หน้าแรก จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 4 ฉ.6 – ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน แนะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กระตุ้นการเรียนรู้ “เด็กความสามารถพิเศษ”
จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 4 ฉ.6 – ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน แนะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กระตุ้นการเรียนรู้ “เด็กความสามารถพิเศษ”
6 ก.ย. 2561
0
จดหมายข่าว สวทช. ย่อย

alt

alt

ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน แนะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กระตุ้นการเรียนรู้ “เด็กความสามารถพิเศษ”

20 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : ศาสตราจารย์ เว่ย ชิน ซุน (Wei-Hsin Sun) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวัน ปาฐกถาพิเศษเรื่องความท้าทายของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในการสร้างความสัมพันธ์และดึงความสนใจของเด็กอัจฉริยะและเด็กที่มีความสามารถในการเรียนรู้สูง” ในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018: APCG2018)”  จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ​กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ศาสตราจารย์ซุน กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์นั้น เกิดจากการมองเห็นวิทยาศาสตร์ในธรรมชาติและการเข้าใจธรรมชาติโดยการใช้วิทยาศาสตร์ จึงทำให้พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นสถานที่ที่สร้างความอยากรู้และสร้างแรงบันดาลใจสำหรับการเรียนรู้แบบก้าวหน้าสำหรับเด็ก โดยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ควรมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้แบบก้าวหน้า การสร้างแบบจำลองและความท้าทายในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และการให้ความใส่ใจในธรรมชาติและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ

นอกจากนั้นแล้ว การเกิดขึ้นของความสนใจใคร่รู้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างแรงบันดาลใจด้วยตนเอง ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษจะชื่นชอบการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถทางสติปัญญา  เพราะจะกระตุ้นและจุดพลังแห่งความกระหายในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างถึงการบริหารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งไต้หวันว่า มีการจัดกิจกรรมที่น่ามหัศจรรย์ที่ไม่เพียงแต่มีความสนุกสนาน แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อไปยังธรรมชาติ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ฯ มีพนักงานเป็นนักวิจัยและศาสตราจารย์ระดับดอกเตอร์มากกว่า 60 คน ช่วยกันคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการเรียนรู้ให้กับคนที่เข้ามาเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ฯ โดยนำเสนอความคิดและหัวข้อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจอยู่อย่างสม่ำเสมอ ดังตัวอย่างเรื่องของเมล็ดพืช ดอกไม้ ต้นไม้ พฤติกรรมสัตว์ หรือฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นต้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12133-20180820-2

6 ก.ย. 2561
0
แชร์หน้านี้: