หน้าแรก จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 4 ฉ.2 – สวทช. ร่วมกับกลุ่มมิตรผล เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วย Biorefinery Technology เสริมแกร่งในพื้นที่ EECi
จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 4 ฉ.2 – สวทช. ร่วมกับกลุ่มมิตรผล เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วย Biorefinery Technology เสริมแกร่งในพื้นที่ EECi
3 พ.ค. 2561
0
จดหมายข่าว สวทช. ย่อย

alt

alt

สวทช. ร่วมกับกลุ่มมิตรผล เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วย Biorefinery Technology

เสริมแกร่งในพื้นที่ EECi

30 เมษายน 2561 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามความร่วมมือกับบริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi) ด้วยการนำองค์ความรู้ด้าน Biorefinery มาใช้ประโยชน์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม อันจะส่งผลต่อการปฏิรูปภาคการเกษตรและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพของประเทศ โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล เป็นสักขีพยาน พร้อมด้วย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. คุณกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล และ รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต กรรมการบริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ร่วมลงนาม

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการวิจัยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agriculture) และยกระดับผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) และเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจชีวภาพเป็นอย่างมาก สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) แต่ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมนั้น ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรมาวิจัยและพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อันจะส่งผลต่อการปฏิรูปภาคการเกษตร อาหาร สาธารณสุข การแพทย์และพลังงาน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย ดังนั้น หากมีการเดินหน้าลงทุนในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรในประเทศไทย จะทำให้ประเทศมีศักยภาพในการเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) ของภูมิภาค

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/11943-20180430-eeci

 

3 พ.ค. 2561
0
แชร์หน้านี้: