Thomson Reuters ได้เผยแพร่บทความที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ในชื่อเรื่อง Investing in Intelligence to stay successful through Innovation : The Role of patents in the Petro-Chemical Intermediates industry มีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้
สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันสำคัญ อยู่รอบๆ ตัวเรา (Daily essentials : All around us)
อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แป้นคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ขวดน้ำดื่ม เสื้อเชิตจากไนลอน เป็นต้น ล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มนุษย์ใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมและเป็นของมีค่าสำหรับธุรกิจตามน้ำของการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลาง (Petro-Chemical Intermediates application)
บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเหล่านี้ยังคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เข้มข้น และ รวดเร็ว เพื่อที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับธุรกิจของบริษัทตนเอง โดยในขณะนี้มีจำนวนบริษัทมากขึ้นที่ตระหนัก เข้าใจถึงความสำคัญ ของระบบสิทธิบัตร โดยที่สิทธิบัตรเป็นรูปแบบหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญและยังเป็นตัวชี้วัดถึงระดับนวัตกรรมขององค์กรอีกด้วย
เศรษฐกิจของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ ถือว่าความรู้เป็นเสาหลักที่สำคัญสำหรับการเติบโต เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท DuPont Zytel Plus Nylon ได้คิดค้นนวัตกรรมที่สำคัญยิ่ง คือวัสดุที่ทนทาน แข็งแรง ถูกนำไปใช้ในบริษัท General Motors, GM เป็นที่คลุมเครื่องยนต์ของรถยนต์ Car-engine hood cover) ซึ่งได้รับรางวัล SPE most innovative use of plastic awards 2010 บริษัท Yokohama ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลก ได้ผลิตยางรถยนต์สีเขียว ( Green performance tyres) ที่ส่วนประกอบเป็นสารปลอดปิโตรเลียม ร้อยละ 80
ผลกระทบทางตรงของนวัตกรรมต่อบริษัทและเศรษฐกิจ (Innovation directly impacts the company and economy)
นวัตกรรมช่วยสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและมีผลโดยตรงต่อบริษัทและประเทศ ในทศวรรตที่ผ่านมาประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก นวัตกรรมเป็นเรื่องที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ถูกนำไปเป็นแรงดึงดูดอย่างมากในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เดิมได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตสิ่งของราคาถูกของโลก มาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงปี 1990s เป็นต้นมา ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนการเคลื่อนที่ เป็นรูปร่างตัวยู เน้นในเรื่องนวัตกรรม และเพิ่มคุณค่าด้วยการผลิตสิ่งของส่งออกแบบไฮเทคมากยิ่งขึ้น พบว่ามีการโคลงเคลงถึงร้อยละ 300 ในช่วงปี 1995 – 2005
ส่วนประเทศสิงคโปร์ก็ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นในการส่งออกสินค้าไฮเทค คิดเป็นร้อยละสูงสุด และยังเป็นสถานที่ดึงดูดแก่บริษัทเทคโนโลยี เช่นบริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำของโลก ที่เข้ามาจัดตั้งโรงงานผลิตและมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยและพัฒนาที่เกาะแห่งนี้ สำหรับประเทศไทย พบว่ามีการเบี่ยงเบน หันเหจากปกติไม่มากนัก โดยตั้งแต่ปี 1990 คิดเป็นร้อยละ 28 ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดแรงงานที่มีคุณภาพ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นจากประวัติเดิมในความสามารถของโรงงานผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมมากขึ้น ในการขับเคลื่อนและสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือน มีนาคม 2011 ยิ่งก่อให้เกิดการสร้างโอกาสให้แก่ ประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ที่อาจเกิดการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และงานด้านวิจัยและพัฒนายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามการคาดหมายของ BOI ประเทศไทย (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีท้องถิ่นของประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อน เช่น บริษัท ปตท. จำกัด บริษัทเอสซีจี จำกัด เริ่มมีการเฝ้ามอง เพ่งพินิจเรื่องนวัตกรรมใหม่อย่างเข้มข้น และได้ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น เช่น มีการยื่นขอจดสิทธิบัตร ดำเนินการหาโอกาสในการเป็นพันธมิตรกับนานาชาติ เพื่อที่จะรักษาไว้ในความยั่งยืนของธุรกิจ ไว้ จากแนวคิดเดิมธุรกิจเทคโนโลยีไม่สามารถยั่งยืนอยู่ได้ด้วยการลดราคาและจัดการประสิทธิภาพในต้นทุนได้อีกต่อไป
รูปภาพที่ 1 แสดงสินค้าเทคโนโลยีส่งออก เป็นร้อยละของประเทศต่างๆ
Source : Thomson Reuters : Investing in Intelligence to stay successful through Innovation
นวัตกรรมคือกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดความแตกต่างของเทคโนโลยี (Innovation is key to Technology Differentiation)
นวัตกรรมคือทักษะ ความสามารถในการนำสิ่งประดิษฐ์ออกสู่ตลาดได้สำเร็จ ในยุคนี้บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยี ต่อสู้กันด้วยการลงทุนด้านวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม
รูปภาพที่ 2 แสดงขั้นตอนห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
Source : Thomson Reuters : Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.
ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางดังแผนภาพที่แสดง แสดงถึงขั้นตอนห่วงโซ่ทั้งหมดตั้งแต่ปิโตรเลียมดิบ ถึงผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค ที่ได้แก่ สี พลาสติก ยาง ผงซักฟอก สีย้อม ปุ๋ย สิ่งทอ และตัวทำละลายต่างๆ พบว่ามีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น โดยมีการเติบโตแบบอัตราเพิ่มแบบยกกำลัง เมื่อมองดูคุณค่าของทั้งห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พบว่ามีการเติบโตรวดเร็ว มากกว่า จีดีพี ของประเทศส่วนใหญ่ นี้เป็นเพราะผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ได้เข้าแทนที่ สับเปลี่ยน ในวัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวันปัจจุบันอย่างกว้างขวาง และเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง
สำหรับสาร Polyester เป็นเทคโนโลยีที่ยกเว้นในการถูกแทนที่ นำไปใช้ประโยชน์แทน ผ้าฝ้าย และ ขนสัตว์ ในขณะที่พลาสติกถูกนำไปใช้แทนที่ แก้ว โลหะ กระดาษสำหรับห่อ และวัสดุประกอบรถยนต์ พลาสติกและ สาร Polyester เป็นวัสดุหลักสำคัญที่สามารถทำการนวัตกรรมเห็นผลได้ชัดเจน เป็นการปรับปรุงเทคนิคของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง
วิธีการสืบค้นหาเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตรอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Technology Searching through Patents)
ในรายงานฉบับนี้ มีการวิเคราะห์สิทธิบัตรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ด้วยวัตถุประสงค์แสดงจุดสำคัญในทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรม และเพื่อเข้าใจถึงสถานภาพการแข่งขัน นอกจากนี้ยังแสดงข้อมูล ในเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ที่ทำให้ทราบถึงสาขาวิชาหลักในการวิจัยพัฒนาของโลก ภูมิทัศน์ของสิทธิบัตร คือ รูปภาพแสดงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรที่ได้จากการสืบค้นและประมวลผลด้วยเทคนิค text mining จากฐานข้อมูล Thomson Innovation, TI
ถือเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยม ดีเลิศในขณะนี้ ได้เปิดให้บริการแก่ภาคธุรกิจ เพื่อให้ได้ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในชุดฐานข้อมูล Thomson Innovation ยังให้บริการฐานข้อมูลสิทธิบัตรที่สำคัญยิ่งอีกชื่อหนึ่ง คือ Derwent World Patent Index, DWPI เป็นชุดฐานข้อมูลที่มีบริการมายาวนานกว่า 50 ปี ที่เป็นที่ยอมรับแก่ชุมชนวิจัยสิทธิบัตรทั่วโลก
ด้วยคุณลักษณะพิเศษของ DWPI ที่มีการเขียนขึ้นใหม่ (rewritten) ในส่วนของชื่อเรื่อง บทคัดย่อ ของเอกสารสิทธิบัตรในแต่ละฉบับ ที่สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้หลักการเขียนใหม่ ด้วย ชัดเจน สม่ำเสมอ
ใช้คำศัพท์เฉพาะทางอุตสาหกรรม ( clear, consistent, industry-specific term)
DWPI แหล่งข้อมูลสิทธิบัตรที่สำคัญ ช่วยให้เกิดความฉลาดในเรื่องเทคโนโลยี (Derwent Worldwide Patents Index The Essential Patent Source for Technology Intelligence) จากแผนผังที่ 3 แสดงจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรในหัวเรื่องของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มของแข็ง และกลุ่มสารละลายและส่วนประกอบของเหลว
แผนผังที่ 3 แสดงครอบครัวสิทธิบัตรในสารขั้นกลางหลายๆ ชนิด
Source : Thomson Reuters : Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.
ความสำคัญของเนื้อหาสิทธิบัตรในฐานข้อมูล DWPI ดังแสดงในแผนผังที่ 3 นั้น แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากเอกสารสิทธิบัตรต้นฉบับ กราฟแท่งสีฟ้าแสดงจำนวนครอบครัวสิทธิบัตร (Patent family) ที่สืบค้นได้จากที่ฐาน DWPI แห่งเดียว ไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ได้เลย ตัวอย่าง สืบค้นด้วยคำศัพท์ plastic OR resin OR polymer ผลการสืบค้นพบเอกสารสิทธิบัตรเป็นหลักพันเรื่อง โดยตัวอย่างในแผนผังที่ 4 เป็นเอกสารสิทธิบัตรการยื่นขอของประเทศสหรัฐอเมริกา เลขที่ US20080103278A1 โดยฐานข้อมูล DWPI ได้เขียนขึ้นใหม่ ในส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง (title) พบว่ามีคำใหม่เกิดขึ้นมาคือ polystyrene ที่ในเอกสารต้นฉบับไม่มี สะท้อนให้เห็นว่ามีการซ่อน ปิดบัง ไว้ (hidden) ซึ่งหากไม่มีฐานข้อมูล DWPI จะไม่พบเอกสารฉบับนี้ ซึ่งในเรื่อง polystyrene จะไม่พบถึง 7 ใน 10 เรื่องทีเดียว ที่คิดเป็นร้อยละ 70
รูปภาพที่ 4
Source : Thomson Reuters : Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.
รวมทั้งยังแสดงให้เห็นความชัดเจนด้วยการพรรณาให้เป็นภาพในแผนผังที่ 3 ที่คำว่า Styrene / Polystyrene เป็นชุดคำศัพท์ที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของนวัตกรรมใหม่นี้ และยังแสดงว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรที่เป็นผลิตภัณฑ์ของแข็ง (Solid products) โดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารละลายของเหลว (liquid solvent)
แผนผังที่ 5 แสดงการยื่นขอจดสิทธิบัตรแบบ Compound annual Growth Rate (CAGR) ของสารต่างๆ ที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง
Source : Thomson Reuters : Investing in Intelligence to stay successful through Innovation
ในแผนผังที่ 5 ความสำคัญของนวัตกรรมจากสาร Styrene / Polystyrene ยังสามารถยืนยันได้ในแผนผังที่ 4 ที่แสดงให้เห็นว่า เป็นสารที่มีอัตราการเติบโตต่อปีสูงที่สุด Compound annual Growth Rate (CAGR) ที่ร้อยละ 3.5 ของสิทธิบัตรที่มีการขอยื่นจดในระหว่างปี 2005 ถึง 2009 โดยในเส้นข้างๆ ของข้อมูล CAGR ยังแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของสาร Acetone และ Ethyl acetate รวมถึงสารละลายและสารประกอบอีกหลายๆ ชนิดด้วย
การเอาชนะในความท้าทายในการวิเคราะห์สิทธิบัตรเรื่อง Styrene / Polystyrene ในจำนวนหลักหมื่น
(Overcoming the challenge of having to analyze more than 16,000 Styrene / Polystyrene Patents)
การวิเคราะห์สิทธิบัตรด้วยแผนที่ ที่ชื่อว่า Themescape Map ของฐานข้อมูล Thomson Innovation เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถแสดงออกมาเป็นภาพแบบแผนที่ แบบระยะห่างของพื้นที่ภูมิประเทศ (Topographic space) ที่สามารถแสดงภาพสิ่งที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นภาพได้ ที่ช่วยให้เห็นเรื่องสำคัญในการเปิดเผยออกมาในเรื่องเทคโนโลยีรองได้ ที่บริษัทอุตสาหกรรมผู้เล่นเกมส์ในเรื่องนี้สามารถใช้เป็นความสามารถในการแข่งขันได้ (Competitive Intelligence) ในขณะที่พื้นที่สีขาวช่วยให้เห็นแนวโน้มทิศทาง ที่จะช่วยให้เรามุ่งเป้าในการตัดสินใจได้
หากเราทำการวิเคราะห์แบบวิธีปกติอาจใช้เวลาอย่างน้อย 8 วัน ในขณะที่แผนที่ Themescape สามารถสั่งให้ทำได้ในเวลาเพียง 8 วินาที รวมถึงสามารถจัดหมวดหมู่เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีรอง ของสิทธิบัตรเรื่อง Styrene / Polystyrene แสดงได้ในรูปภาพที่ 5
รูปภาพที่ 6 แสดงแผนที่ Themescape Map ที่แสดงถึงกิจกรรมสิทธิบัตรด้วยภาพ เปรียบเทียบระหว่างบริษัทอุตสาหกรรมคู่แข่ง ที่สามารถช่วยพัฒนากลยุทธ์ด้านธุรกิจได้
Source : Thomson Reuters : Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.
จากรูปภาพที่ 6 ในแต่ละจุด แสดงถึงเอกสารสิทธิบัตร 1 ฉบับ ความสำคัญอยู่ที่ตำเหน่งของแต่ละจุด ที่แสดงความสัมพันธ์กัน เช่นหากมีจุดจำนวนมากอยู่ในตำเหน่งใกล้กัน แสดงนัยได้ว่ามีความคล้ายคลึงของเทคโนโลยี (Technologically Similar) สูง แผนที่ Themescape แสดงภาพออกมาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่วนในประเด็นเรื่องเทคโนโลยีรองที่เกิดใหม่ล่าสุด ในการขอยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง Styrene / Polystyrene ได้แก่ หมวดพันธุศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวัสดุนาโน เป็นต้น
จากแผนที่ เห็นได้ว่า บริษัท BASF ถือครองแฟ้มข้อมูลสิทธิบัตรจำนวนมากในเรื่อง Thermoplastics (ดังในพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) ในขณะที่เป็นคำขอยื่นสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับ LCD (ดังในพื้นที่รูปสามเหลี่ยม) ด้วย
Themescape Map กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญของภาคธุรกิจ ที่สามารถช่วยให้ค้นพบแนวโน้มของสิทธิบัตร ช่วยในการวางกลยุทธ์เทคโนโลยี ผู้ใช้บริการจากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า การแสดงข้อมูลที่เป็นข้อความออกมาให้เป็นรูปภาพเชิงกราฟ ช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าใจได้ง่ายขึ้นช่วยวิเคราะห์สรุปถึงสิทธิบัตรที่มีหลักพันฉบับ ขณะนี้สิทธิบัตรของประเทศออสเตรเลีย 17 ล้านเรื่อง ก็มีการจัดทำแผนที่ลักษณะนี้เช่นกัน
หนทางข้างหน้า (The way forward)
ความรู้เรื่องนวัตกรรม สามารถหาได้จากสารสนเทศสิทธิบัตร ซึ่งระบบสืทธิบัตรเป็นเรื่องสำคัญในการขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยให้เข้าใจในความก้าวหน้าและทันสมัยของเทคโนโลยี แต่ด้วยจำนวนสิทธิบัตรที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา มนุษย์ไม่สามารถอ่านชุดสิทธิบัตรขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ฐานข้อมูล DWPI มีการใช้งานในจำนวนมากๆ จากสำนักงานสิทธิบัตรประเทศต่างๆทั่วโลก รวมถึงบริษัทและองค์กรวิจัยชั้นนำของโลก ได้ประโยชน์ในเรื่อง Technology Intelligence องค์กรใดที่จะประสบความสำเร็จในการใช้ฐานข้อมูลสิทธิบัตร DWPI จากรายชื่อบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก 500 อันดับแรก จาก Fortune รวมถึงมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกต่างใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล DWPI เทคนิคที่ทำให้มองเห็นเป็นภาพ เช่นแผนที่ Themescape เป็นเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยตีความ ให้ความหมาย (Interpret) ชุดเอกสารสิทธิบัตรจำนวนมากได้ ช่วยให้เห็นแนวโน้มของอุตสาหกรรมได้ และยังช่วยในการตัดสินใจ ในการลงทุนวิจัย พัฒนา ด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ มีสิทธิบัตรครอบครัวมากกว่า 1.5 แสนเรื่อง (1ชุดครอบครัวมีหลายฉบับที่ยื่นจดในหลายๆ ประเทศ) ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง สารจำพวก Polystyrene / Styrene / Polyester / Polyurethane และ Synthetic Rubber เป็นสิทธิบัตรที่มีการยื่นขอจดในอันดับต้นๆ รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นในทศวรรษหน้า และจะมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องด้วย
อ้างอิง
Allen Yeo , June 2011. Thomson Reuters Report – Investing in Intelligence to stay successful through Innovation – The role of Patents in The Petro-Chemical Intermediates Industry. Available at http://science.thomsonreuters.sg/