หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ แผนที่สิทธิบัตร กิจกรรมสิทธิบัตรของจีน
กิจกรรมสิทธิบัตรของจีน
22 ต.ค. 2563
0
สารสนเทศวิเคราะห์
แผนที่สิทธิบัตร

Thomson Reuters World IP today ได้จัดทำรายงานเรื่อง Patented in China: The present and future state of innovation in china เมื่อเดือนตุลาคม 2010 เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงขอถ่ายทอดและสรุปสาระสำคัญคือ เศรษฐกิจของประเทศจีนได้เคลื่อนย้ายจุดสำคัญจากภาคการเกษตรแบบดั้งเดิม และอุตสาหกรรมการผลิตไปในทิศทางที่ไปสู่กิจกรรมนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น

บทนำ

เมื่อปี 2008 กรุงปักกิ่ง ได้จัดกีฬาระดับโลกโอลิมปิกเกมส์ได้อย่างยอดเยี่ยมที่ผ่านมาประเทศจีนมีการเจริญเติบโตที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วมาก ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างอยากรู้อยากเห็น

การปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน เริ่มในปี 1987 ต่อมาได้เห็นผลปรากฎออกมาจากประเทศที่ยากจนกำลังพัฒนากลายมาเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ทั้งในแง่ความเท่าเทียมกันในกำลังซื้อและในแง่ GDP และเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กระตุ้นส่งเสริมให้ประเทศนำระบบนวัตกรรมมาใช้ด้วยหลายๆ มาตรการ เช่น

  • การเพิ่มงบประมาณการวิจัยพัฒนาของประเทศ (increased overall R&D budget)
  • ใช้ระบบหักลดภาษี (introduced tax breaks)
  • ระบบแรงจูงใจทางการเงินเพื่อเพิ่มนวัตกรรมท้องถิ่น (Monetary incentives to increase indigenous innovation)
  • ลงทุนสถาบันวิชาการของประเทศ (Investing in the nation’s academic institutions)

ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นตัวขับเคลื่อนเบื้องหลังกิจกรรมสิทธิบัตรของจีน ขณะนี้ระบบกฎหมายสิทธิบัตรของจีนมีอายุได้ 25 ปี หลังจากเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปี 1985 ขณะนี้ สำนักงานสิทธิตรจีนได้กลายเป็น สำนักงานใหญ่อันดับที่ 3 ของโลกที่มีการรับการยื่นขอจดสิทธิบัตรรองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

ในช่วงปี 2003 ถึง 2007 จีนมีค่า GDP เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9.75/ปี ในขณะที่จำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตรเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 28.4 ต่อปี หากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จีนจะกลายเป็นผู้นำในกิจกรรมสิทธิบัตรของโลกในอนาคตอันใกล้นี้     รายงานนี้เป็นการนำเสนอแนวโน้มกิจกรรมสิทธิบัตรของจีน และจินตนาการถึงว่าสารสนเทศสิทธิบัตรของโลกจะมีภาพเป็นอย่างๆรในช่วง 5 ปีต่อไปนี้

สมรรถภาพในอดีต

สำนักงานสิทธิบัตร 5 แห่งที่สำคัญของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป เกาหลีใต้ และ จีน คิดรวมแล้วมีการยื่นจำนวนสิทธิบัตรราวร้อยละ 75 ของโลก และมีการอนุมัติสิทธิบัตรราวร้อยละ 74 ของทั่วโลก

การวิเคราะห์จำนวนสิทธิบัตรช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาจาก 5 สำนักงานข้างต้นนั้นพบว่าจีนมีการเติบโตในอัตราที่เร็วมากที่สุด

หน่วยนับที่ใช้วัด (attributes) ในการศึกษาครั้งนี้ของ Thomson Reuters ได้แก่

  • ค่า Total volume of patents

หมายถึงจำนวนรวมของสิทธิบัตรที่มีการยื่นที่ประเทศตนเองก่อน และต่อมามีการยื่นในประเทศอื่นๆ อีกเพื่อป้องกันการผลิต ที่เรียกว่า equivalent

  • ค่า Basic patent volume

หมายถึงจำนวนสิทธิบัตรที่ประดิษฐ์คิดค้นด้วยพลเมืองของประเทศนั้น และมีการยื่นจดครั้งแรกในประเทศ

  • Ratio of basic of total volume

สัดส่วนระหว่างจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นในประเทศครั้งแรกกับจำนวนที่ไปยื่นในประเทศอื่นๆ ต่อ
ในการศึกษานี้ใช้ข้อมูลดิบจำนวนสิทธิบัตร เปรียบเทียบ 5ประเทศหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และ จีน จากฐานข้อมูล Thomson Reuters : Derwent World Patent Index

Total Patent Volume 2003-2009

JP มีจำนวนสูงสุด 4.6 ล้านเรื่อง ร้อยละ 35
US มีจำนวน 3.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 27
CN มีจำนวน 1.8 ล้านเรื่อง ร้อยละ 14
EP มีจำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12
KR มีจำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12

Basic Patent Volume 2003-2009

JP มีจำนวนสูงสุด 4.6 ล้านเรื่อง ร้อยละ 35
US มี จำนวน 3.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 27
CN มีจำนวน 1.8 ล้านเรื่อง ร้อยละ 14
EP มีจำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12
KR มี จำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12

Basic/Total Patent Volume Ratios

Ratio of Basic/Total 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 Average

JP

59.4% 58.2% 55.9% 54.2% 49.6% 46.4% 43.6% 52.5%

US

47.8% 43.0% 48.6% 46.1% 47.0% 45.8% 41.9% 45.8%

EP

19.2% 20.3% 20.2% 18.1% 18.0% 14.5% 15.7% 18.0%

KR

46.5% 45.6% 44.1% 41.2% 42.7% 47.0% 54.4% 45.9%

CN

32.7% 30.2% 36.3% 37.7% 40.6% 44.2% 43.3% 37.9%

นโยบายของรัฐบาลและบทบาทในเรื่องนวัตกรรม

  • งบประมาณวิจัยและพัฒนา (R&D Budget)

รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนวางแผนที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และพัฒนาให้เพิ่มอย่างรวดเร็วโดยมีเป้าหมายให้เป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP ในปี 2020 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 1996 ลงทุนเพียงร้อยละ 0.6 ของ GDP และในปี 2006 ลงทุนร้อยละ 1.4 ของ GDP

ในเวลาเดียวกันจีนมีแผนนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่มีเป้าหมายให้มีการเติบโตของ GDP ในอัตราที่
มากกว่าร้อยละ 7.5 ในทุกๆ ปี จนถึงปี 2010 และเป็นร้อยละ 7.0 จนถึงปี 2020 นี้เป็นผลให้เกิดความสัมพันธ์ในทางบวกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ระหว่างจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรกับค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา

การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และการส่งเสริมค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นอิสระจะเป็นเชื้อเพลิงที่กระตุ้นระบบนวัตกรรมของประเทศอย่างต่อเนื่อง

  • ระบบการเงินและภาษี (Tax and Financing)

รัฐบาลจีนอนุญาตให้มีการขอหักลบภาษี (tax deduction) สำหรับค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนารวมถึงมีการให้เพิ่มการขอกู้เงินจากรัฐบาล (lending) และ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (discounted interest rates) ซึ่งแน่นอนทั้ง 3 มาตรการนี้มีส่วนผลักดันให้จีนมีสถิติในสิทธิบัตรอย่างน่าทึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้วและจะเพิ่มมากขึ้นต่อไปอีกในปีต่อๆ ไป

  • นวัตกรรมของท้องถิ่นและมาตรฐานเทคโนโลยี (Indigenous innovation and Technology Standard)

นายกรัฐมนตรีจีน นาย Weu Jiabao ได้กล่าวว่า “เทคโนโนโลยีหลักไม่สามารถซื้อขายกันได้ มีวิธีเดียวคือต้องมีความสามารถอย่างเข้มแข็งในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้วยการได้มาในสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของเราเอง ซึ่งเราสามารถส่งเสริมความสามารถการแข่งขันและได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมนานาชาติได้”

นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน กระตุ้นส่งเสริมนวัตกรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น (indigenous innovation) เพื่อปรับปรุงความสามารถในการสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศเอง และเพื่อลดความเชื่อถือในเทคโนโลยีต่างประเทศที่มีมากมายในปัจจุบัน  การคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยีนวัตกรรมภายในประเทศเองช่วยให้เกิดการจ่ายค่าสิทธิแก่ผู้ประดิษฐ์ภายในประเทศโดยตรง

ขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มมีการเข้าจัดการในอุตสาหกรรมต่างๆ คือ โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึง โทรศัพท์เซลลูล่าห์ โทรศัพท์ดิจิทัล ชิปคอมพิวเตอร์ วิดีโอดิสก์ กล้องถ่ายรูปดิจิทัลและเครือข่ายในยุคใหม่

