หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2561
รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2561
11 ก.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2561

งานประชุม Brussels Tech Summit 2018

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้เข้าร่วมงาน “Brussels Tech Summit” ณ กรุง บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งปีนี้มาในธีมธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Intelligent Enterprises เช่น ระบบดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ โดยภายในงานประชุมมีการนำเสนอแนวโน้มทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1 สังคมแห่งปัญญาประดิษฐ์ (Citizen AI) โดยมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาเป็นแรงงานแทนมนุษย์ จึงจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ด้วย เช่น รถยนต์อัตโนมัติเมื่อหลายปีก่อนเราพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานที่ปลอดภัยแต่มาในปัจจุบันได้พัฒนาระบบรถยนต์โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปด้วย กล่าวคือ ระบบคอมพิวเตอร์ในรถที่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud สามารถคำนวณระยะทางและการตัดสินใจในการขับรถและมีปฎิกิริยากับสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ไหนควรตัดสินใจอย่างไร และจะเกิดผลกระทบตามมาอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ช่วยลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
2 โลกเสมือนผสานโลกจริง (Extended Reality) ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบเสมือนจริง หรือเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้จำลองเพียงภาพและเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประสาทสัมผัสอื่นด้วย อีกหนึ่งเทคโนโลยีคือ ความเป็นจริงเสริมหรือความเป็นจริงแต่งเติม (Augmented Reality หรือ AR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำภาพเสมือนที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ จำลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้องและการประมวลผลที่จะนำวัตถุมาทับซ้อนเข้าเป็นภาพเดียวกัน การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ Virtual Reality และ Augmented Reality นำมาพัฒนาธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยี Virtual Reality มาใช้ในการสมัครงาน โดยผู้สมัครสามารถดูบรรยากาสการทำงานจริงๆ ซึงถือว่าเป็นการประหยัดเวลากทั้งฝ่ายผู้สม้ครและนายจ้าง ส่วนในภาคเอกชน บริษัท Uniqlo ได้นำเทคโนโลยี Augmented Reality มาประยุกต์ใช้กับการส่องกระจกดูเสื้อผ้าผ่าน QR-Code ซี่งลูกค้าจะได้ลองชุดเสมือนจริงผ่านกระจกเงา 
3 คุณภาพของข้อมูล (data veracity) คือ คุณภาพหรือความแม่นยำของข้อมูลที่มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งต้องมาทำการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
4 ธุรกิจที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Frictionless Business) องค์กรธุรกิจต้องอาศัยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การผลักดันให้เกิดองค์กรอัจฉริยะจึงต้องเริ่มจากการออกแบบองค์กรแบบใหม่ เช่น บริษัทขายที่ตระหนักถึงแนวโน้มของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ได้มีการพัฒนาโซลูชั่นให้ลูกค้าสามารถรู้ต้นทางของผลไม้ที่จะซื้อว่าปลูกมาจากไหน เมื่อไหร่ ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถตรวจสอบที่มาได้ในเวลาไม่กี่วินาที
5 ระบบคิดที่เชื่อมต่อกัน (Internet of Thinking) การเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และความเป็นจริงเสมือนการสร้างสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นนอกจากต้องอาศัยบุคลากรและทักษะความเชี่ยวชาญใหม่ๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องทำให้โครงสร้างทางเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความทันสมัยขึ้นด้วย ในอดีตอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) หมายถึงทุกอย่างในอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกัน แต่เมื่อมาถึงยุค Internet of Thinking นักพัฒนาต่างก็พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยี และการใช้งานบนพื้นฐานใหม่ คือ การกระจายความคิดใหม่ๆ ออกไป

ปัจจัยหลักต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร : สิ่งที่ควรรู้ในการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
ปัจจัยหลักที่มีผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมีอยู่ 2 ประการคือ ตลาดและระบบการผลิต แบ่งเป็น 2 ปัจจัยย่อยได้แก่ 1) การพัฒนาระหว่างประเทศ และ 2) ผู้บริโภค สำหรับปัจจัยทางระบบการผลิตถูกแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยย่อยได้แก่ 1) ความสามารถในการผลิต 2) ความสามารถในการทำกำไร และ 3) ความยั่งยืน
ปัจจัยการพัฒนาระหว่างประเทศ
ประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มไปถึง 11.2 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าความต้องการด้านอาหารก็จะเพิ่มขึ้นด้วยซึ่งเราจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้
ปัจจัยทางด้านผู้บริโภค อาหารมีความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงไปตามระดับพัฒนาและ GDP ของประเทศ เช่น ประเทศที่ด้อยพัฒนาซึ่งมีค่า GDP ต่ำมากๆ ประชากรจะนิยมเลือกรับประทานอาหารที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เช่น ธัญพืช ข้าว และ ถั่ว แต่สำหรับประเทศพัฒนาและมีค่า GDP สูง เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป จะเลือกรับประทานอาหารที่มีความซับซ้อน คุณภาพ มีความหลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เช่น อาหารปลอดสารพิษ อาหารออร์แกนิก อาหารเพื่อส่งเสริมหรืออาหารฟังก์ชัน และอาหารเพื่อรักษาโรค

ปัจจัยด้านความสามารถในการผลิต
ปัจจุบันความสามารถการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ทรัพยากร เช่น ที่ดิน น้ำ แรงงาน และพลังงาน โดยสิ่งที่เราต้องการคือเทคโนโลยี เพื่อมากระตุ้นให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด แต่การใช้ทรัพยากรไม่จำกัด เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถการผลิตคือ Big data ซึ่งจะมีข้อมูลในส่วนของผู้บริโภค ข้อมูลการซื้อขายสินค้า ข้อมูลที่ใช้ใน social media และข้อมูลที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ โดยข้อมูลเหล่านี้นำมาพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มระดับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร สร้างนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ สุดท้ายนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพของมนุษย์และสัตว์
ปัจจัยด้านความสามารถในการทำกำไร
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในการทำกำไรก็คือราคา แต่ปัจจุบันราคาสินค้าอาหารและการเกษตรมีความผันผวนเป็นอย่างมาก หมายความว่าวันนี้ผู้ผลิตอาจจะได้กำไร แต่พรุ่งนี้อาจจะขาดทุน ดังนั้นการจัดการกับความผันผวนของราคาเป็นสิ่งจำเป็น
ปัจจัยด้านความยั่งยืน
ความยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญทั้งวาระทางการเมืองและการพาณิชย์ในทุกห่วงโซ่การผลิตการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุม 3 มิติ ดังนี้ คือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศเยอรมนี
ความสำคัญของเศรษฐกิจชีวภาพในประเทศเยอรมนี
เศรษฐกิจชีวภาพในประเทศเยอรมนีครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและบริการที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ รวมถึงวัตถุดิบจากภาคการเกษตร ป่าไม้ ประมง ของเสียชีวภาพต่างๆ ชีวมวลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมชีวภาพที่สำคัญประกอบด้วย 1 ไม้ ชีวมวลจากภาคเกษตร ประกอบด้วยพืชสำหรับผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ เรพซีด ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือ และละหุ่ง 2 พืชสำหรับผลิตเอทานอล ได้แก่ ข้าวโพด ช้าวสาลี อ้อย หัวบีท และฟาง และ3 พืนที่นำมาผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ต้นข้าวโพด หญ้า หัวบีท และเศษของพืชต่างรวมถึงของเสียจากภาคอุสาหกรรม 
นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพของเยอรมนี
เยอรมนีมีการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เช่น ยุทธศาสตร์วิจัย “National Research Strategy Bioeconomy 2030” เพื่อใช้เป็นกรอบการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศ แผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน “German Resource Efficiency Programme” แผนการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน “Energy Concept for and Environmentally Sound, Reliable and Affordable Energy Supply” และ แผนที่นำทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโรงกลั่นชีวภาพของประเทศ “Biorefineries Roadmap” เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการประสานงานในระดับนโยบาย และมีการจัดการและสื่อสารข้อมูสู่สังคม รวมถึงมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงเพื่อผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพ

กลยุทธ์พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ มีบทบาทอย่างมากในแผน National Research Strategy Bioeconomy 2030 โดยกำหนดเป้าหมายชีวภาพให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมเศรษฐกิจชีวภาพของโลก ” A Leading Research and innovation center in bioeconomy” พัฒนาและกระตุ้นการเติบโตของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ โดยส่งเสริ่มการวิจัยและพัฒนา ใน5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร 2) การผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 3) การเพาะปลูกและทำการเกษตรอย่างยั่งยืน 4) การพัฒนาพลังงานจากชีวมวล 5) การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
ระบบการวิจัยของเยอรมนี
การเตรียมความพร้มด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เป็นการรวมตัวของ 4 หน่วยงานวิจัย มุ่นเน้นสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ 4 สาขา ได้แก่ อาหารและอาหารสัตว์ เชื้อเพลิงชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และ เคมีชีวภาพ
หน่วยงานวิจัยหลักด้านเศรษฐกิจชีวภาพ
หน่วยงานวิจัยหลักด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศเยอรมนีคือ German Bioeconomy Council ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 17 ท่านมาจากหลายสาขา หน้าที่ของหน่วยงานนี้คือ
1 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการก้าวสู่เศรษฐกิจชีวภาพบนฐานความรู้
2 กำหนดกรอบ/ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ
3 พัฒนาระบบการฝึกอบรมและการสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อรองรับเศรษฐกิจชีวภาพ
4 การสื่อสารกับกลุ่มต่างๆ ของสังคม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190620-newsletter-brussels-v6-june61.pdf

11 ก.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: