพียงผู้เดียวหรือเห็นโดยบางคนได้
diigo เป็นเครือข่ายทางสังคม สามารถออกแบบให้สังคมเป็นแบบไหน อนุญาตให้มีผู้ติดตามและติดตามผู้ใช้อื่น ๆ และมองหาว่าผู้ใช้จัดเก็บเว็บไซต์อะไรในเว็บไซต์ diigo นอกจากนี้ยังสามารถสร้างกลุ่ม เชิญผู้ใช้บางคนเข้าร่วมกลุ่ม มีการแบ่งปันเนื้อหาในกลุ่ม
วิธีเริ่มต้นใช้งานเว็บไซต์ diigo
เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสร้าง account ที่เว็บไซต์ (https://www.diigo.com/) นอกจากนี้ยังมีหลายทางเลือกในการใช้งานแบบมีค่าใช้จ่าย การเข้าใช้งานแบบฟรีพอสำหรับผู้ใช้งานเบื้องต้น
วิธีสร้างกลุ่มในเว็บไซต์ diigo
เมื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ diigo ได้แล้ว จะพบ 4 เครื่องมือ ได้แก่ My Library My Outliner My Groups และ Tools คลิกที่ My Groups ต่อจากนั้นสร้างกลุ่มตามต้องการ กลุ่มของ diigo ทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มเพิ่มการจัดเก็บเว็บไซต์ เน้นเนื้อหา ใส่ข้อความสั้น ๆ ลงไปในเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้สิ่งเหล่านี้เห็นเพียงตนเองและบางคน
วิธีจัดเก็บเว็บไซต์
จากเครื่องมือทั้ง 4 Tools จะช่วยในการจัดเก็บเว็บไซต์ เมื่อพบเนื้อหาออนไลน์ที่สนใจเหมาะสำหรับงานวิจัย ต้องจัดเก็บเว็บไซต์นั้นในเว็บไซต์ diigo
วิธีใส่ข้อความอธิบายในเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บ
หลังจากจัดเก็บเว็บไซต์ในเว็บไซต์ diigo สามารถเน้นเนื้อหา เพิ่มความเห็น โดยใช้ฟังก์ชัน highlight และ sticky notes
ที่มา:
1. https://www.diigo.com
2. Marcy Marbut (April 3, 2014). Diigo. https://sites.stedwards.edu/socialmedia-mmarbut/2014/04/03/diigo/
3. ALSC Children and Technology committee (December 14, 2013). Using Diigo. https://www.alsc.ala.org/blog/2013/12/using-diigo/
4. Sunita Singhal (May 20, 2020). Diigo- An ICT Tool For Knowledge Dissemination. https://www.linkedin.com/pulse/diigo-ict-tool-knowledge-dissemination-sunita-singhal