บทบาทของรัฐบาลในภาคส่วนวิชาการและวิสาหกิจ (Government role in Academia and Enterprise)

เกือบทั้งหมดของภาคส่วนวิชาการที่สำคัญของประเทศอันได้แก่ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ขึ้นโดยตรงกับรัฐบาล จากการศึกษาของ Thomson พบว่า ภาคส่วนวิชาการของจีนเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่มีสัดส่วนจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรสูงมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 16 ในขณะที่เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ คือ ญี่ปุ่น มีเพียงร้อยละ 1 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 4 เกาหลีใต้ ร้อยละ 2 ส่วนประเทศที่มีความคล้ายคลึงกับประเทศจีนในประเด็นนี้คือ ประเทศรัสเซีย โดยทั้ง 2 ประเทศปกครองแบบมีศูนย์รวมอำนาจตรงกลาง ซึ่งในการคัดเลือกโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการให้ทุน เป็นอำนาจและการควบคุมจากรัฐบาลกลางโดยตรง

นอกจากนี้รัฐบาลยังมีบทบาทสำคัญและชี้นำรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในปี 2007 รัฐบาลลงทุนให้แก่วิสาหกิจส่วนกลางที่เป็นของรัฐจำนวน 150 แห่ง เป็นจำนวนเกือบ 100 พันล้านหยวน (14.27 พันล้าน USD) คิดเป็นร้อยละ 27 ของงบประมาณการวิจัยและพัฒนาของประเทศร้อยละ 27

แรงจูงใจทางการเงิน (Menetary Incentive)

รัฐบาลให้เงินอุดหนุนแก่นักประดิษฐ์นิติบุคคลภายในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน หน่วยงานของรัฐในส่วนจังหวัดหรือเมืองใหญ่ๆ ส่วนใหญ่กระตือรือร้นที่จะบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลส่วนกลางที่มักจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มเติมให้บ่อยๆ และคืนเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ กลับให้เพื่อการกระตุ้นการยื่นสิทธิบัตรในขณะที่รัฐบาลส่วนท้องถิ่นอาจจะอนุมัติทุนอุดหนุนให้อีกร้อยละ 50 ถือว่าเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ

มองไปข้างหน้า (Looking forward)

Thomson ทำนายเรื่องภูมิทัศน์สิทธิบัตรของจีนด้วยการใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตของจีนแบบรายปีของปี 2003-2009 และฉายภาพแบบเส้นตรงเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ โดยจีนได้กำหนดให้ล้ำหน้ากับสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นในปี 2011

Average Annual Patent Growth Rates

Region Average total
Volume Annual Growth Rate (2003-2009)
Average basic
Volume Annual Growth Rate (2003-2009)
JP 1.0% -3.7%
US 5.5% 4.0%
EP 4.0% -2.1%
KR 4.8% 7.5%
CN 26.1% 31.6%

แรงขับเคลื่อนเบื้องหลังของการเพิ่มขึ้นของสิทธิบัตรของจีน

การยื่นขอสิทธิบัตรในประเทศ และ ต่างประเทศ

สำนักงานสิทธิบัตรของจีน (State Intellectual Property Office, SIPO) ได้รายงานว่าจีนมีสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภท ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยที่สิทธิบัตรในประเทศมีอัตราเพิ่มมากกว่า โดยที่มีค่าแตกต่างระหว่าง 2 ประเภท กว้างมากขึ้นทุกปีและในปี 2003 เริ่มมีความแตกต่างกัน

ในปี 2006 สาธารณรัฐประชาชนจีน กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศซึ่งเป็นแผนที่ 11 รัฐบาลจีนเน้นความสนใจในเรื่องของนวัตกรรมร่วมกับความปรองดองของสังคม สิ่งแวดล้อม ความสมดุลของเศรษฐกิจระดับมหภาค การควบคุมการตลาด

ส่วนแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เชื่อมต่อกับเป้าหมายที่ทะเยอทะยานที่จะให้จีนเป็นสังคมที่มีตำแหน่งด้านนวัตกรรม (innovation – oriented society) ในปี 2020 จีนได้ขยายจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรในต่างประเทศแสดงข้อมูลในตาราง

Patent
Oversea Invention Application by China 2008
Increase from 2007 by China
Increase from 2007 by all Application
WIPO 6,126 12.1% 2.1%
US 4,455 14.1% 5.1%
EP 1,503 33.5% 17.7%
JP 772 15.9% 2.3%

ในปี 2008 จีนทำการขอยื่นจดสิทธิบัตรที่สำนักงาน WIPO เป็นจำนวนสุงสุด WIPO บริหารจัดการด้วยระบบ PCT ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถขอยื่นจดในประเทศที่เป็นสมาชิกได้พร้อมๆ กันในหลายๆ ประเทศ โดยบริษัทของจีนที่ชื่อ Huawel Technologies เป็นบริษัทที่ทำการยื่นจดที่ WIPO เป็นจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ยังถือว่าเป็นจำนวนน้อย คือ อเมริกาทำการยื่นต่อ WIPO ในปี 2008 มากถึง 51,673 คำขอ ส่วนจีนมีจำนวนเพียง 6,126 คำขอ

จีนเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีที่สำคัญ

อัตราการเพิ่มขึ้นในจำนวนสิทธิบัตรของจีนดูเหมือนไปในทิศทางขนานกับประเทศสำคัญอื่นๆ ในแง่ประเภทเทคโนโลยี จากข้อมูลสถิติของสำนักงาน WIPO ในปี 2007 พบว่าจีนประดิษฐ์เทคโนโลยีหลักอันได้แก่

  จัดอันดับของโลก
Information technology ที่ 5
Audio-visual technology ที่ 4
Electrical devices, Electrical ที่ 4
Consumer goods & equipment ที่ 5
Analysis, Measurement Control ที่ 5
Agriculture & food ที่ 7
Telecom ที่ 5
Chemical engineering ที่ 2

เทคโนโลยี 5 อันดับแรกของจีน

Year
Top 5 Fields
Patent Applications
1998
Natural Products & Polymers

Digital computers

Telephone & data Transmission system

Broadcasting, Radio & Line Transmission system

Audio/Video Recording & System

2,864

2,161

2,067

1,986

1,592

2008
Digital Compute

Telephone & Data transmission system

Broadcasting, Radio & Line Transmission system

Natural Products & Polymers

Electro-(in) organic Materials

44,588

29,510

19,750

17,250

17,107

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทางเลือกของจีน (Alternative IP rights in China)

อัตราการขอยื่นจดสิทธิบัตรในจีนมีมากขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 24 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา เมื่อปี 2009 มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรที่ SIPO มากกว่า 3.1 แสนเรื่อง นั้นยังเป็นเรื่องราวที่ยังไม่จบสมบูรณ์ลง

นยังมีระบบการป้องกันทางเลือก (Alternative Protection) ที่เปิดให้บริการแก่นักประดิษฐ์โดยผ่านช่องทางชื่อ Chinese Utility model patents นี้เป็นการจัดบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างยิ่งสำหรับนักประดิษฐ์ท้องถิ่นมีการขอยื่นจดมากเป็นหลัก 3 แสนเรื่อง คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 18 ต่อปี เฉพาะปี 2009 มีอัตราการเพิ่มถึงร้อยละ 37

ระบบสิทธิบัตรในจีนมี 3 ประเภท คือ

Invention patents / Utility model patents / Design patents โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้

  • Invention patents เป็นระบบปกป้องคุ้มครองให้แก่สิ่งประดิษฐ์ที่ยื่นขอที่เป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคใหม่ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ / ขบวนการ หรือการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น รัฐให้สิทธิคุ้มครอง 20 ปี ตั้งแต่วันที่ยื่นขอและมีการตรวจสอบความใหม่อย่างเป็นสาระสำคัญ
  • Utility model patents (หรือเป็นระบบ petty patent ของประเทศอื่น) เป็นระบบการให้สิทธิคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่มีความใหม่ในเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับรูปร่าง และหรือโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถปฏิบัติตามได้ รัฐให้ความคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่ยื่นขอและไม่มีการตรวจสอบความใหม่
  • Design patents เป็นระบบให้ความคุ้มครองการออกแบบในรูปร่าง รูปแบบ การรวมกัน (เช่น ส่วนผสม สี กับ รูปร่าง รูปแบบ) ผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาที่ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นศิลปะที่สุนทรียศาสตร์ และเหมาะที่จะประยุกต์กับอุตสาหกรรม รัฐให้ความคุ้มครอง 10 ปี

ปริมาณและคุณภาพของสิทธิบัตรจีน (Patent quality VS. quality)

บทความหนึ่งในวารสารชื่อดัง Financial Times กล่าวว่าจำนวนตัวเลขการขอยื่นจดสิทธิบัตรของจีนสะท้อนถึงการณรงค์อย่างมากของรัฐบาล (Concerted government campaign) ที่ชักชวนบริษัทของจีนให้ใช้ระบบปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาด้วยกฎหมาย รวมถึงรัฐบาลได้ช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการยื่นขอนี้เป็นปัจจัยสำคัญ เป็นการขยายตัวแบบปลอมๆ จึงทำให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพย์สินทางปัญญา Chen Naiwei แห่งมหาวิทยาลัย Shanghai Jiaotong ให้ความเห็นว่ามีเหตุผลมาจากหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นได้จัดบริการให้ค่าธรรมเนียมในการยื่นจดแก่วิสาหกิจและสถาบันวิทยาศาสตร์ สิทธิบัตรจีนที่ยื่นขอจดส่วนใหญ่เป็นเรื่องการออกแบบใหม่ (new design appearance or new model) ที่ไม่ได้ใช้ความรู้ทางเทคนิคขั้นสูง Utility model patent เป็นที่ยอดนิยมมากเพราะการจัดเตรียมเอกสารยื่นของ่ายและสะดวกรวดเร็วมากกว่า ดังนั้นสิทธิบัตรประเภทนี้จึงมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน

ที่สำนักงานสิทธิบัตรจีน SIPO มีผู้ตรวจสอบมากกว่า 2,000 คน ที่ผ่านการฝึกอบรมมาจากสำนักงาน EPO โดยจัดฝึกอบรมปีละ 60 คน เมื่อกลางปี 1990s SIPO ได้นำระบบ EPOQUE มาใช้ซึ่งคือฐานข้อมูลสากลที่ช่วยในการยื่นขอแบบอัตโนมัติทางออนไลน์

คุณภาพของสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถประเมินด้วยค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงจากเอกสารสิทธิบัตรประเภทยื่นขอที่กลายเป็นเอกสารสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติ ด้วยวิธีการวัดนับจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นขอในแต่ละปี (filing year) และนับจำนวนอย่างมีสาระสำคัญ กลายเป็นสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติ (grants) ตัวอย่างในปี 2000 จีนมีการ filing 56,392 เรื่องกลายเป็น application 22,756 เรื่อง คิดเป็นสัดส่วนเปลี่ยนแปลง = ร้อยละ 40.4

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อัตราการปรับเปลี่ยนจากการยื่นขอเป็นอนุมัติช้ากว่าอัตราในยุโรป สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม SIPO รายงานว่าคุณภาพของสิทธิบัตรจีนมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างช้าๆ

บทสรุป

สาธารณรัฐประชาชนจีนกลายเป็นดินแดนที่มีระดับสุดยอด เมื่อไตรมาสที่ 2 ของปี 2010 จีนได้ล้ำหน้าญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการกลายเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอเมริกา ด้วยค่า GDP ที่ 1.33 แสนล้านเหรียญอเมริกา และยังแซงหน้าผ่านประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2009 กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก จีนยังเป็นประเทศผู้บริโภคพลังงานสูงสุด ประชาชนจีนซื้อรถยนต์ถึง 1.3 พันล้านคน

ข้อมูลที่แสดงมานี้ได้ให้ความชัดเจนอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของจีน ได้เห็นถึงวิวัฒนาการอย่างเป็นระบบของเศรษฐกิจของจีน บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก เช่น General Motor, General Electronic (GE), Siemen ได้เข้าไปจัดตั้งฐานการวิจัยและพัฒนาในประเทศจีนแล้ว เรื่องเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ที่มีวัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรมอย่างเข้มข้น ที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามเป้าหมายแบบมีเอกภาพ
จากฐานข้อมูลการทำนายด้วยหลักทางคณิตศาสตร์นั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจีนจะเป็นผู้นำนวัตกรรมของโลกในอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน

เอกสารอ้างอิง

Thomson Reuters. “Patentd in China : The present and future state of innovation in china” By Eve.Y. Zhou and  Bob Stembridge – October 2010. Available at http://thomsonreuters.com/news_ideas/white_papers/?itemId=25763

แปลและเรียบเรียงโดย รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันที่ 31 มกราคม 2554

แชร์หน้านี้: