แนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ – การเปิดเผยชุดข้อมูล

 ขั้นตอนการเปิดเผยชุดข้อมูลสำหรับข้อมูลเปิดภาครัฐ

จากบทความแนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ หลังจากพิจารณาเตรียมข้อมูลเพื่อเปิดเผย ต่อไปเป็นขั้นตอนเปิดเผยชุดข้อมูล ที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อเปิดเผยสู่สาธารณะ โดยมีทั้งหมด 10 ขั้นตอน

ขั้นตอน 1 สำรวจชุดข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยงาน
พิจารณาในหน่วยงานของท่านว่า มีการทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) แล้วหรือไม่

  • กรณี หน่วยงานมีการทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
    – เข้าไปดูที่ Data Catalog ที่ได้จัดทำไว้ และนำข้อมูลที่ถูกจัดชั้นความลับว่าเป็น “ข้อมูลสาธารณะ” แล้วนำเข้าสู่ ขั้นตอน 2 เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมชุดข้อมูลที่ ควรนำมาเปิดเผย
  • กรณี หน่วยงานไม่มีการทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
    – ให้ทำการสำรวจข้อมูลภายในหน่วยงาน ให้นำข้อมูลที่เป็น “ข้อมูลสาธารณะ” สามารถเปิดเผย ไปพิจารณาเพิ่มเติมตาม ขั้นตอน 2

 

ขั้นตอน 2 พิจารณาชุดข้อมูลที่ควรจะนำมาเปิด
หลังจากได้ “ข้อมูลสาธารณะ” มาแล้ว ก็ต้องมาระบุชุดข้อมูลที่จะนำไปเปิดเผยว่าเป็นชุดข้อมูลประเภทใด มีความสำคัญอย่างไร และนำไปใช้ในทิศทางใด โดยพิจารณาตาม
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • กฎหมายกำหนดให้เปิดเผย เช่น ข้อมูลแผนงาน โครงการ สัญญาสัมปทาน
  • เปิดตามภารกิจของหน่วยงาน เช่น ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  • มีประโยชน์ต่อผู้พัฒนาในการนำไปพัฒนาบริการภาครัฐ เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ๆ
  • มีประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้งาน เช่น ข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท ข้อมูลการขนส่ง ข้อมูลการเกิดอาชญากรรม
  • สร้างความโปร่งใส คือ ผู้ใช้สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อป้องกันการทุจริต เช่น ข้อมูลด้านงบประมาณ ค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และการจัดซื้อจัดจ้าง

 

ขั้นตอน 3 จัดลำดับความสำคัญ
โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

  • คุณค่าของแต่ละชุดข้อมูล
  • คุณภาพของชุดข้อมูล
  • การบริหารจัดการของชุดข้อมูลเปิด
  • หากมีคุณค่าสูง ข้อมูลที่มีอยู่มีคุณภาพ และอยู่ในรูปแบบที่สามารถเปิดเผยได้ ก็ควรพิจารณาให้เปิดเผยก่อน

 

ขั้นตอน 4 การรวบรวมจัดทำชุดข้อมูล
เนื่องจากข้อมูลอาจจะมาจากหลายส่วนงานภายใน จึงต้องมีการจัดทำออกมาเป็นชุดข้อมูลก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

 

ขั้นตอน 5 การจำแนกประเภทข้อมูลและตัวอย่าง
ต้องทำให้มั่นใจก่อนว่า ข้อมูลที่จะนำมาเปิดเผยถูกจำแนกว่าเป็นข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ โดยสามารถพิจารณาตามคำถามต่อไปนี้

  • เป็นข้อมูลเปิดตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ใช่หรือไม่
    • หากใช่ สามารถเปิดเผยได้
    • หากไม่ใช่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. 2562ใช่หรือไม่
    • หากใช่ ไม่สามารถเปิดเผยได้
    • หากไม่ใช่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • เป็นข้อมูลส่วนบุคคลฯ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540ใช่หรือไม่
    • หากใช่ ให้พิจารณาว่าได้รับอนุญาตให้เปิดเผยได้ ใช่หรือไม่
      • หากใช่ สามารถเปิดเผยได้
      • หากไม่ใช่ ไม่สามารถเปิดเผยได้
    • หากไม่ใช่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • เป็นข้อมูลที่มีกฎหมายเฉพาะให้เปิดเผย ใช่หรือไม่
    •  หากใช่ สามารถเปิดเผยได้
    •  หากไม่ใช่ ไม่สามารถเปิดเผยได้
  • ทั้งนี้หลังจากจำแนกชุดข้อมูล จะต้องพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ด้วย
    •  คุณภาพของชุดข้อมูล ชุดข้อมูลที่คุณภาพต่ำไม่ควรนำมาเปิดเผยหรือเผยแพร่จนกว่า จะมีการควบคุมคุณภาพของข้อมูลให้สูงขึ้นในระดับที่ยอมรับให้เปิดเผยได้
    •  สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลเปิดภาครัฐจะต้องไม่มีข้อห้ามเรื่องลิขสิทธิ์สิทธิบตัรเครื่องหมายการค้า หรือข้อจ ากัดในเชิงการค้า (Open License) ในการนำชุดข้อมูลดังกล่าว ไปเปิดเผย และสามารถใช้งานได้โดยอิสระ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ขั้นตอน 6 การเตรียมความพร้อมก่อนนำขึ้นเผยแพร่
ทำให้อยู่ในรูปแบบเปิด ทำให้อยู่ในรูปแบบเปิดมากที่สุด เช่น มีชุดข้อมูลอยู่ในไฟล์ .pdf ก็ให้ทำการแปลงเป็นไฟล์รูปแบบอื่น เพื่อทำให้เครื่องอ่านได้ เช่น .csv

  • การแปลงไฟล์ ที่ทำให้สามารถเปิดเผยได้
  • ตรวจสอบคุณภาพ – กำจัดข้อมูลซ้ำ ทำให้ไม่มีข้อมูลว่าง
  • ตรวจสอบความต้องกัน – รูปแบบวันที่ รูปแบบเวลา
  • ตรวจสอบมาตรฐาน – รหัสมาตรฐาน เช่น UN/LOCODE
  • กำหนดความถี่ในการปรับปรุง กำหนดว่าชุดข้อมูลนี้ ต้องปรับปรุงหรือไม่ หากมี ความถี่เป็นอย่างไร จะใช้วิธีใดในการปรับปรุง
  • Metadata ต้องมีการจัดทำเมทาดาตาเพื่อความสะดวกกับผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นความต้องการขั้นต่ำในการเปิดเผยชุดข้อมูลเปิด

 

ขั้นตอน 7 การขออนุมัติ
การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

 

ขั้นตอน 8 เปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐผ่านช่องทาง
มี 2ช่องทาง หลัก ๆ ที่แนะนำเพื่อให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน

  • ผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการเผยแพร่ชุดข้อมูลให้เป็นไปตามกลุ่มข้อมูลเปิดภาครัฐที่ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐได้มีการกำหนดไว้ โดย สพร.
    ผู้พัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานสามารถนำข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้มาเปิดเผย
  • ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานเอง หากหน่วยงานของรัฐมีชุดข้อมูลที่เปิดเผยไปแล้วผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานเอง ผู้รับผิดชอบในการนำข้อมูลเปิดของหน่วยงานสามารถ
    เชื่อม API มาที่ทางแพลตออร์มที่ สพร. มีให้บริการได้

 

ขั้นตอน 9 การวัดผล
ต้องกำหนด “แผนการวัดผล” เพื่อนำแผนการไปปรับปรุง และพัฒนาข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น

  • กำหนดแผนปรับปรุง ชุดข้อมูลที่นำขึ้นเปิดเผยแล้ว (Existing Datasets) โดยพิจารณาจาก
    • ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุดข้อมูล
    • ข้อร้องเรียน
  • กำหนดแผนการนำเข้าชุดข้อมูลใหม่ ๆ โดยพิจารณาชุดข้อมูลที่มีแนวโน้มควรเปิดเผย (Potential Datasets) ตัวอย่างข้อมูลเหล่านี้ หาได้จาก
    • ชุดข้อมูลภายในประเทศที่มีคนต้องการ แต่ยังไม่มีการเปิดเผย
    • ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าของต่างประเทศ
    • ชุดข้อมูลที่ถูกนำไปใช้พัฒนาบริการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

 

ขั้นตอน 10 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ผลที่ได้จาก ขั้นตอน 8 ต้องนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยไปแล้วมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีหลักการปรับปรุงเบื้องต้นดังนี้

  • แก้ไข ปรับปรุง ข้อมูลเดิม ที่ยังมีข้อผิดพลาดอยู่
  • ปรับปรุง ข้อมูลเดิมให้มีคุณภาพมากขึ้น
  • เพิ่มชุดข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้
  • เพิ่มชุดข้อมูลให้ทันสมัย
  • กำหนดเป้าหมายให้เปิดเผยเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี
  • จัดทำ High Value Datasets

 

แหล่งข้อมูล : https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/03/ราชกิจจานุเบกษา_เปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ.pdf

แนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ – คุณลักษณะและการประเมินความพร้อม

ข้อมูลเปิดภาครัฐ

ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำหรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์

คุณลักษณะแบบเปิด  โดยคุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของข้อมูล สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

ประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

  • ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารประเทศ
  • ช่วยสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  • ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารประเทศ

 

ขั้นตอนสำคัญของการเตรียมข้อมูลเพื่อเปิดเผย  

  • ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณาคุณลักษณะข้อมูลเปิดภาครัฐ คุณลักษณะข้อมูลเปิดภาครัฐ 10 ประการ ที่จะนำมาเปิดเผย ควรมีลักษณะดังนี้
    • สมบูรณ์ (Complete) คือ ข้อมูลเปิดต้องพร้อมใช้งาน และไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความมั่นคง หรือมีข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูล
    • ปฐมภูมิ (Primary) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง ไม่มีการปรับแต่ง หรืออยู่ในรูปแบบข้อมูลสรุป
    • เป็นปัจจุบัน (Timely) คือ ข้อมูลต้องเป็นปัจจุบัน และเปิดเผยในเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กับผู้ใช้ข้อมูล
    • เข้าถึงได้ง่าย (Accessible) คือ ข้อมูลต้องเข้าถึงได้ง่าย ผู้ใช้ข้อมูลสามารถค้นหา เข้าถึง และใช้งานชุดข้อมูลได้หลายช่องทาง
    • อ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine-readable) คือ ข้อมูลต้องมีโครงสร้าง สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง และนำข้อมูลไปใช้งานต่อได
    • ไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discriminatory) คือ ผู้ใช้ข้อมูลต้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องระบุตัวตน หรือเหตุผลของการนำไปใช้งาน
    • ไม่จำกัดสิทธิ (Non-proprietary) คือ ข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม และต้องไม่ถือครองกรรมสิทธิ์หลังจากนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์
    • ปลอดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (License-free) คือ ข้อมูลต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือความลับทางการค้า
    • คงอยู่ถาวร (Permanence) คือ ข้อมูลต้องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา และมีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของชุดข้อมูล
    • ไม่มีค่าใช้จ่าย (Free of charge) คือ ผู้ใช้ข้อมูลต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล
  • ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความพร้อมของการเปิดเผยข้อมูล ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปหรือ กระบวนการเตรียมการเปิ ดเผยข้อมูล จะต้องประเมินความพร้อมของการเปิดเผยข้อมูลภายในหน่วยงาน โดยจะประเมินจาก 5 กิจกรรมนี้
    • การบริหารจัดการข้อมูลเปิด จัดทำแผนในการบริหารจัดการและเปิดเผยข้อมูล
    • การสร้างองค์ความรู้และทักษะ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐภายในหน่วยงาน
    • การสนับสนุนและส่งเสริมการนำข้อมูลไปใช้ ส่งเสริมให้เกิดการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
    • งบประมาณ กำหนดงบประมาณที่จำเป็นต่อการเปิดเผย
    • การกาหนดกลยุทธ์  กำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน

หลังจากผ่านการเตรียมการทั้ง 2 ขั้นตอนแล้ว สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป เพื่อเตรียมการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

แหล่งข้อมูล : https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/03/ราชกิจจานุเบกษา_เปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ.pdf

การพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน (EV)

สวทช. ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าของไทยด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจประเทศอย่างยั่งยืน (ตามนโยบาย อว. For EV)

พันธกิจหลัก

  1. ดำเนินการผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ให้เกิดการใช้ชิ้นส่วนยานพาหนะไฟฟ้า และอุปกรณ์ความปลอดภัยในการใช้รถและถนนที่ผลิตในประเทศ
  2. ดำเนินงานการผลักดันให้เกิดพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าในประเทศ
  3. ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าและลดการปล่อย CO2 และผลักดันให้เกิดการใช้งานใน อว. และขยายผลไประดับประเทศ
  4. ดำเนินการสนับสนุนกิจกรรม NQI และโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนา
  5. สนับสนุนการสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐและเอกชน และดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะให้กับผู้ประกอบการไทย
  6. ดำเนินงานสนับสนุนนโยบาย อว. For EV ของกระทรวง อว. ด้วยกลไก ของ สวทช.

โครงการที่ 1

EV-HRD กิจกรรมการพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้า (up-skill, re-skill)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. ร่วมพัฒนากำลังคนปีละ 500 ราย ในกลุ่มวิชาชีพขั้นสูง

โครงการที่ 2

EV-Transformation แพล็ตฟอร์มสนับสนุนและดึงดูดให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน การใช้ ICE มาเป็น EV ในระดับกลุ่มองค์กรและพื้นที่

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. Platform ถูกนำไปบูรณาการใช้ในกระทรวง อว. กระทรวงอื่นๆ รวมถึงกลุ่มองค์กรเอกชน
  2. สร้าง Carbon Credit Trading Platform ร่วมกับ TGO

โครงการที่ 3

EV-Innovation ผลักดันเทคโนโลยีและการให้บริการด้านวิเคราะห์ทดสอบสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าและชิ้นส่วน

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. สินค้ารถจักรยานยนต์ แบตเตอรี่แพ็ค และสถานีอัดประจุที่ใช้เทคโนโลยี swapping battery ,repropose battery
  2. สินค้า Microbus พร้อมนำหน่าย
  3. สินค้า เรือไฟฟ้า / สินค้าชุด Conversion

โครงการที่ 4

EV-Connect พัฒนาความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการ และสร้างกลไกเชื่อมโยงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างห่วงโซ่มูลค่า

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. ห่วงโซ่มูลค่า Swapping Battery ,Microbus ,เรือไฟฟ้า ,Conversion
  2. Thailand EV Center of Excellence (TECE)

Microsoft Bing AI Chat (aka Copilot)

bing.com

การค้นหาด้วย AI
ฟังก์ชันการค้นหาตามบทการสนทนา ด้วยคำถามและคำสั่งที่ซับซ้อน เช่น ค้นหาโรงเรียนที่ดีที่สุด พร้อมด้วยสวนสาธารณะในบริเวณใกล้เคียง หรือบริเวณที่ต้องการ พร้อมระยะทางจากโรงเรียน ผลลัพธ์ รูปภาพ ลิงก์และข้อมูลเพิ่มเติม หน้าเว็บของโรงเรียน เนื้อหาความรู้ ครอบคลุมสาขาต่างๆ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเทคโนโลยี

Designer
เครื่องมือตัวช่วยการออกแบบ สร้างภาพตามต้องการในรูปแบบสไตล์ที่ต้องการ รูปภาพสำหรับโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงการให้ช่วยสร้างสรรค์รูปภาพคำเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยงปาร์ตี้ สามารถสร้างตัวเลือกรูปภาพได้มากมายนับไม่ถ้วน

การสร้างข้อความ
สร้างข้อความ เป็นโทนและรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อใช้ร่างอีเมล โพสต์ในบล็อก สุนทรพจน์ บทกวี เรื่องสั้น เป็นต้น สามารถสรุปข้อมูลจากบทความได้ สามารถแปลข้อความเป็นภาษาต่างๆ ช่วย rewrite เนื้อหาได้

Requirements: Web Browser แนะนำให้ใช้ Microsoft Edge
สามารถใช้ของ Microsoft (hotmail, outlook) ในการล็อคอิน Microsoft และ ณ ปัจจุบันยังไม่ต้องใช้การล็อคอินในการใช้งาน

Gemini (Bard) – AI Chatbot

Bard (Backbone Transformer) architecture (เปลี่ยนเป็น “Gemini” https://gemini.google.com/, เม.ย. 2567) เป็นเครื่องมือแบบ AI Chat Bot ที่มีลักษณะการใช้งาน เช่นเดียวกันกับ ChatGPT พัฒนาจาก Large Language Model

ฟังก์ชันความสามารถ:

1) Language Understanding

  • Natural Language Processing (NLP): เข้าใจและตอบสนองคำสั่งในภาษามนุษย์ คำถามทั้งแบบที่ง่ายและคำถามที่ประโยคซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงคำถามที่ขอให้คิดออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นมาตามจินตนาการ
  • Sentiment Analysis: สามารถตรวจจับลักษณะของประโยคข้อความที่แสดงออกถึงสภาพอารมณ์ emotional tone และสามารถตอบสนองปรับตามสภาพดังกล่าวได้
  • Context Awareness: สามารถอ้างอิงตามบริบทของซีรี่ย์ของบทสนทนาที่เกิดขึ้นและสามารถตอบสนองตามบริบทนั้นได้

2) Information Retrieval and Generation

  • Search: เข้าถึงข้อมูลผ่านผลลัพธ์การค้นหาด้วย Google Search และตอบสนองได้สอดคล้องกับผลลัพธ์การค้นหานั้น
  • Question Answering: สามารถตอบคำถามได้หลากหลาย in a comprehensive and informative way แม้ว่าจะเป็นคำถามที่แปลกหรือท้าทาย
  • Text Generation: สร้างสรรค์ข้อความ ที่หลากหลาย อาทิ บทกลอน บทกวี โค้ดภาษาโปรแกรม แต่งเพลงพร้อมโน้ตดนตรี เนื้อหาของจดหมายอีเมล เป็นต้น

3) Information Retrieval and Generation

  • Translation: แปลภาษาได้
  • Summarization: สามารถสร้างสรุปเนื้อหาข้อมูลจากบทความที่ต้องการได้
  • Writing: ช่วยในการเขียน เช่น การ brainstorming

Requirements:

  • Hardware: อุปกรณ์ที่มี web browser (ระบบปฏิบัติการไม่จำกัด) และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต – computers, laptops, smartphones, and tablets
  • Software: web browser : Chrome, Firefox, Safari, or Edge
  • Additional requirements: มีสมาชิกบัญชี Google

Gamma.app – AI ช่วยสร้าง Preaentation

AI Tool ที่สามารถสร้าง presentation ได้เก่งมาก สามารถสร้างสไลด์ได้จากเพียงกำหนดชื่อเรื่องเท่านั้น ระบบจะคิด outline ให้โดยอัตโนมัติ จะบบจะหารูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหาในแต่ละ slide และภาพภาพประกอบให้ด้วย

Link : https://gamma.app/

Continue reading “Gamma.app – AI ช่วยสร้าง Preaentation”

Synthesia.io – AI ช่วยทำ VDO พรีเซ้นต์

Synthesia เป็น AI ที่ทำทางด้าน Generate ไฟล์ VDO โดยแปลงข้อความเป็นเสียงพูด Text to speech และมี avator ให้ใช้งานจำนวนมาก โดย avatar จะทำหน้าที่พูดตาม text ที่เราใส่เข้าไป การขยับปาก เสียงพูด สีหน้าและท่าทาง ดูเป็นธรรมชาติ มีภาษาพูดให้เลือกหลายภาษารวมถึงภาษาไทย

Link : https://www.synthesia.io/

Continue reading “Synthesia.io – AI ช่วยทำ VDO พรีเซ้นต์”

Cohesive AI – AI ช่วยทำคอนเทนต์ ข้อความ ภาพ และเสียง

Cohesive AI เป็น AI Tools ทางด้านช่วยเขียนคอนเทนต์ ที่เน้นการสร้างคอนเทนต์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ไม่มีเวอร์ชันฟรีให้ทดลองใช้ แต่มีความสามารถที่หลากหลาย เช่น เขียนบทความได้หลากหลายประเภท, ปรับข้อความให้เป็นตามจุดประสงค์ได้, เลือกภาพ แต่งภาพเพื่อแทรกในบทความได้, สร้างสคริป VDO และมี Text to speech การแปลงข้อความออกมาเป็นเสียงพูดได้ดีเยี่ยม

Link : https://cohesive.so/

Continue reading “Cohesive AI – AI ช่วยทำคอนเทนต์ ข้อความ ภาพ และเสียง”

Anissa AI – ผู้ช่วยเขียนคอนเทนต์

Anissa เป็น ai ประเภท Gerenative AI ของคนไทย รองรับภาษาไทย 100% ทำหน้าที่ช่วยทำคอนเทนต์ โดยมีรูปแบบคอนเทนต์ที่หลากหลาย และยังมีความสามารถในการวิเคราะห์ SEO ให้คอนเทนต์อีกด้วย เหมาะสำหรับ Content Creator หรือผู้ที่ต้องเขียนบทความเป็นประจำ


Link : https://anissa.ai/ Continue reading “Anissa AI – ผู้ช่วยเขียนคอนเทนต์”

NSTDA Services 2024

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเมื่่อปี พ.ศ. 2534 ตาม พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)

ประกาศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 79 วันที่ 13 สิงหาคม 2558 และ ประกาศ ฉบับที่ 2 เรื่องแก้ไขโครงสร้างองค์กร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 261 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565

สวทช. มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตร และภาคอุุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์แห่งชาติ ได้แก่
• ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
• ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ
• ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
• ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี
• ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของประเทศ