การขอใช้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการ สวทช.
การให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ตามมาตรา 7 และมาตรา 9 ที่บัญญัติว่าหน่วยงานภาครัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ จึงได้มอบหมายให้ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำ สวทช. และให้บริการข้อมูลข่าวสารตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ได้จัดทำคู่มือการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาตินี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการขอใช้บริการข้อมูลข่าวสารของประชาชน

ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้
• ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 7) ประกอบด้วย
  • 1. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
  • 2. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
  • 3. สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
  • 4. กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่งฯ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • 5. ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
• ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนดู ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ (มาตรา 9)
  • 1. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
  • 2. นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 (4)
  • 3. แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
  • 4. คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
  • 5. สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรคสอง
  • 6. สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
  • 7. มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
  • 8. ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
• ข้อมูลข่าวสารอื่นๆ (มาตรา 11)

นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้ว หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

หลักเกณฑ์การขอรับบริการ
ผู้ขอ
ผู้อนุญาต
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ฃ ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 7)
ผู้ขอ ประชาชนมีสิทธิตรวจดูได้เอง
ผู้อนุญาต หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่นำลงในราชกิจจานุเบกษา
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนดู ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ (มาตรา 9)
ผู้ขอ ประชาชนมีสิทธิตรวจดูได้เอง
ผู้อนุญาต หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่นำข้อมูลข่าวสารมาให้บริการ
ข้อมูลข่าวสารอื่นๆ (มาตรา 11)
ผู้ขอ ประชาชนยื่นคำขอ
ผู้อนุญาต หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกตามคำขอ
ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย
• ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ (มาตรา 14)

ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

• ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ (มาตรา 15)
  • 1. การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
  • 2. การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดีการป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ได้
  • 3. ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
  • 4. การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
  • 5. รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำ สิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
  • 6. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผยหรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น
  • 7. กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
หลักเกณฑ์การขอรับบริการ
ผู้ขอ
ผู้อนุญาต
ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ผู้ขอ ประชาชนไม่มีสิทธิขอ
ผู้อนุญาต ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ (มาตรา 15)
ผู้ขอ ประชาชนยื่นคำขอ
ผู้อนุญาต คณะกรรมการฯ พิจารณาการเปิดเผย

 

การให้บริการข้อมูลข่าวสาร

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำ สวทช. ให้บริการข้อมูลตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 โดยมีวิธีปฏิบัติในการใช้บริการ ดังนี้

1. ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ สวทช. ที่ https://www.nstda.or.th/home/introduce/oic/

2. ในการยืมเอกสารฉบับจริงหรือเอกสารอื่นๆ ที่นอกเหนือการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต กรุณาแสดงเจตจำนงค์และกรอกคำขอตรวจดูข้อมูลข่าวสาร สวทช. ผ่าน ระบบแบบคำขอข้อมูลข่าวสาร สวทช. ทั้งแบบออนไลน์และติดต่อด้วยตนเอง ณ ศูนยบริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำ สวทช.

3. ผู้ร้องขอสามารถติดต่อด้วยตนเอง ณ ศูนยบริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำ สวทช. เพื่อขอใช้เอกสารได้เฉพาะในพื้นที่ห้องสมุด สวทช. ครั้งละไม่เกิน 5 รายการ เมื่อสิ้นสุดการใช้บริการ ผู้ร้องขอมอบเอกสารต่างๆ คืนแก่เจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้นำเอกสารออกนอกห้องสมุด

4. หากต้องการถ่ายสำเนาเอกสาร ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก่อนดำเนินการ

ช่องทางการขอรับข้อมูลข่าวสาร

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำ สวทช. ให้บริการข้อมูลตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 โดยมีวิธีปฏิบัติในการใช้บริการ ดังนี้

1. ติดต่อด้วยตนเอง ณ ศูนยบริการข้อมูลข่าวสารของราชการประจำ สวทช. ในวันและเวลาราชการ (8.00-17.00 น.)
2. สืบค้นผ่านเว็บไซต์ของ สวทช. (https://www.nstda.or.th/home/introduce/oic/)
3. ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1238 คุณพรพรรณ บุญยะทิม ในวันและเวลาราชการ
4. ติดต่อสอบถามทางอีเมล

  • สอบถามการให้บริการข้อมูลข่าวสารราชการ สวทช. oic@nstda.or.th
  • งานรับ-ส่งหนังสือ/งานสารบรรณ saraban@nstda.or.th
  • สอบถามข้อมูลทั่วไป info@nstda.or.th